FBI อ้างจีนอยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ในอเมริกามากกว่าประเทศอื่นทั่วโลกรวมกัน!

Loading

FBI Director Christopher Wray (Photo courtesy of Reagan Library)   FBI กล่าวโทษประเทศจีนว่า เป็นต้นเหตุการโจมตีทางไซเบอร์ในสหรัฐอเมริกามากกว่าประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกรวมกัน   คริสโตเฟอร์ เรย์ (Chrostopher Wray) ผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐ (FBI) กล่าวในการปราศรัยต่อต้านภัยคุกคามจากรัฐบาลจีนภายในสหรัฐว่า FBI ได้ดำเนินการสอบสวนการโจมตีทางไซเบอร์มากกว่า 2,000 เคสที่รัฐบาลจีนพยายามขโมยข้อมูลและเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา   “รัฐบาลจีนขโมยข้อมูลปริมาณมหาศาล ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ่งถึงขั้นทำลายอาชีพในหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้เราจึงต้องรับมือการดำเนินการด้านข่าวกรองของพวกเขาประมาณทุก 12 ชั่วโมง” เรย์ กล่าว   เรย์อ้างอิงการขโมยข้อมูลครั้งใหญ่บนเซิฟเวอร์ Microsoft Exchange ว่าส่งผลกระทบต่อบริษัทอเมริกันกว่า 10,000 แห่ง ทั้งยังพูดถึงการโจมตีอีกครั้งจากบริษัทที่มีรัฐบาลจีนเป็นเจ้าของว่า เป็นผู้ขโมยข้อมูลโค้ดของบริษัทกังหันลมในรัฐแมสซาชูเซต ทำให้มีพนักงานตกงานกว่า 600 คน   ย้อนกลับไปในปี 2015 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา (Barack Obama) และประธานาบดีสี…

ฮาวานา ซินโดรม : รายงานข่าวกรองชี้ อาการป่วยปริศนาของนักการทูตสหรัฐฯ อาจเกิดจาก “อาวุธพลังงานตรง”

Loading

ฮาวานา ซินโดรม ถูกพบครั้งแรกในหมู่เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองและนักการทูตอเมริกันที่ปฏิบัติงานในกรุงฮาวานา ของคิวบา เมื่อปี 2016   รายงานล่าสุดของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ระบุว่า อาวุธพลังงานตรง (directed energy) อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการฮาวานา หรือ ฮาวานา ซินโดรม (Havana Syndrome) ซึ่งเป็นความเจ็บป่วยปริศนาที่พบในหมู่เจ้าหน้าที่และนักการทูตสหรัฐฯ ผู้ปฏิบัติงานในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก   อาวุธพลังงานตรง คือระบบอาวุธที่โจมตีเป้าหมายด้วยพลังงานโดยตรง เช่น แสงเลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ รังสี และคลื่นเสียง   ที่ผ่านมา มีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องว่าอาการป่วยปริศนานี้มีสาเหตุมาจากการใช้อุปกรณ์บางอย่าง หรือเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นทางจิตใจ   อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับล่าสุดจากคณะผู้เชี่ยวชาญของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ระบุว่า ฮาวานา ซินโดรม เป็นความผิดปกติ “ที่เกิดขึ้นจริง และมีความเป็นไปได้” ซึ่งในบางกรณีอาจเกิดขึ้นจากอุปกรณ์ลับที่ถูกซุกซ่อนไว้ แต่คณะผู้จัดทำรายงานไม่ได้ค้นหาว่า ใครอาจเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปองร้ายเจ้าหน้าที่ทูตสหรัฐฯ เหล่านี้   ฮาวานา ซินโดรม ถูกพบครั้งแรกในหมู่เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองและนักการทูตอเมริกันที่ปฏิบัติงานในกรุงฮาวานา ของคิวบา เมื่อปี 2016 ที่เริ่มมีอาการผิดปกติต่าง…

