ความพินาศจากสงครามโลกครั้งที่ 3 นั้นขึ้นอยู่ที่หัวรบของขีปนาวุธโดยแท้

Loading

    ความพินาศจากสงครามโลกครั้งที่ 3 นั้นขึ้นอยู่ที่หัวรบของขีปนาวุธโดยแท้   เมื่อวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้อนุญาตให้ยูเครนสามารถใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลของสหรัฐอเมริกาที่มอบให้ยูเครนทำการโจมตีในพื้นที่ลึกเข้าไปในรัสเซียได้ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐได้ปฏิเสธคำขอของทางการยูเครน และไม่อนุญาตให้ยูเครนโจมตีเข้าไปดินแดนรัสเซียด้วยการใช้ขีปนาวุธ ATACMS ของสหรัฐ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้สงครามลุกลามบานปลาย ซึ่งถือว่าเป็นการทิ้งทวนของโจ ไบเดน ที่พลิกนโยบายของสหรัฐต่อสงครามรัสเซีย-ยูเครน เพราะนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคมปีหน้านี้ และอาจทำให้อนาคตการสนับสนุนยูเครนของสหรัฐสะดุดหยุดลงก็ได้   ครับ ! ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายนนี้เอง ยูเครนยิงขีปนาวุธเชิงยุทธวิธีกองทัพบก ATACMS (Army Tactical Missile System) ของสหรัฐอเมริกา 6 ลูก เข้าใส่แคว้นบรีแยนสก์ของรัสเซีย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่กองทัพยูเครนใช้ขีปนาวุธโจมตีระยะไกลเข้าไปในรัสเซีย นับตั้งแต่สงครามเริ่มขึ้น และในวันเดียวกันนี้ยูเครนยังใช้ขีปนาวุธร่อนพิสัยไกล Storm Shadows ของอังกฤษโจมตีเข้าไปในดินแดนรัสเซียอีกด้วย   ทันทีทันใดเช่นกัน ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ว่า รัสเซียได้ใช้ขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยกลางรุ่นใหม่ชื่อโอเรชนิค โจมตีเมืองดนิโปรในภาคตะวันออกของยูเครนเพื่อตอบโต้แบบทันควัน…

สหรัฐประชุมผู้บริหารบริษัทเทเลคอมถกประเด็นแฮ็กเกอร์จีนจารกรรมข้อมูลไซเบอร์

Loading

ทำเนียบขาวของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทำเนียบขาวได้ร่วมประชุมกับบรรดาผู้บริหารจากบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมในวันศุกร์ (22 พ.ย.) เพื่อหารือเกี่ยวกับการจารกรรมทางไซเบอร์ที่สำคัญของจีนซึ่งมุ่งเป้าไปที่ภาคธุรกิจนี้

ลอสแองเจลิสประกาศเป็น “เขตปลอดภัย” สำหรับผู้อพยพ

Loading

สภานครลอสแองเจลิสลงมติเป็นเอกฉันท์ว่าด้วยกฎหมาย “เมืองปลอดภัย” เพื่อปกป้องผู้อพยพที่อาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งเป็นจุดยืนที่ขัดแย้งต่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่

คุยการเมืองเรื่องทรัมป์ เทรดวอร์และระเบียบโลกใหม่ กับศ.ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

