ตำรวจออสเตรเลียจับกุมผู้ต้องสงสัยขายข้อมูลด้านความมั่นคงให้สายลับต่างชาติ

Loading

ภาพจาก : https://sthilliers.com.au/   สำนักงานตำรวจแห่งชาติออสเตรเลีย ออกแถลงการณ์ที่ระบุว่า นายอเล็กซานเดอร์ เซอร์โก ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ อายุ 55 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ในนครซิดนีย์ของออสเตรเลีย เมื่อวานนี้ ตามเวลาท้องถิ่น ขณะกำลังรวบรวมข้อมูลด้านความมั่นคงของออสเตรเลีย เพื่อขายให้กับสายลับต่างชาติ 2 คน ในชื่อ เคน และเอเวลิน   อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจออสเตรเลีย ไม่ได้เปิดเผยว่า สายลับดังกล่าวทำงานให้กับหน่วยงานข่าวกรองใด   ทั้งนี้ นายเซอร์โก จะถูกตั้งข้อหาแทรกแซงกิจการภายในของออสเตรเลียจากต่างประเทศ โดยไม่ได้ไตร่ตรอง ซึ่งมีโทษการจำคุกสูงสุด 15 ปี และจะกลายเป็นผู้ต้องสงสัยรายที่สอง ที่ถูกดำเนินคดีในกฎหมายต่อต้านการสอดแนม ซึ่งออกโดยรัฐบาลของพรรคอนุรักษ์นิยมออสเตรเลีย เมื่อปี 2561.     แหล่งที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย       ————————————————————————————————————————- ที่มา :       …

เอกสารลับรั่ว: เมื่อมิตรและศัตรูของสหรัฐฯ ถูกสอดแนมกันถ้วนหน้า

Loading

  •  ทางการสหรัฐฯ เร่งดำเนินการสืบสวน กรณีการรั่วไหลของเอกสารลับระดับสูงด้านข่าวกรองและการทหาร ซึ่งถูกเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต โดยมีรายละเอียดในหลายประเด็น เช่น สงครามยูเครน, จีน, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ซึ่งรวมถึงข้อมูลการป้องกันทางอากาศของยูเครน และข้อมูลหน่วยสืบราชการลับของอิสราเอล •  ทางการสหรัฐฯ พยายามตรวจสอบแหล่งที่มาในการรั่วไหลของเอกสารลับระดับสูงดังกล่าว โดยผู้เชี่ยวชาญแสดงความสงสัยว่า อาจเป็นฝีมือคนในสหรัฐฯ •  ขณะที่การสืบสวนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งผู้ดำเนินการตรวจสอบไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ที่กลุ่มสนับสนุนรัสเซีย อาจอยู่เบื้องหลังการรั่วไหล ซึ่งถูกมองว่า เป็นหนึ่งในการละเมิดความมั่นคงที่ร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่เอกสาร วิดีโอ และข้อมูลทางการทูตมากกว่า 700,000 รายการ ปรากฏบนเว็บไซต์วิกิลีกส์ ในปี 2556 เอกสารลับสุดยอดของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่รั่วไหลทางออนไลน์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เปิดช่องให้เห็นว่า สหรัฐฯ สอดแนมพันธมิตรและศัตรูอย่างไร สร้างความเดือดดาลให้กับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่กลัวว่า การเปิดเผยดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อแหล่งข่าวที่มีความอ่อนไหว และกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สำคัญ   เอกสารบางฉบับที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระบุว่า เป็นของจริง เผยให้เห็นขอบเขตที่สหรัฐฯ สอดแนมชาติพันธมิตรสำคัญ ซึ่งรวมถึงเกาหลีใต้ อิสราเอล และยูเครน   คนอื่น ๆ เปิดเผยถึงระดับที่สหรัฐฯ…

ออสซี่โดดร่วมวง แบนติ๊กต็อก บนอุปกรณ์ของรัฐ ปักกิ่งประณามทันที จี้ปฏิบัติเป็นธรรมกับบริษัทจีน

