สหรัฐเพิกถอนใบอนุญาต “ไชน่า เทเลคอม” หวั่นถูกรัฐบาลจีนแทรกซึม

Loading

  คณะกรรมการด้านการสื่อสารของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FCC) มีมติเพิกถอนใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจของบริษัทไชน่า เทเลคอมในสหรัฐแล้ว เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ โดยการดำเนินการล่าสุดสะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐพยายามป้องกันไม่ให้บรรดาบริษัทของจีนแทรกซึมเข้าสู่เครือข่ายหลัก ๆ การตัดสินใจของ FCC ในครั้งนี้หมายความว่า ธุรกิจของไชน่า เทเลคอมในสหรัฐจะต้องยุติการให้บริการภายใน 60 วัน หลังจากที่ไชน่า เทเลคอมซึ่งเป็นบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมรายใหญ่สุดของจีนนั้น ได้สิทธิ์ในการจัดหาบริการด้านการสื่อสารในสหรัฐมาเป็นเวลานานเกือบ 20 ปี ทั้งนี้ FCC พบว่า ไชน่า เทเลคอม มีแนวโน้มที่จะถูกใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ถูกครอบงำ และถูกควบคุมโดยรัฐบาลจีน นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้สูงที่ไชน่า เทเลคอม จะถูกบีบให้ดำเนินการตามข้อกำหนดของรัฐบาลจีนโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบทางกฎหมาย นอกจากนี้ FCC ระบุว่า บริษัทที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของและควบคุมนั้นได้เพิ่มความเสี่ยงด้านความมั่นคงและการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐ โดยเปิดโอกาสให้ไชน่า เทเลคอม และรัฐบาลจีนสามารถเข้าถึง, จัดเก็บ, ขัดขวาง และ/หรือสร้างความเสียหายต่อการสื่อสารของสหรัฐ ทางด้านโฆษกของบริษัทไชน่า เทเลคอม อเมริกา กล่าวว่า การตัดสินใจของ FCC เป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง พร้อมระบุว่า “ทางบริษัทจะพยายามหาทางออกในทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะสามารถให้บริการลูกค้าของเราต่อไป”…

‘ไมโครซอฟท์’ เผยแฮกเกอร์รัสเซียพยายามเจาะล้วงข้อมูลรอบใหม่

Loading

  บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐฯ ไมโครซอฟท์ (Microsoft) เปิดเผยในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและเคยก่อเหตุจารกรรมล้วงข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเรียกกันว่า โซลาร์วินด์ส (SolarWinds) กำลังพยายามโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกอีกครั้ง ไมโครซอฟท์ กล่าวว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่มีชื่อว่า โนเบลเลียม (Nobelium) ได้ใช้ยุทธวิธีใหม่เพื่อฉกฉวยประโยชน์จากการเข้าถึงระบบคลาวด์ของภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์ กับลูกค้าหรือผู้ใช้เทคโนโลยีของบริษัทเหล่านั้น ไมโครซอฟท์มีแถลงการณ์เมื่อวันอาทิตย์ว่า ได้จับตามองการโจมตีของโนเบลเลียมมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และได้แจ้งให้บริษัทต่าง ๆ ที่ตกเป็นเป้าหมายมากกว่า 140 แห่งรับทราบในจำนวนนี้คาดว่ามีอย่างน้อย 14 บริษัทที่ถูกเจาะล้วงระบบคอมพิวเตอร์แล้ว ไมโครซอฟท์ระบุว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม กลุ่มโนเบลเลียมได้ก่อเหตุโจมตีแล้วเกือบ 23,000 ครั้ง แต่ประสบความสำเร็จเพียงไม่กี่ครั้ง โดยเป้าหมายส่วนใหญ่คือหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ และบรรดาสถาบันวิจัยหรือ think tank ในอเมริกา รวมทั้งในยูเครน อังกฤษ และประเทศสมาชิกขององค์การนาโต้ รัฐบาลสหรัฐฯ กล่าวหาว่า หน่วยงานข่าวกรองของรัสเซีย SVR อยู่เบื้องหลังการลอบเจาะล้วงข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯ หรือ โซลาร์วินด์ส เมื่อปีที่แล้ว แต่ทางการรัสเซียได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องทั้งหมดต่อเหตุการณ์ดังกล่าว (ข้อมูลบางส่วนจากสำนักข่าวเอพี และรอยเตอร์) ————————————————————————————————————————————————…