สหรัฐหารืออียู-นาโต้รับมือรัสเซียโจมตียูเครนทางไซเบอร์

Loading

แอนน์ นูเบอร์เกอร์ รองที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติด้านไซเบอร์และเทคโนโลยีเกิดใหม่ของสหรัฐ เผยว่า รัสเซียอาจใช้การโจมตีทางไซเบอร์เพื่อสั่นคลอนเสถียรภาพและรุกรานยูเครน ขณะอียูและนาโต้เตรียมรับมือ “เราได้เตือนทั้งฝั่งรัฐบาลและเอกชนถึงการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา” นูเบอร์เกอร์ให้สัมภาษณ์ในการแถลงข่าวออนไลน์ หลังประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรป (อียู) และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อหารือถึงความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ของรัสเซียต่อยูเครน นูเบอร์เกอร์ กล่าวว่า “รัสเซียใช้เทคโนโลยีไซเบอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการคาดการณ์ขุมกำลังของฝ่ายตรงข้ามในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงก่อนหน้านี้ในยูเครนด้วย” ทั้งนี้ การเดินทางไปร่วมประชุมในยุโรปของเจ้าหน้าที่สหรัฐเกิดขึ้น หลังจากที่เว็บไซต์ของรัฐบาลยูเครนถูกโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่เมื่อกลางเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา โดยมีการส่งข้อความขู่ว่า “จงหวาดกลัวและรอพบกับหายนะครั้งเลวร้ายที่สุด” ขณะที่รัฐบาลยูเครน เชื่อว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังมีความเชื่อมโยงกับหน่วยข่าวกรองของเบลารุสซึ่งเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย เนื่องจากมีการใช้มัลแวร์ที่คล้ายกับอีกกลุ่มซึ่งมีความเชื่อมโยงกับหน่วยข่าวกรองของรัสเซีย สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า รัสเซียได้ตรึงกำลังพลกว่า 100,000 นาย ตามแนวพรมแดนยูเครน ซึ่งสร้างความกังวลว่าอาจนำไปสู่สงคราม แม้รัสเซียจะปฏิเสธว่าไม่มีแผนบุกยูเครนก็ตาม พร้อมทั้งเรียกร้องหลักประกันด้านความมั่นคง รวมถึงสัญญาจากนาโตว่าจะไม่รับยูเครนเข้าเป็นสมาชิก     ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ    /   วันที่เผยแพร่ 3 ก.พ.65 Link : https://www.bangkokbiznews.com/world/986274  

สหรัฐช่วยธุรกิจขนาดเล็ก ‘ต้านภัยไซเบอร์’

Loading

  ธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่อาจขัดขวางการดำเนินงาน ไม่ใช่แค่ธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นที่ตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามทางไซเบอร์ ธุรกิจขนาดเล็กเองก็มีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อเช่นกัน นั่นทำให้ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ให้มีศักยภาพมากพอที่จะรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ ล่าสุดองค์กรบริหารจัดการธุรกิจขนาดเล็กของสหรัฐอเมริกา หรือ The United States Small Business Administration (SBA) เปิดตัวโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่กำลังเพิ่มขึ้นในสหรัฐ โดยโครงการนำร่องชื่อว่า Cybersecurity for Small Business นี้จะมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 3 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลอดช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ธุรกิจขนาดเล็กได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในอัตราที่สูงขึ้นเพื่อความอยู่รอดในการดำเนินธุรกิจ และการขยายธุรกิจ ด้วยเหตุนี้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายทางไซเบอร์ที่อาจขัดขวางการดำเนินงานและแย่งชิงความได้เปรียบในการแข่งขันของพวกเขา หน่วยงานของรัฐต่างๆ สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ผ่านสำนักงานพัฒนาผู้ประกอบการ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่อง เพื่อชิงเงินรางวัลมาใช้สำหรับการจัดการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การเยียวยา และการบริการด้านปลอดภัยทางไซเบอร์ แก่บริษัทขนาดเล็กในหลายอุตสาหกรรม โครงการนี้จะช่วยให้ภาครัฐสามารถขยายขอบเขตการบริการที่มีอยู่ การพัฒนาทรัพยากรใหม่ๆ และขยายโซลูชั่นเพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กมากขึ้น ผู้นำขององค์กรบริหารจัดการธุรกิจขนาดเล็กของสหรัฐ กล่าวว่า จำนวนธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐกำลังเพิ่มขึ้น และจำเป็นต้องมีวิธีการใหม่ในการรักษาความปลอดภัยให้กับธุรกิจเหล่านี้ ขณะที่เราพยายามสร้างระบบนิเวศของผู้ประกอบการที่แข็งแกร่งและครอบคลุมมากขึ้น เราต้องสร้างสรรค์และจัดหาทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจขนาดเล็กที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยโอกาสในการระดมทุนครั้งใหม่นี้ SBA ตั้งใจที่จะใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของภาครัฐในส่วนต่างๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กมีความพร้อมสำหรับโลกไซเบอร์ และในกระบวนการนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบห่วงโซ่อุปทานของประเทศเรา นับเป็นโครงการที่แสดงให้เห็นถึงความรอบคอบของภาครัฐเลยทีเดียวครับ เนื่องจากธุรกิจขนาดเล็กถือเป็น “มุมอับ”…

สหรัฐฯ เตือนการหลอกลวงผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คพุ่งสูง ปี 2021 เสียหายเกิน 25,000 ล้านบาท

