สหรัฐฯ หมายหัว ผู้นำ ‘อัลเคด้าอินเดีย – ทาลิบันปากีสถาน’ เป็นผู้ก่อการร้าย

Loading

FILE PHOTO (REUTERS)   สหรัฐฯ หมายหัว ผู้นำ ‘อัลเคด้าอินเดีย – ทาลิบันปากีสถาน’ เป็นผู้ก่อการร้าย   สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมว่า สหรัฐอเมริกาประกาศให้ผู้นำกลุ่มอัลเดค้าในภูมิภาคเอเชียใต้ และผู้นำกลุ่มทาลิบันในปากีสถานเป็นผู้ก่อการร้าย พร้อมระบุว่าจะลงมือปฏิบัติการเมื่อสัญญาณเตือนในอัฟกานิสถานเพิ่มสูงขึ้น   โดยกลุ่มญิฮาดที่ตกเป็นเป้าหมายประกอบด้วย 4 ผู้นำจากกลุ่มอัลเคด้าในอนุทวีปอินเดีย (เอคิวไอเอส) ซึ่งเป็นสาขาย่อยในภูมิภาคเอเชียใต้ของเครือข่ายกลุ่มก่อสงครามทางศาสนาดังกล่าว ซึ่งรวมถึง โอซามา เมห์มูด ประมุขของกลุ่มที่แต่งตั้งตนเอง   นอกจากนี้ สหรัฐยังประกาศชื่อผู้นำจากกลุ่มทาลิบันในปากีสถานอีกหนึ่งคนคือ มูฟตี ฮาซรัต เดโรจี เบอร์สองของกลุ่มดังกล่าว ซึ่งยังเป็นที่รู้จักในชื่อ คารี อัมจาด ผู้ยกระดับแผนความรุนแรง 15 ปีของตน ตั้งแต่ที่กลุ่มทาลิบันยึดอำนาจในประเทศอัฟกานิสถานได้สำเร็จเมื่อปีที่ผ่านมา และยังเป็นผู้ควบคุมปฏิบัติการในแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควาของปากีสถาน ซึ่งเป็นหนึ่งในสองพื้นที่ชายแดนที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีที่รุนแรงหลายครั้ง   แอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐแถลงว่า การประกาศชื่อผู้ก่อการร้ายครั้งนี้เป็น “ส่วนหนึ่งในความพยายามที่แน่วแน่ของพวกเราในการรับประกันว่าผู้ก่อการร้ายจะไม่ใช้อัฟกานิสถานเป็นแหล่งก่อการร้ายระหว่างประเทศ พวกเราจะใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องทุกอย่างด้วยความความมุ่งมั่นว่า ผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศจะไม่สามารถปฏิบัติการในอัฟกานิสถานได้อย่างลอยนวล”   การที่กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการคลังสหรัฐออกมาประกาศบุคคลชื่อดังกล่าวเป็นผู้ก่อการร้ายระดับโลกเป็นการเฉพาะจะทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับพวกเขาในสหรัฐถือเป็นอาชญากรรม…

ข้อมูลผู้อพยพ 6,000 รายหลุดบนเว็บไซต์หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของสหรัฐฯ

Loading

  สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรของสหรัฐอเมริกา (ICE) เผยแพร่ชื่อ สถานะการอพยพ วันเกิด สัญชาติ และสถานที่ตั้งของศูนย์กักของผู้อพยพมากกว่า 6,000 รายโดยไม่ได้ตั้งใจระหว่างการอัปเดตเว็บไซต์ ผู้อพยพเหล่านี้อ้างว่าหนีจากการทรมานและการดำเนินคดีจากประเทศต้นทาง   กลุ่มส่งเสริมสิทธิผู้อพยพ Human Rights First เป็นผู้แจ้งเตือน ICE ต่อกรณีที่เกิดขึ้น ทำให้ทางหน่วยงานรีบลบข้อมูลออกจากเว็บไซต์ทันที หลังจากที่ข้อมูลอยู่บนหน้าเว็บไซต์เป็นเวลา 5 ชั่วโมง   ICE อยู่ระหว่างการสืบสวนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและจะมีการแจ้งผู้อพยพที่ได้รับผลกระทบ โดยให้คำมั่นว่าจะไม่ส่งผู้อพยพที่อยู่ในรายชื่อกลับประเทศจนกว่าจะพิสูจน์ทราบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อบุคคลเหล่านี้ได้ รวมถึงจะแจ้งไปยังประชาชนที่ดาวน์โหลดข้อมูลเหล่านี้ให้ลบออกไปด้วย   โฆษกของ ICE ชี้ว่าการเผยแพร่ข้อมูลโดยไม่ได้ตั้งใจในครั้งนี้ถือว่าละเมิดนโยบายของหน่วยงาน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิ (DHS) ชี้ว่าการหลุดของข้อมูลเป็นเรื่องที่น่าอายและอันตรายต่อเจ้าของข้อมูล   ไฮดี อัลต์แมน (Heidi Altman) ผู้อำนวยการนโยบายแห่ง National Immigrant Justice Center องค์กรส่งเสริมสิทธิผู้อพยพอีกแห่งให้ความเห็นว่าข้อมูลที่หลุดออกมาจะทำให้ชีวิตของผู้อพยพตกอยู่ในอันตราย   ด้าน เบลน บุกกี (Blaine Bookey) ผู้อำนวยการกฎหมายจากศูนย์เพศสภาวะและผู้ลี้ภัยศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยยูซี เฮสติงส์…

อิหร่านจับกุม ‘สายลับ’ เอี่ยวหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ

Loading

(แฟ้มภาพซินหัว : ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยเดินบนสะพานในเมืองโทเนกาบอนของอิหร่าน วันที่ 26 เม.ย. 2021)   เตหะราน, 30 พ.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอังคาร (29 พ.ย.) สำนักข่าวกึ่งทางการเมห์ร (Mehr) ของอิหร่าน อ้างอิงอาลี ฟาดาวี รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน (IRGC) ซึ่งเปิดเผยระหว่างการชุมนุมของผู้บัญชาการหน่วยแพทย์แห่งกองกำลังฯ ในกรุงเตหะราน ว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งถูกจับกุมในข้อหาติดต่อกับหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ระหว่างการจลาจลครั้งล่าสุดในประเทศ   ฟาดาวีกล่าวว่าหน่วยข่าวกรองแห่งกองกำลังฯ ได้จับกุม “สายลับ” หลายคนที่เชื่อมโยงกับหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ ระหว่างการจลาจลครั้งล่าสุด ก่อนจะส่งตัวพวกเขาให้กับหน่วยงานตุลาการ พร้อมเสริมว่าพวกเขาทำหน้าที่เป็น “ผู้นำเครือข่ายของศัตรู” ในการจลาจลครั้งนี้   ฟาดาวีระบุว่ากลุ่มคนเหล่านี้ไม่เพียงมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานีโทรทัศน์อิหร่าน อินเตอร์เนชันแนล (Iran International) ซึ่งดำเนินงานภายใต้หน่วยสอดแนมของศัตรูเท่านั้น ทว่ายังเกี่ยวข้องกับหน่วยข่าวกรองและหน่วยสอดแนมของสหรัฐฯ ด้วย   อย่างไรก็ดี รายงานข้างต้นไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนและรายชื่อของผู้ถูกจับกุม       —————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :   …

