ระวัง! มิจฉาชีพสามารถแฮ็กข้อมูลจากสมาร์ตวอตช์ ได้

Loading

  เตือนภัย! มิจฉาชีพสามารถ แฮ็กข้องมูล จากนาฬิกาสมาร์ตวอตช์ เข้าถึงข้อมูลธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต ทั้งยังรู้ถึงตำแหน่งคุณทำอะไรอยู่ไหน   ปัจจุบันนาฬิกาอัจฉริยะ หรือ Smart Watch หนึ่งอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนา ทำให้การดูเวลาทั่วไปเปลี่ยนไป เพราะยังมีฟังก์ชันการใช้งานอื่น ๆ อีกเพียบ ทั้ง วัดค่าต่าง ๆ ในร่างกาย นับก้าวการเดิน ถ่ายรูป เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน ฯลฯ แต่รู้หรือไม่? สมาร์ตวอตช์ ก็สามารถโดนแฮ็กข้อมูลได้   โดยเพจ ตำรวจสอบสวนกลาง โพสต์แจ้งเตือนถึงอันตรายมิจฉาชีพสมัยนี้ ที่สามารถแฮ็กข้อมูลจาก Smart Watch ได้ พร้อมเผยวิธีป้องกัน โดยระบุว่า…สมาร์ตวอตช์จะเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน ผ่านเทคโนโลยี Bluetooth Low Energy (BLE) ข้อมูลที่ส่งกันไปมาระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัว ที่เรียกว่า Beacon   แฮ็กเกอร์สามารถดักสัญญาณ Beacon ได้ ก็จะสามารถติดตั้งมัลแวร์ผ่านบลูทูธ หรือใส่โค้ดอันตรายไว้ในแอปบนสมาร์ตวอตช์เพื่อดักข้อมูล…

Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผยรายงานมัลแวร์บน Android ปลอมตัวเป็นแอป ChatGPT หลอกเหยื่อผู้ใช้สมาร์ตโฟนในไทย

Loading

  กรุงเทพฯ – 31 กรกฎาคม 2566, พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ล่าสุดพบว่ามัลแวร์บน Android ที่แอบอ้างเป็นแชตบอต AI ชื่อดังอย่าง ChatGPT มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยถูกปล่อยออกมาพร้อมกับการเปิดตัว GPT-3.5 และ GTP-4 ของ OpenAI เพื่อมุ่งเป้าไปที่เหยื่อที่มีความสนใจในเครื่องมือ ChatGPT   โทรจัน Meterpreter ที่ปลอมตัวเป็นแอป “SuperGPT” และ “ChatGPT” มีพฤติกรรมในการส่งข้อความพิเศษค่าบริการราคาแพงไปยังหมายเลขโทรศัพท์ในไทย ทำให้ผู้ใช้โดนคิดเงินอย่างไม่รู้ตัวและสร้างรายได้แก่คนร้ายมหาศาล ที่น่ากังวลก็คือ ผู้ใช้ Android สามารถดาวน์โหลดแอปได้จากหลายช่องทางนอกเหนือไปจาก Google Play Store ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ใช้จะได้รับแอปซึ่งไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจาก Google   ข้อมูลสำคัญที่น่าสนใจมีดังนี้   •   การปลอมตัวเป็น ChatGPT: มัลแวร์ใหม่บน Android มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยปลอมตัวเป็น ChatGPT และถูกปล่อยออกมาในช่วงที่มีการเปิดตัว GPT-3.5…

มิล้าสมัยแม้จะห้ามใช้โทรศัพท์

Loading

  โทรศัพท์อัจฉริยะ เป็นเครื่องใช้ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบัน ถึงขั้นขาดไม่ได้จนกลายเป็นเสมือนปัจจัยที่ 5 แล้ว   แต่รัฐบาลและโรงเรียนเนเธอร์แลนด์เพิ่งประกาศว่า ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปโรงเรียนจะห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์ในห้องเรียน ยกเว้นสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นจำพวกด้านสุขภาพและในวิชาที่เกี่ยวกับการเพิ่มทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัล โรงเรียนแต่ละแห่งจะนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติตามแนวที่ตนเห็นว่าเหมาะสม   นโยบายใหม่นี้ยังไม่มีกฎหมายใช้บังคับ หลังจากเวลาผ่านไป 1 ปีจึงจะมีการประเมินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปรวมทั้งการจะตรากฎหมายใหม่ออกมาบังคับใช้หรือไม่ด้วย เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศยุโรปล่าสุดที่ประกาศนโยบายแนวนี้หลังจากฟินแลนด์ทำล่วงหน้าไป 1 สัปดาห์ มีรายงานว่าอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังพิจารณาว่าจะทำเช่นนั้นด้วยหรือไม่   ประเทศต่าง ๆ อ้างผลการวิจัยที่สรุปว่า การอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเรียนขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ เพราะมันทำลายสมาธิของนักเรียน ข้อสรุปนี้น่าจะเป็นที่ประจักษ์มานานก่อนการวิจัยแล้ว   โรงเรียนจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา จึงห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียน ตั้งแต่ครั้งโทรศัพท์จำพวกนี้เริ่มมีใช้อย่างแพร่หลาย ก่อนที่จะกลายมาเป็นโทรศัพท์อัจฉริยะ   รัฐบาลกลางอเมริกันไม่มีคำสั่ง หรือนโยบายจากส่วนกลางว่าโรงเรียนจะต้องทำอย่างไร เนื่องจากการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นงานของรัฐบาลท้องถิ่น   ในปัจจุบัน โรงเรียนอเมริกันใช้แนวปฏิบัติต่อการใช้โทรศัพท์ในโรงเรียนต่างกันโดยส่วนใหญ่ห้ามใช้ อย่างไรก็ตาม ความเข้มงวดของการห้ามมีความแตกต่างกัน เช่น ในย่านนอกกรุงวอชิงตันอันเป็นเมืองหลวง บางโรงเรียนเข้มงวดมากถึงกับยึดโทรศัพท์และกักตัวนักเรียนผู้ละเมิดข้อห้าม   แม้เด็กจะทำผิดครั้งแรกก็ตาม จนกว่าผู้ปกครองจะไปลงชื่อรับรู้ความผิดของเด็กและรับเด็กกลับบ้านด้วยตัวเอง ตัวอย่างนี้น่าจะชี้ว่า นักเรียนอเมริกันมิได้มีอิสระสารพัดที่จะทำอะไรก็ได้ดังชาวไทยมักเข้าใจกัน การบังคับใช้ข้อห้ามต่าง ๆ เขาทำกันอย่างเข้มงวด   สำหรับประเทศในยุโรป เช่น…