โดรนติดอาวุธสหรัฐสังหารแกนนำระดับสูงอัล-กออิดะห์ในซีเรีย

Loading

  อากาศยานไร้คนขับแบบติดอาวุธของสหรัฐ สังหารสมาชิกระดับสูงของกลุ่มอัล-กออิดะห์ ในซีเรีย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ว่าศูนย์บัญชาการภูมิภาคกลางของกองทัพสหรัฐ (เซนต์คอม) เผยแพร่แถลงการณ์ เมื่อวันศุกร์ ว่าได้ส่งอากาศยานควบคุมทางไกลแบบติดอาวุธครบมือ รุ่น “เอ็มคิว-นาย รีเปอร์” (MQ-9 Reaper) หรือ “พรีเดเตอร์-บี” (Predator B) โจมตีเป้าหมายที่เมืองซูลุก ในจังหวัดรักกา ทางเหนือของซีเรีย เมื่อวันศุกร์ โดยได้สังหารนายอับดุล ฮามิด อัล-มาตาร์ หนึ่งในสมาชิกอาวุโสของกลุ่มอัล-กออิดะห์ ในซีเรีย   U.S. strike in the vicinity of Suluk, Syria, Oct. 22, 2021https://t.co/9OBPch45f8 — U.S. Central Command (@CENTCOM) October 22, 2021   เบื้องต้นเซนต์คอมยืนยัน ยังไม่พบผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีครั้งนี้ และยืนยันว่า…

หน่วยงาน FCC สหรัฐอเมริกา เรียกร้องให้แบนโดรน DJI อ้างเสี่ยงด้านความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

  กรรมาธิการของหน่วยงาน FCC สหรัฐอเมริกา เบรนแดน คาร์ (Brendan Carr) ออกมาเรียกร้องให้เพิ่มโดรนของ DJI ในบัญชี FCC Covered List ซึ่งอาจทำให้ DJI ไม่สามารถขายผลิตภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้อีกต่อไป เนื่องจากความเสี่ยงด้านความมั่นคงแห่งชาติ จากข้อความที่เผยแพร่ในหน้าเว็บไซต์ของ FCC คาร์กล่าวว่าบริษัท DJI มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้จำนวนมหาศาล ตั้งแต่ภาพความละเอียดสูงไปจนถึงเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า และเซนเซอร์ระยะไกลที่สามารถวัดอุณหภูมิร่างกายหรืออัตราการเต้นหัวใจของแต่ละคนได้     ยังมีการกล่าวต่อว่านักวิจัยด้่านความปลอดภัยยังชี้ให้เห็นถึงแอปในสมาร์ตโฟนของทาง DJI รวบรวมข้อมูลของผู้ใช้จำนวนมาก รวมถึงอดีตเจ้าหน้าที่ของเพนตากอนเองยังออกมาบอกว่าหน่วยงานของรัฐรับทราบเรื่องนี้ และเป็นเรื่องจริงที่โดรนของ DJI ส่งข้อมูลเหล่านี้กลับไปยังจีน   การที่ DJI รวบรวมข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ดูจะน่าหนักใจเป็นพิเศษ เนื่องจากกฎหมายข่าวกรองแห่งชาติของจีนให้อำนาจรัฐบาลจีนสามารถสั่งให้ DJI สามารถช่วยเหลือในเรื่องจารกรรมข้อมูลได้อย่างเต็มที่ และต้องบอกว่าทาง DJI ถูกจัดอยู่ใน ‘บัญชีดำทางเศรษฐกิจ’ ของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว แม้ตามปกติแล้วบริษัทที่อยู่ในบัญชีดำจะขายผลิตภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกาได้ยากขึ้น แต่ดูเหมือนทาง DJI จะยังไม่ได้ประสบปัญหาเหล่านี้   คาร์ยังกล่าวให้เห็นทุกข้อกังวลมากมายที่มีต่อ DJI ให้หน่วยงานต่าง ๆ…