Loading

  กรรมการการค้ารัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Trade Comission – FTC) ออกมาเตือนว่าการหลอกลวงออนไลน์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งหลายยังคงระบาดหนัก ปริมาณผู้เสียหายและมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปีล่าสุดมีผู้เสียหายถึง 95,000 คน รวมยอดความเสียหายกว่า 770 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 25,000 ล้านบาท   การหลอกลวงที่สร้างความเสียหายอันดับหนึ่งคือการหลอกลวงไปลงทุน คนร้ายอาจจะสร้างตัวตนปลอม หรือแฮกเข้าบัญชีคนอื่นเพื่อเข้าไปพูดคุยกับเหยื่อ หลอกให้ลงทุนที่ได้กำไรดีจนเหยื่อยอมโอนเงินให้ โดยมักให้โอนเป็นเงินคริปโตแล้วก็หายตัวไป   รองลงมาคือการหลอกเป็นแฟน (romance scam) จากการพูดคุยด้วยคำหวานต่างๆ แล้วขอเงินจากเหยื่อ   อันดับสามคือการหลอกขายสินค้าด้วยการยิงโฆษณาบนโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ แต่เหยื่อไม่ได้สินค้า   FTC แนะนำให้ จำกัดการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บโซเชียลเหล่านี้, ถ้ามีเพื่อนส่งข้อความว่าต้องการเงินฉุกเฉินควรโทรติดต่อเจ้าตัวเพื่อตรวจสอบอีกทีเสมอ โดบคนร้ายมักขอให้ส่งเงินเป็นเงินคริปโต, บัตรของขวัญ, หรือโอนเงิน สุดท้ายคือหากมีคนมาขอเป็นเพื่อนแล้วเริ่มกลายเป็นความสัมพันธ์โรแมนติกอย่างรวดเร็ว ให้คิดให้รอบคอบขึ้นสักหน่อย และอย่าโอนเงินให้คนที่ไม่เคยพบหน้า   ที่มา – FTC   ——————————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : Blognone by lew …

ซานโฮเซจ่อเป็นเมืองแรกของสหรัฐ บังคับเจ้าของปืนทำประกันภัย

Loading

แฟ้มภาพ สหรัฐ (รอยเตอร์) สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมืองซานโฮเซ จะกลายเป็นเมืองแรกในสหรัฐอเมริกา ที่อนุมัติผ่านกฎหมายที่กำหนดให้เจ้าของปืนต้องทำประกันภัยที่ครอบคลุมการชดเชยความเสียหายที่เกิดจากอาวุธของตน แผนดังกล่าวที่ได้รับการโหวตจากสภาเมืองซานโฮเซในวันอังคาร (25 ม.ค.) ยังกำหนดให้เจ้าของอาวุธปืนทุกคนในเมืองนี้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งจะมอบให้กลุ่มไม่แสวงหากำไรเพื่อช่วยเหลือเหยื่อจากความรุนแรงของอาวุธปืน นายแซม ลิคคาร์โด นายกเทศมนตรีเมืองซานโฮเซ กล่าวผ่านแถลงการณ์ที่เผยแพร่บนทวิตเตอร์ว่า “คืนนี้ซานโฮเซ่กลายเป็นเมืองแรกของสหรัฐที่ประกาศใช้คำสั่งในการบังคับให้เจ้าของปืนซื้อประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก และนำเงินค่าธรรมเนียมที่เจ้าของปืนจ่ายไปสนับสนุนกองทุนที่ส่งเสริมการลดความรุนแรงของปืนและอันตรายจากปืน คำสั่งที่มีการเสนอไปแล้วนั้น ต้องผ่านการพิจารณาเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้ ก่อนที่จะบังคับใช้เป็นกฎหมายในเดือนสิงหาคมนี้ นอกจากนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวยังมีจุดประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของประชาชนผู้เสียภาษี นายลิคาร์โดกล่าวก่อนการลงคะแนนว่า “เราเห็นมาตลอดว่าประกันช่วยลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์มาตลอดหลายสิบปี โดยใช้วิธีอย่าง การสร้างแรงจูงใจให้ขับขี่อย่างปลอดภัยและการซื้อรถที่มีถุงลมนิรภัยและระบบป้องกันเบรกล็อค เหมือนกันกับประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกสำหรับปืนที่มีอยู่ในปัจจุบันที่สามารถปรับเบี้ยประกันเพื่อให้เจ้าของปืนใช้ปืนที่มีระบบป้องกันภัย” ทั้งนี้อาวุธปืนสามารถหาได้ง่ายในสหรัฐ โดยจากข้อมูลของศูนย์วิจัยพิวระบุว่า 40% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐอยู่ในบ้านที่มีปืน และในปี 2020 มีการขายอาวุธปืนเกือบ 23 ล้านกระบอกทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามมีประชาชนเสียชีวิตจากปืนมากถึง 40,000 คนต่อปี     ที่มา : มติชนออนไลน์     /   วันที่เผยแพร่ 23 ม.ค.65 Link :…