สหรัฐยอมรับโครงการอวกาศจีนพัฒนาไวมาก ต้องจับตาใกล้ชิด

Loading

  กองทัพสหรัฐให้ความเห็นว่า โครงการอวกาศของจีนพัฒนาอย่างรวดเร็วและไปไกลมาก สมควรต้องมีการ “เฝ้าระวัง” อย่างใกล้ชิด   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 พ.ย. ว่า กองทัพอวกาศสหรัฐเผยแพร่รายงานว่า โครงการอวกาศของจีนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มีพัฒนาการแบบก้าวกระโดดอย่างมาก โดยเฉพาะการพัฒนาและส่งดาวเทียมสื่อสาร และยานอวกาศแบบนำกลับมาใช้ใหม่   Spectacular views of our planet from China's #space station #ChinaTech pic.twitter.com/dGbUjOuqol — Zhang Meifang张美芳 (@CGMeifangZhang) November 21, 2022   China poses increasing threat in military space race, top U.S. general says https://t.co/QTQlSXiIOE pic.twitter.com/RlfD5kaRBN — Reuters U.S.…

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในสหรัฐเป็นอย่างไร?

Loading

  การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่รัฐบาลหลาย ๆ ประเทศให้ความสำคัญ และเป็นแนวคิดที่มีมาหลายสิบปีแล้ว   พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ของประเทศไทย มีผลใช้บังคับอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งต้องยอมรับว่าภาคเอกชนหลาย ๆ บริษัทนั้นมีความตื่นตัวและเตรียมความพร้อมกันอย่างเต็มที่ในการดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด   หลายประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเวียดนาม ก็กำลังเตรียมตัวเพื่อออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน ในส่วนประเทศญี่ปุ่น มีการบังคับใช้กฎหมายเกินกว่า 15 ปีแล้ว แต่ก็มีการพัฒนาแก้ไขกฎหมายอยู่เป็นระยะเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของสังคม     ในส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในประชาคมโลก และมีความก้าวล้ำในเรื่องของกฎหมายและเทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง   หลาย ๆ ท่านก็คงคาดหมายว่า สหรัฐนั้นก็น่าจะมีความก้าวหน้าในส่วนของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่าประเทศอื่น ๆ โดยที่สหรัฐมีกฎหมายหลายฉบับที่กำกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในเฉพาะส่วน เช่น The Privacy Act of 1974 ซึ่งเป็นกฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกจัดเก็บโดยหรืออยู่ภายใต้การครอบครองของรัฐบาล   Health Insurance Portability and Accountability Act of 1996 (HIPAA) ซึ่งเป็นกฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประเภทข้อมูลสุขภาพของคนไข้ หรือผู้ใช้บริการสาธารณสุข…

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ เตรียมยกเครื่องไซเบอร์ ปล่อยแผน Zero Trust กันถูกแฮ็ก

Loading

  กลาโหมสหรัฐฯ เตรียมยกเครื่องระบบไซเบอร์ ใช้แนวคิด Zero Trust ให้ระบบตรวจสอบทุกอย่าง แม้จะเป็นคนที่ไว้วางใจ   กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (Department of Defense) เตรียมยุทธศาสตร์และแผนงาน (Roadmap) ใหม่ โดยใช้แนวคิด Zero Trust เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูล และการโจมตีทางไซเบอร์ ของเหล่าแฮ็กเกอร์จากทั่วโลก   แนวคิด Zero Trust คือ แนวคิดของระบบที่ไม่เชื่อถือใครเลย เช่น นายพล A เข้าระบบผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เพื่อทำงาน ในการใช้งานก็ต้องมีการยืนยันว่า เป็น นายพล A จริงไหม ? ทั้ง ๆ ที่เครื่องก็ตั้งอยู่ในห้องนายพล หรือแม้กระทั่งการจะทำอะไรก็ต้องมีการตรวจสอบยืนยันตัวตน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ การใส่รหัส OTP เพิ่มเติมจาก Password ปกติ   แนวคิด Zero Trust เป็นส่วนหนึ่งที่เชื่อว่าหลายฝ่ายจะช่วยลดการโจรกรรมข้อมูลและโจมตีทางไซเบอร์ของเหล่าแฮ็กเกอร์ได้  …