Loading

แฟ้มภาพรอยเตอร์   ออสซี่โดดร่วมวง แบนติ๊กต็อก บนอุปกรณ์ของรัฐ ปักกิ่งประณามทันที จี้ปฏิบัติเป็นธรรมกับบริษัทจีน   เมื่อวันที่ 4 เมษายน ออสเตรเลีย ประกาศแบนการใช้ ติ๊กต็อก แอปพลิเคชันแชร์วิดีโอสั้นยอดนิยม บนอุปกรณ์ของรัฐบาลทุกชนิด ส่งผลให้ออสเตรเลีย เป็นประเทศล่าสุดในกลุ่มชาติพันธมิตรตะวันตกที่ห้ามการใช้งานแอปสัญชาติจีนนี้บนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐบาล เนื่องจากกลัวเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ   มาร์ก เดรย์ฟัส รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของออสเตรเลีย กล่าวว่า การตัดสินใจครั้งนี้มีขึ้นภายหลังได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านข่าวกรองของประเทศและจะเริ่มปฏิบัติใช้โดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดีรัฐบาลจะอนุมัติข้อยกเว้นบางประการเป็นรายกรณีไปด้วยการผ่อนปรนด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม   ท่าทีนี้ส่งผลให้ออสเตรเลีย เป็นชาติสุดท้ายในกลุ่ม “ไฟฟ์ อายส์” พันธมิตรด้านความมั่นคง ร่วมกับสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และ นิวซีแลนด์ ที่ได้แบนติ๊กต็อกเข้าถึงอุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐบาลของตนเองไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ยังมีฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และ สหภาพยุโรป (อียู) ที่ก็ได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน   ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ กล่าวเตือนว่า ติ๊กต็อก ที่อ้างว่ามีผู้ใช้งานแอปนี้อยู่ทั่วโลกมากกว่า 1,000 ราย ได้แบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้งานให้กับรัฐบาลจีน ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศต่าง…

นักวิเคราะห์เตือนแอป “พินตัวตัว” สามารถสอดแนมกิจกรรมบนโทรศัพท์มือถือ

Loading

  นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เปิดเผยกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า “พินตัวตัว” (Pinduoduo) แอปพลิเคชันชอปปิงยอดนิยมที่สุดแอปหนึ่งของจีนนั้น สามารถฝ่าระบบป้องกันความปลอดภัยบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วสอดแนมกิจกรรมบนแอปอื่น ๆ ตลอดจนตรวจสอบการแจ้งเตือน อ่านข้อความส่วนตัว และเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า   โดยแอปดังกล่าวขายสินค้าเกือบทุกประเภท ตั้งแต่เสื้อผ้าไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีผู้ใช้งานกว่า 750 ล้านรายต่อเดือน   ขณะเดียวกัน นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เตือนด้วยว่า เมื่อติดตั้งแอปพินตัวตัวแล้วก็ยากที่จะลบมัลแวร์สอดแนมออกจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้   แม้แอปจำนวนมากรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานกันเป็นปกติ โดยบางครั้งก็ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายเตือนว่า พินตัวตัวนั้นละเมิดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยด้านข้อมูลมากกว่าแอปทั่ว ๆ ไป   สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้พูดคุยกับทีมความปลอดภัยทางไซเบอร์ประมาณ 6 ทีมจากเอเชีย ยุโรป และสหรัฐ รวมถึงพนักงานทั้งในอดีตและปัจจุบันของพินตัวตัว โดยผู้เชี่ยวชาญหลายรายระบุว่ามีมัลแวร์อยู่บนแอปพินตัวตัว ซึ่งฉวยโอกาสจากความเปราะบางในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ขณะเดียวกันกลุ่มคนวงในระบุว่า มัลแวร์ดังกล่าวใช้ในการสอดแนมผู้ใช้งานและคู่แข่ง เพื่อกระตุ้นยอดขาย   “เราไม่เคยเห็นแอปขนาดใหญ่เช่นนี้พยายามเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ควรเข้าถึง โดยถือเป็นเรื่องผิดปกติเอามาก ๆ และไม่ดีต่อพินตัวตัวนัก” มิกโก ฮิปโพเนน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยบริษัทวิธซีเคียว (WithSecure) บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์จากฟินแลนด์กล่าว   มัลแวร์นั้นอ้างอิงถึงซอฟต์แวร์ทุกชนิดที่พัฒนาขึ้นเพื่อขโมยข้อมูลหรือรุกล้ำระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยการเปิดเผยเรื่องมัลแวร์ในแอปพินตัวตัวมีขึ้นในช่วงที่สหรัฐตรวจสอบแอปติ๊กต๊อกอย่างเข้มงวด เนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านข้อมูล…