สหรัฐฯ เผยสถิติจ่ายค่าไถ่บนโลกไซเบอร์ในปี 2564 อาจสูงกว่า 10 ปีที่ผ่านมารวมกัน

Loading

  กระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา เผยว่าในครึ่งปีแรกของปี 2564 มีตัวเลขการรายงานต่อรัฐบาลเกี่ยวกับยอดการชำระเงินค่าไถ่ที่เกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่มีมูลค่าสูงถึง 590 ล้านเหรียญ (ประมาณ 19,700 ล้านบาท) ซึ่งถ้าแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ต่อไปก็จะมากกว่ายอดรวมความเสียหายของทั้ง 10 ปีก่อนหน้ารวมกัน เครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมทางการเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ (Treasury’s Financial Crimes Enforcement Network) เผยว่าสถิติข้างต้นสูงกว่ายอดรวมที่สถาบันทางการเงินเปิดเผยตลอดทั้งปีแล้วถึงร้อยละ 42 เจ้าหน้าที่สืบสวนของกระทรวงการคลังพบวอลเล็ตคริปโทเคอเรนซีมากกว่า 150 แหล่ง ที่มีมูลค่าการทำธุรกรรมสูงถึง 5,200 ล้านเหรียญ (ประมาณ 173,000 ล้านบาท) ซึ่งเกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ อย่างไรก็ดี รายงานฯ ระบุว่าตัวเลขการรายงานจากสถาบันทางการเงินที่พุ่งสูงขึ้น อาจสะท้อนระดับของความตื่นตัวในเรื่องอาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เป็นได้ ก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลกลางพยายามที่จะหยุดยั้งแนวโน้มการโจมตีที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการออกมาตรการคว่ำบาตรผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนค่าเงินออนไลน์ที่่แอบหาเงินด้วยการสับเปลี่ยนที่มาของคริปโทเคอเรนซี เช่นเดียวกับ 30 ประเทศที่ร่วมกันประกาศในการประชุมผู้นำที่จัดขึ้นที่สหรัฐฯ ว่าจะร่วมกันต่อสู้กับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่มา Yahoo/AFP   —————————————————————————————————————————————– ที่มา : Beartai               /…

นักการเมืองอเมริกันต้องการให้โจ ไบเดนสั่งแบน Honor เหมือนที่แบน Huawei!

Loading

  รายงานล่าสุดจาก Reuters เผยว่า นักการเมืองในสหรัฐอเมริกากลุ่มหนึ่งต้องการให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน (Joe Biden) เพิ่ม Honor อดีตบริษัทลูกของ Huawei อยู่ในแบล็กลิสต์ของอเมริกา ซึ่งก่อนหน้านี้ Honor สามารถส่งสมาร์ตโฟนที่มีบริการของ Google กลับสู่ท้องตลาดได้แล้ว Huawei ถูกสหรัฐอเมริกาตั้งแบล็กลิสต์ในปี 2019 โดยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ซึ่งอ้างว่าบริษัทเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ ทำให้ Huawei ถูกตัดขาดจากการเข้าถึงสินค้าและเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ รวมถึงชิปและบริการจาก Google Honor ทำการตลาดแบบเน้นเป้าหมายไปที่กลุ่มผู้บริโภควัยเยาว์ ที่มีข้อจำกัดเรื่องงบสำหรับการซื้อสมาร์ตโฟน รวมทั้งมีการขายสินค้าอื่น ๆ เช่น สมาร์ตวอตช์ และเกมมิงแล็ปท็อป ในเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา Huawei ขาย Honor เพื่อให้แบรนด์ลูกอย่าง Honor ได้เป็นอิสระจากการแบนของสหรัฐฯ การตัดสินใจดังกล่าวทำให้ในที่สุด Honor หลุดออกจากการแบนของสหรัฐฯ และสามารถทำการค้ากับบริษัทอย่าง Qualcomm, Google, Microsoft, AMD, Intel,…