ผู้พัฒนา ChatGPT เห็นด้วยกับวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่จะให้มีการกำกับดูแล AI

Loading

    แซม อัลต์แมน (Sam Altman) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI (ผู้พัฒนา ChatGPT) กล่าวกับสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาว่าเขาเห็นด้วยที่จะมีระบบใหม่เพื่อจัดการกับปัญญาประดิษฐ์   คำกล่าวนี้เคยขึ้นระหว่างที่อัลต์แมนเข้าให้การกับคณะอนุกรรมาธิการยุติธรรมด้านความเป็นส่วนตัวและเทคโนโลยีของวุฒิสภา ถือเป็นครั้งแรกที่เขาให้การในลักษณะนี้   เขาชี้ว่าจำเป็นต้องมีกรอบควบคุมเทคโนโลยีใหม่ทุกชนิด รวมทั้งบริษัทของเขาและภาคธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ตัวเองสร้างขึ้น เช่นเดียวกับผู้ที่นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้   วุฒิสมาชิกจากทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันต่างเน้นย่ำว่าควรต้องมีมาตรการควบคุมปัญญาประดิษฐ์เพื่อป้องกันผลร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากการนำไปใช้ในเชิงลบ เห็นตรงกันว่าปัญญาประดิษฐ์มีศักยภาพสูงและพัฒนาเร็วกว่าเทคโนโลยีอื่นมาก   ริชาร์ด บลูเมนทัล (Richard Blumenthal) ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรคเดโมแครตให้ความเห็นว่าต้องมีการควบคุมปัญญาประดิษฐ์ไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือสร้างข้อมูลเท็จ อย่างกรณีของการปลอมข่าวการยอมแพ้ของยูเครน   ที่ประชุมยอมรับความล้มเหลวในการกำกับดูแลโซเชียลมีเดีย จึงอยากจะแก้ตัวใหม่กับปัญญาประดิษฐ์ในครั้งนี้ก่อนจะสายเกินไป   ด้านจอช ฮาวลีย์ (Josh Hawley) อนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรครีพับลิกันเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงบวกได้อย่างการพัฒนาสื่อ ผ่านการส่งเสริมการกระจายข้อมูล ในทางตรงกันข้ามก็สามารถนำไปใช้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งส่งผลร้ายตามมาได้เช่นกัน   บลูเมนทัลชมว่าคำพูดอัลต์แมนฟังดูจริงใจมากกว่าผู้บริหารของบริษัทอื่น ๆ “ราวฟ้ากับเหว” สะท้อนผ่านการพูดจริงทำจริง และการแสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์   ขณะที่ ดิก…

มอนแทนาลงนามกฎหมายแบน TikTok เป็นรัฐแรกของอเมริกา

Loading

    วานนี้ (17 พฤษภาคม) เกร็ก เจียนฟอร์เต (Greg Gianforte) ผู้ว่าการรัฐมอนแทนา ได้ลงนามในกฎหมายสั่งแบนแอปพลิเคชัน TikTok ในรัฐ เพื่อปกป้องคนในมอนแทนาจากการลักลอบรวบรวมข่าวกรองของรัฐบาลจีน ส่งผลให้มอนแทนาถือเป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่แบน TikTok อย่างเป็นทางการ   สำนักข่าว Reuters รายงานว่า กฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2024 ซึ่งจะส่งผลให้ Google Play Store หรือ App Store ไม่สามารถเปิดให้ผู้คนในรัฐดาวน์โหลด TikTok ได้อีก เพราะจะถือว่าผู้ให้บริการเหล่านี้ทำผิดกฎหมายของรัฐ อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้ไม่ได้กำหนดบทลงโทษใด ๆ ต่อบุคคลที่ใช้งานแอปดังกล่าว   ด้าน TikTok ยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น แต่ก่อนหน้านี้แอปสัญชาติจีนเคยออกแถลงการณ์ว่า กฎหมายใหม่ดังกล่าว ‘เป็นการละเมิดเสรีภาพของชาวมอนแทนา ตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (First Amendment) ด้วยการสั่งแบน TikTok อย่างผิดกฎหมาย’ พร้อมระบุด้วยว่าทางบริษัทจะเดินหน้าปกป้องสิทธิ์ของผู้ใช้งาน…