สื่อผู้ดีอ้างจีนตั้งฐานเรดาร์ทหารกลางป่าทึบศรีลังกา สอดแนมสหรัฐฯ-อังกฤษ-อินเดีย

Loading

    เอเจนซีส์ – โปรเจกต์สถานีรับสัญญาณดาวเทียมกลางป่าทึบของสถาบันวิจัยข้อมูลอวกาศ AIR (Aerospace Information Research Institute) ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน CAS ที่กำลังจะเกิดขึ้นกลางป่าทึบที่อ่าวดอนดรา (Dondra Bay) มีเป้าหมายเพื่อสอดแนมความเคลื่อนไหวเรือรบชาติตะวันตกและอินเดียในมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงฐานที่ตั้งทางทหารอเมริกัน-อังกฤษในดินแดนอาณานิคมอังกฤษ ดิเอโก การ์เซีย (Diego Garcia) กลางมหาสมุทรอินเดียและของอินเดียอย่างไม่ต้องสงสัย   เดลีเอ็กซเพรสของอังกฤษรายงานวันนี้ (3 เม.ย.) ว่า โปรเจกต์สถานีรับสัญญาณดาวเทียมจีนนี้ถูกเปิดเผยโดยแหล่งข่าวกรองศรีลังกา และโปรเจกต์ฐานเรดาร์ลับของทางการทหารของจีนกลางป่าทึบที่อ่าวดอนดรา (Dondra Bay) ในรูฮูนา (Ruhuna) ตั้งอยู่ทางปลายสุดศรีลังกา ที่ถูกผู้เชี่ยวชาญประณามได้กลายเป็นข้อพิสูจน์อย่างแน่นหนาว่า ปักกิ่งใช้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อทำให้ศรีลังกาตกอยู่ในบ่วงหนี้โปรเจกต์โครงสร้างพื้นฐานพันล้านอย่างถอนตัวไม่ขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของปักกิ่ง   สถานีรับสัญญาณดาวเทียมเป็นของสถาบันวิจัยข้อมูลอวกาศ AIR (Aerospace Information Research Institute) ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน CAS สื่ออังกฤษชี้ว่า ปักกิ่งสามารถใช้ฐานเรดาร์ลับใหม่นี้ที่มีที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญในทางปลายแหลมของศรีลังกาเพื่อการเพิ่มศักยภาพในการสอดแนมปฏิบัติการข่าวกรองของตัวเองต่อการเคลื่อนไหวเรือรบโลกตะวันตกในมหาสมุทรอินเดีย   และที่ร้ายแรงกว่านั้นมันจะเป็นการเปิดโอกาสให้จีนสามารถสอดแนมที่ตั้งทางการทหารสหรัฐฯ และอังกฤษตั้งอยู่ในดินแดนอาณานิคมอังกฤษกลางมหาสมุทรอินเดีย ดิเอโก การ์เซีย (Diego Garcia) และอินเดีย…

โปแลนด์จับกุมเครือข่ายสายลับรัสเซีย สอดแนม-วางแผนก่อวินาศกรรม

Loading

    โปแลนด์ทลายเครือข่ายสายลับรัสเซีย ที่คอยสอดแนมการขนส่งเสบียงให้ยูเครน รวมทั้งพบว่า คนกลุ่มนี้กำลังวางแผนก่อวินาศกรรมด้วย   เมื่อวันพุธที่ 15 มี.ค. 2566 สถานีวิทยุ RMF FM ในประเทศโปแลนด์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานความมั่นคงภายใน (ABW) ของประเทศสามารถทลายเครือข่ายสายลับที่ทำให้กับรัสเซียได้ โดยมีชาวต่างชาติถูกจับกุม 6 รายในฐานะผู้ต้องสงสัย ติดตั้งกล้องลับเพื่อบันทึกภาพกระบวนการขนส่งความช่วยเหลือไปยังยูเครน และกำลังวางแผนก่อวินาศกรรม   RMF FM รายงานโดยอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่รัฐบาลโปแลนด์ 2 คนว่า สายลับกลุ่มนี้ติดตั้งกล้องลับหลายสิบตัวเอาไว้ตามสถานีรถไฟชุมทาง และตามเส้นทางการขนส่งสำคัญในจังหวัด พอดการ์แพ็คกี ของโปแลนด์ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับยูเครน   ขณะที่กล้องบางตัวถูกพบใกล้กับสนามบินภูมิภาคขนาดเล็กชื่อ เซสซอว์-จาชิออนกา (Rzeszow-Jasionka) ที่ถูกเปลี่ยนแปลงศูนย์กลางการขนส่งสิ่งของช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม และความช่วยเหลือทางกองทัพให้แก่ยูเครน และมีเครื่องบินขนส่งและเครื่องบินกองทัพจากสหรัฐฯ และชาติยุโรปบินเข้าออกเป็นประจำ   สนามบินแห่งนี้ยังถูกสหรัฐฯ จัดเป็นสถานที่อ่อนไหว และส่งระบบมิสไซล์ป้องกันทางอากาศ ‘แพทริออต’ มาคุ้มกัน และประธานาธิบดี โจ ไบเดน ก็เดินทางมายังสนามบิน เซสชอว์-จาชิออนกา ก่อนจะเดินทางต่อไปยังกรุงเคียฟของโปแลนด์เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา…