สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ

Loading

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่ของผู้ประกอบการและหน่วยงานของรัฐซึ่งมีฐานะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงกำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มีการบัญญัติถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ 8 ประการ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. สิทธิในการถอนความยินยอม (Right to withdraw consent) เจ้าของข้อมูลจะใช้สิทธิในการถอนความยินยอมได้เมื่อมีการประมวลผลข้อมูลโดยใช้ฐานความยินยอมเท่านั้น โดยเจ้าของข้อมูลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้หากไม่มีข้อจำกัดสิทธิ และวิธีการถอนความยินยอมต้องง่ายในระดับเดียวกับวิธีการขอความยินยอม เมื่อเจ้าของข้อมูลถอนความยินยอมแล้ว ผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องแจ้งถึงผลกระทบจากการถอนความยินยอมและต้องยุติการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว 2. สิทธิในการได้รับแจ้งข้อมูล (Right to be informed) เจ้าของข้อมูลมีสิทธิได้รับแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่แจ้งถึงวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม ระยะเวลาในการเก็บรวบรวม ช่องทางในการติดต่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น และในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลจะทำการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการประมวลผลภายหลัง ผู้ควบคุมข้อมูลต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงวัตถุประสงค์ใหม่ด้วย 3. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access) เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูล เช่น หนังสือรับรองการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น รวมทั้งมีสิทธิขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้เป็นผู้ให้ความยินยอม เมื่อเจ้าของข้อมูลใช้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องดำเนินการตามคำขอและผู้ควบคุมข้อมูลสามารถปฏิเสธคำขอได้ในกรณีที่กฎหมายอื่นกำหนดถึงเหตุปฏิเสธการใช้สิทธินั้น หรือการเข้าถึงและรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น 4. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (Right to rectification)…