รัฐบาลสหรัฐฯทุ่ม 4.7 พันล้าน วิจัยและพัฒนา AI เรียก CEO บริษัทเทคคุยผลกระทบ

Loading

    เมื่อวันพฤหัสบดี (4 พฤษภาคม 2566) ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลงทุนวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ภายใต้งบประมาณ 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4,715 ล้านบาท ท่ามกลางความนิยมและตื่นตัวทั่วโลกของเทคโนโลยีใหม่นี้   รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่ม 4.7 พันล้านวิจัยและพัฒนา AI   งบประมาณดังกล่าวจะมาจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยส่วนหนึ่งจะใช้สร้างสถาบันวิจัย AI แห่งชาติใหม่อีก 7 แห่ง ทำให้สหรัฐฯ จะมีสถาบันวิจัยด้านนี้รวมแล้ว 25 แห่งด้วยกัน ซึ่งสถาบันวิจัยเหล่านี้จะทำงานร่วมกับรัฐบาลกลาง ธุรกิจในอุตสาหกรรม และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ เช่น ปัญหาสภาพอากาศ การเกษตร สาธารณสุข   เตรียมออกคู่มือใช้ AI สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ   ในเร็วๆ นี้ สำนักงานการจัดการและงบประมาณของสหรัฐฯ จะออกคำแนะนำเชิงนโยบายเกี่ยวกับการใช้ AI สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลาง   นอกจากนั้นบริษัทที่กำลังพัฒนา AI…

องค์การสหประชาชาติ ตำหนิสหรัฐอเมริกาเรื่องเอกสารลับที่รั่วไหล

Loading

    หลายสัปดาห์หลังจากมีการเผยแพร่เอกสารลับของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จำนวนมากบนสื่อสังคมออนไลน์ องค์การสหประชาชาติ ออกถ้อยแถลงตำหนิสหรัฐฯ กรณีที่มีการสอดแนมเลขาธิการและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติ   นายสเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกสหประชาชาติ กล่าวว่า สหประชาชาติมีความเห็นว่า การสอดแนมเจ้าหน้าที่บุคลากรของสหประชาชาติ ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของสหรัฐอเมริกาที่ระบุไว้ในกฎบัตรของสหประชาชาติและอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสหประชาชาติ และสหประชาชาติได้ส่งบันทึกไปยังคณะผู้แทนทางการทูตของสหรัฐฯ ในสหประชาชาติเกี่ยวกับเอกสารลับแล้ว   โดยในเอกสารลับส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ ที่ถูกนำมาเผยแพร่ เป็นการสอดแนมการสนทนาและการทำงานของนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง โดยมีการแสดงความเห็นว่า นายกูเตอร์เรส “อ่อนข้อ” ให้กับรัสเซียมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้มาตรการคว่ำบาตร ทั้งมีรายละเอียดการสนทนาส่วนตัวระหว่างนายกูเตอร์เรสกับนางอมินา โมฮัมเหม็ด รองเลขาธิการสหประชาชาติ   อย่างไรก็ตาม สำนักงานของนายกูเตอร์เรส ระบุว่า การทำงานของเขาอยู่ในสายตาของสาธารณชนมาเป็นเวลานาน จึงไม่แปลกใจหากจะมีการสอดแนมและดักฟังการสนทนาส่วนตัว แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือความบกพร่องหรือไร้ความสามารถที่ทำให้การสนทนาส่วนตัวถูกนำไปเผยแพร่ และถูกบิดเบือน               —————————————————————————————————————————————— ที่มา :           …

แก๊งแรนซัมแวร์ ‘BianLian’ ขู่กรรโชกข้อมูลจากเหยื่อ

Loading

    สัปดาห์นี้ผมจะขอพูดถึงแรนซัมแวร์อีกหนึ่งตัวที่อยู่ในกระแสอย่าง “BianLian” ซึ่งเริ่มปฏิบัติการโดยการเปลี่ยนโฟกัสการโจมตีจากการเข้ารหัสไฟล์ของเหยื่อมาเป็นการเลือกเฉพาะข้อมูลที่พบบนเครือข่ายที่เข้าโจมตีและใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อขู่กรรโชกและเรียกค่าไถ่   โดยเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ชื่อดังได้เปิดเผยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบของ BianLian ทำให้เห็นสัญญาณของกลุ่มภัยคุกคามที่พยายามขู่กรรโชกและเพิ่มแรงกดดันกับเหยื่อ เมื่อช่วงก.ค.ปีที่ผ่านมา   แก๊งแรนซัมแวร์นี้ได้ออกปฏิบัติการและสามารถเจาะระบบองค์กรที่มีชื่อเสียงหลายแห่งได้อย่างง่ายดาย โดยการติดตั้ง backdoor แบบ Go-based ที่กำหนดได้เองในการช่วยรีโมทเข้าไปยังอุปกรณ์ที่บุกรุก เมื่อปฏิบัติการเสร็จสิ้นจะแจ้งไปยังเหยื่อโดยให้เวลา 10 วัน สำหรับการจ่ายเงินค่าไถ่   เมื่อช่วงกลางเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา แก๊งแรนซัมแวร์ได้เปิดเผยชื่อองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อรวมทั้งหมด 118 องค์กรผ่าน BianLian Portal โดยกว่า 71% ของเหยื่อคือบริษัทที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา   มีหนึ่งข้อสังเกตที่น่าสนใจจากการโจมตีครั้งล่าสุดคือ ความพยายามในการสร้างรายได้จากการละเมิดโดยไม่เข้ารหัสไฟล์ของเหยื่อแต่ใช้วิธีการข่มขู่ว่าจะปล่อยข้อมูลที่โจรกรรมมาให้รั่วไหล   แต่ในขณะเดียวกันแก๊งแรนซัมแวร์ก็ยืนยันว่าจะไม่ปล่อยข้อมูลออกมาหรือแม้กระทั้งการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าองค์กรของเหยื่อถูกโจรกรรมข้อมูล หากเหยื่อยอมจ่ายเงินค่าไถ่ เพราะแก๊งเหล่านี้อ้างว่าชื่อเสียงขององค์กรมีผลต่อธุรกิจของเหยื่อ ดังนั้นหากภาพลักษณ์ของเหยื่อได้รับความเสียหาย พวกเขาก็จะเสียประโยชน์ด้วยเช่นกัน   ยิ่งไปกว่านั้น BianLian ได้หยิบยกประเด็นด้านกฏหมายและวิเคราะห์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เหยื่ออาจต้องเผชิญหากมีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่าองค์กรนั้น ๆ กำลังประสบกับการถูกคุกคามและการละเมิด   ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่อาจทราบได้เลยว่าทำไม BianLian ถึงยอมทิ้งกลยุทธ์การเข้ารหัสเพื่อแฮ็กข้อมูลอาจจะเป็นเพราะ Avast ได้เปิดตัวอุปกรณ์ถอดรหัสฟรีในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา…

6 เหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลร้ายแรงที่สุดในโลก

Loading

    มองย้อนรอย 6 เหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่โลกนี้เคยมีมา พบทั้งในอดีตสหภาพโซเวียต, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และญี่ปุ่น     โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีข้อดีหลายอย่างและถูกใช้งานในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้เคยเกิดข้อผิดพลาดและส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในอดีต   หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่สร้างความร้อนมหาศาลไปทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นไอและหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาใหม่ ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้   เหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดในโลกนี้ TNN Tech ขอหยิบยกมานำเสนอทั้งหมด 6 เหตุการณ์ด้วยกัน ได้แก่   ปี 1986 นิคมเชอร์โนบิล สหภาพโซเวียต (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นเคียฟ, ยูเครน) สารที่รั่วไหลซีเซียม-137 ผู้เสียชีวิต 4,000 คน หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลได้ถูกปิดจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ ผู้ที่เดินทางไปเยี่ยมชมส่วนใหญ่เป็นนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน   ปี 1957 คัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ สารที่รั่วไหลไอโอดีน-131 ผู้เสียชีวิต 240 คน   ปี 1957 คิสตีม สหภาพโซเวียต…