Loading

    “กรุงเทพธุรกิจ” ชวนพูดคุยกับ ศ. ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ถึงผลของการกลับมาของทรัมป์ที่มีต่อระเบียบโลกและประชาธิปไตยสหรัฐ   การกลับมาของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ในฐานะว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐจากพรรครีพับลิกันสร้างทั้งความตระหนักและตระหนกให้กับประชาคมโลกโดยเฉพาะประเด็นนโยบาย America First ที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกครั้งใหญ่   ว่ากันว่าภายใต้การนำของทรัมป์ สหรัฐมีแนวโน้มที่จะถอยห่างจากบทบาทผู้นำโลกเสรีที่เคยดำรงมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยหันมาเน้นการเจรจาแบบทวิภาคีที่มุ่งผลประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าการรักษาพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว การถอนตัวจากข้อตกลงระหว่างประเทศสำคัญๆ อย่างความตกลงปารีสและองค์การอนามัยโลกในสมัยแรก สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีที่เปลี่ยนไปของมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก   ขณะเดียวกัน การที่ทรัมป์มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำประเทศที่นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งมองว่ามิได้ยึดถือหลักการประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย จีน หรือเกาหลีเหนือ ก็ส่งสัญญาณว่าสหรัฐอาจไม่ได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ดังกล่าวเหมือนในอดีต (?) การเมืองระหว่างประเทศกำลังเคลื่อนไปสู่ยุคที่ความสัมพันธ์ “ส่วนตัว” ระหว่างผู้นำมีความสำคัญมากกว่าค่านิยมร่วมหรือผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศ   นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานะความเป็นประชาธิปไตยของสหรัฐเอง หลังจากที่ทรัมป์ปฏิเสธผลการเลือกตั้งในปี 2020 จนนำไปสู่เหตุการณ์จลาจลที่รัฐสภาในวันที่ 6 ม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดของประชาธิปไตยอเมริกัน การแบ่งขั้วทางความคิดที่รุนแรงขึ้น ประกอบกับวิธีการหาเสียงที่เน้นการโจมตีคู่แข่งและการสร้างความเกลียดชัง ทั้งหมดล้วนส่งผลให้สถาบันจัดอันดับประชาธิปไตยระดับโลกจัดให้สหรัฐเป็นเพียง “ประชาธิปไตยที่บกพร่อง”   แม้ว่าทรัมป์จะยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ทิศทางนโยบายต่างประเทศที่เขาวางไว้ก็มีความเป็นไปได้ว่าทั้งโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะซับซ้อนและไม่แน่นอนมากขึ้น…

ช็อก มือมีดแทงคนในแมนฮัตตัน ดับแล้ว 2 ศพ อาการวิกฤตอีก 1 ราย

Loading

เกิดเหตุคนร้ายใช้มีดแทงคนในแมนฮัตตัน ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ศพ บาดเจ็บอาการวิกฤติอีก 1 ราย ส่วนมือมีดถูกตำรวจจับกุมตัวได้แล้ว

สหรัฐตั้งข้อหาผู้ให้บริการมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Phobos หลังจากถูกส่งตัวข้ามแดนจากเกาหลีใต้

Loading

    เว็บไซต์ Bleeping Computer รายงานเมื่อ 18 พ.ย.67 ว่า นาย Evgenii Ptitsyn อายุ 42 ปี ชายชาวรัสเซียและผู้ดูแลระบบของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Phobos ถูกส่งตัวข้ามแดนจากเกาหลีใต้เพื่อเผชิญข้อหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ในสหรัฐอเมริกา   Phobos เป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ประเภทเช่าบริการที่เปิดให้บริการ (Ransomware as a Service – RAAS) จัดอยู่ในประเภทเดียวกับ Crysis Ransomware ซึ่งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวนี้เปิดให้บริการโดยแพร่หลายตั้งแต่ พ.ค. – พ.ย.67 คิดเป็นร้อยละ 11 จากการตรวจจับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ทั้งหมด   กระทรวงยุติสหรัฐฯ ได้พบความเชื่อมโยงของกลุ่มผู้ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Phobos กับการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนกว่า 1,000 แห่ง รวมจำนวนค่าไถ่ที่เกิดจากมัลแวร์ Phobos ทั้งสิ้นกว่า 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ     อ้างอิงตามเอกสารของศาลสหรัฐฯ นาย Ptitsyn และผู้สมรู้ร่วมคิดถูกกล่าวหาว่าพัฒนาและเริ่มเปิดใช้งานมัลแวร์เรียกค่าไถ่ดังกล่าว…