เงินหาย ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ ที่แท้ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน

Loading

    เงินหาย ที่แท้ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ แต่ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน ยืนยันว่าสายชาร์จดูดข้อมูลมีจริง แต่ไม่สามารถดูดเงินในบัญชีได้   18 ม.ค. 2566 – จากกรณี นายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด นำผู้เสียหายร้องเรียนต่อสื่อมวลชน หลังถูกกลุ่มมิจฉาชีพแฮ็กข้อมูลโทรศัพท์มือถือ โอนเงินออกไปจากบัญชี ผู้เสียหายรายหนึ่ง เล่าว่า ได้ชาร์จมือถือทิ้งไว้ จู่ ๆ มีข้อความจากธนาคารแจ้งมาว่า มีการโอนเงินจากแอปพลิเคชันธนาคารตนเอง ออกไป 100,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกรรมอะไรเลย โดยโทรศัพท์ทั้งหมดที่ถูกแฮ็กนั้น เป็นโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีผู้เสียหายมากกว่า 10 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีหลายฝ่ายคาดว่าอาจถูกสายชาร์จมือถือ ดูดเงินออกจากแอปพลิเคชันบัญชีนั้น   ความคืบหน้าล่าสุด พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า ได้รับรายงานจาก พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ว่า จากการตรวจสอบเครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย…

อยู่ยากแล้ว! พบมิจฉาชีพแปลง “สายชาร์จมือถือ” ดูดข้อมูล เลี่ยงยืมสายคนแปลกหน้า

Loading

  เตือนภัยผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ เลี่ยงการยืมสายชาร์จโทรศัพท์คนแปลกหน้า หลังพบกลุ่มมิจฉาชีพแปลงสายชาร์จดูดข้อมูลจากโทรศัพท์ได้   เมื่อวันที่ 14 ม.ค. Drama-addict ออกมาโพสต์ข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับกลุ่มมิจฉาชีพ หลังล่าสุดพบว่ามีแฮกเกอร์หัวใสดัดแปลงสายชาร์จให้ดูดข้อมูลได้ ฉะนั้นควรเลี่ยงยืมสายชาร์จของคนไม่รู้จักมาชาร์จมือถือ โดยระบุไว้อย่างละเอียดว่า   ตามภาพนี้ คือ สายชาร์จไอโฟนที่ทีมแฮกเกอร์ดัดแปลงข้างในให้สามารถดูดข้อมูลจากเครื่องเหยื่อได้ สมมุติมีคนใช้สายนี้เสียบชาร์จ ก็จะสามารถดูดข้อมูลในเครื่องนั้นได้ โดยตัวสายมันจะมีอุปกรณ์ในการดักจับข้อมูล   ถ้าเหยื่อพิมพ์ข้อมูล รหัสผ่าน อะไรพวกนี้ มันก็จะถูกส่งข้อมูลผ่านระบบไร้สายไปเข้าคอมพิวเตอร์ของมิจฉาชีพได้ ในภาพเป็นเวอร์ชันปี 2019 ตอนนี้ผ่านมาสามสี่ปี มีรุ่นใหม่ๆ ออกมาขายหลายชนิด มีแบบ USB-C ด้วย และวิธีการก็แนบเนียนขึ้น   ดังนั้น ฝากพ่อแม่พี่น้อง ตอนนี้มิจฉาชีพมาทุกรูปแบบ และสายชาร์จของมิจฉาชีพนี่ก็มีขายทั่วไปในท้องตลาด หน้าตาภายนอกแยกจากสายชาร์จไม่ออก ดังนั้นเวลาจะชาร์จมือถือใช้สายใครสายมัน อย่ายืมสายคนแปลกหน้ามาใช้   นอกจากนี้ยังพบอีกว่ามีมิจฉาชีพกลุ่มเดียวกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ปลอมเว็บสรรพากร รอบนี้มันปลอมเว็บ advice ซึ่งเป็นเว็บเกี่ยวกับการขายอุปกรณ์ไอทีทักไปหาเหยื่อ หลอกให้เข้าเว็บปลอม เพื่อโหลดแอปฯ มิจฉาชีพลงเครื่องก่อนปล้นทรัพย์ ซึ่งผู้ใช้โทรศัพท์จำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น และติดตามข่าวสารความคืบหน้าเกี่ยวกับกลุ่มมิจฉาชีพอยู่ตลอด      …