จีนกวาดล้างโพสต์โซเชียลมีเดียกว่า 1.4 ล้านรายการ

Loading

    หน่วยงานกำกับดูแลไซเบอร์สเปซของจีนกล่าวว่า โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ 1.4 ล้านโพสต์ถูกลบ หลังจากการสอบสวนเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน การแสวงหาผลกำไรที่ผิดกฎหมาย และการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเวลา 2 เดือน   หน่วยงานกำกับดูแลบริหารไซเบอร์สเปซของจีน หรือ ซีเอซี กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ว่า ได้ปิดบัญชีโซเชียลมีเดีย 67,000 บัญชี และลบโพสต์หลายแสนรายการระหว่างวันที่ 10 มีนาคม ถึง 22 พฤษภาคม โดยนับตั้งแต่ปี 2564 จีนได้กำหนดเป้าหมายบัญชีโซเชียลมีเดียหลายพันล้านบัญชี เพื่อพยายาม “ทำความสะอาด” พื้นที่ไซเบอร์สเปซของตน และทำให้ทางการสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น   การปราบปรามครั้งล่าสุดมุ่งเป้าไปที่บัญชีบนแอปโซเชียลมีเดียยอดนิยมของจีน เช่น วีแชต (WeChat), โต่วอิน (Douyin) และ เว่ยป๋อ (Weibo) ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของสื่อที่เผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลทั่วไป แต่ไม่ได้ดำเนินการ หรือได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลหรือรัฐ   ทางการมักจับกุมพลเมืองและเซนเซอร์บัญชีสำหรับการเผยแพร่หรือแบ่งปันข้อมูลและข้อเท็จจริง ที่มีความละเอียดอ่อน หรือวิพากษ์วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์ รัฐบาล หรือกองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลดังกล่าวถูกเผยแพร่ในวงกว้าง   ตามรายงานของซีเอซี…

‘ยิ่งปะทุ!’ ช่วงเลือกตั้ง ‘ถ้อยคำอันตราย’ ระวัง ‘ฟื้นไฟรุนแรง?’

Loading

    “ข้อความหรือถ้อยคำอันตราย (Dangerous Speech) เป็นประเด็นสากลไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย โดยเรื่องนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบในแง่ลบ ตั้งแต่การบั่นทอนบรรทัดฐานของสังคม จนถึงขั้นเลวร้ายที่สุดคือการนำไปสู่ความรุนแรง”   …นี่เป็นการระบุไว้โดยผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ที่สะท้อนถึง “ปัญหาจากข้อความอันตราย” โดยเรื่องนี้มีการระบุไว้บน เวทีนักคิดดิจิทัล Digital Thinkers Forum ครั้งที่ 25 ที่ใช้ชื่อหัวข้อว่า “ตรวจสอบข้อความอันตรายบนโลกออนไลน์” ซึ่งจัดโดย Cofact – โคแฟค (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย เมื่อปลายเดือน เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา   ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องต้องกันในเรื่องนี้…   “Dangerous Speech” เป็นปัญหาสำคัญ   ที่ “สร้างผลกระทบเชิงลบให้สังคมมาก”   รายละเอียดเรื่องนี้ ที่ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูลในวันนี้ มีหลายประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ “ปัญหาจากข้อความหรือถ้อยคำอันตราย” โดยเฉพาะบน “สื่อสังคมออนไลน์” ที่นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้มีการสะท้อนถึงมิติเรื่องนี้ไว้ในหลาย ๆ มุมมอง อาทิ สุภิญญา…

รัฐแรกในแดนมะกัน ‘ยูทาห์’ ผ่าน กม. เด็กใช้โซเชียลต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่

Loading

The Salt Lake Tribune via AP   รัฐแรกในแดนมะกัน ‘ยูทาห์’ ผ่าน กม. เด็กใช้โซเชียลต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่   สำนักข่าวเอพีและเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม นายสเปนเซอร์ ค็อกซ์ ผู้ว่าการรัฐยูทาห์ ได้ลงนามรับรองร่างกฎหมายจำนวน 2 ฉบับ ที่ระบุให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองในการใช้งานโซเชียลมีเดีย ทำให้เป็นรัฐแรกในสหรัฐที่ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวขณะที่อีกหลายรัฐกำลังพิจารณาที่จะเสนอร่างกฎหมายในลักษณะเดียวกัน   กฎหมายดังกล่าวยังระบุไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ใช้โซเชียลมีเดียในช่วงระหว่าง 22.30 น. ถึงเวลา 06.30 น. และกำหนดให้บริษัทโซเชียลมีเดียยินยอมให้ผู้ปกครองสามารถเข้าบัญชีผู้ใช้งานของลูกได้ โดยกฎหมายดังกล่าวจะเริ่มมีผลในเดือนมีนาคม 2024 และถูกเสนอขึ้นมาเพื่อรับมือกับข้อกังวลว่าเยาวชนเสพติดการใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น และความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เช่น การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ และการแอบเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานเด็ก   ค็อกซ์โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ว่า “เราจะไม่ยอมให้บริษัทโซเชียลมีเดียทำลายสุขภาพจิตของเยาวชนของเราอีกต่อไป” กฎหมายนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของเด็กสามารถฟ้องร้องบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโซเชียลมีเดียจากความเสียหายทางด้านการเงิน ร่างกาย และจิตใจจากการใช้โซเชียลมีเดีย ได้ง่ายขึ้น   นายจอร์แดน…

9 สัญญาณการเมืองไทย…อันตรายบนโลกไซเบอร์!

Loading

  ใกล้ยุบสภาและใกล้เลือกตั้งเข้ามาทุกที นับจากนี้ไปก็เหลืออีกไม่ถึง 60 วันก็จะต้องไปเข้าคูหาหย่อนบัตรกันแล้ว   “ทีมข่าวอิศรา” พาคุณผู้อ่านไปดูสถานการณ์การหาเสียงโดยใช้ “โซเชียลมีเดีย” ซึ่งปัจจุบันนักการเมืองและพรรคการเมืองใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักในการหาคะแนน   แต่โซเชียลมีเดีย หรือสื่อสังคมออนไลน์ หลายคนคงทราบดีว่าแม้จะมี “คุณอนันต์” แต่ก็มี “โทษมหันต์” ด้วยเช่นกัน จึงมีหลายเรื่องที่ประชาชนอย่างเราๆ ต้องรู้เท่าทัน   ที่สำคัญโลกโซเชียลฯ มีทั้งเรื่องจริง เรื่องเท็จ เรื่องสร้างภาพ สร้างกระแส ปะปนกันจนเละตุ้มเป๊ะ   และต้องไม่ลืมว่าโลกไซเบอร์นั้น ข่าวจริงเดินทางช้ากว่าข่าวเท็จถึง 6 เท่า จึงมีคนตกเป็นเหยื่อ เสียท่า มากกว่าคนที่รู้เท่ากัน   พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร เขียนบทความวิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ   @@ “จับสัญญาณแปลกๆ ในโลกโซเชียลฯ ก่อนเลือกตั้ง 2566”   ประเด็นแรก ผลจากการเสพข่าวการเมือง โดยเฉพาะผ่านทางโซเชียลฯ   -ผลการศึกษาของนักการสื่อสารพบว่า การเสพข่าวการเมืองมากเกินไป จะทำให้ความเชื่อว่ามนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อตัวเอง และไม่มีความจริงใจ…

ดีมากกว่าเสีย? ‘เฟซบุ๊ก’ เก็บเงินยืนยันตัวตน ช่วยแยกเพจปลอมคนดังที่ถูกแอบอ้างได้

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ ชี้ เฟซบุ๊กเก็บเงินค่ายืนยันตัวตน ช่วยให้รู้ว่าเพจไหนปลอมเพจไหนจริง แต่หวั่นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ต้องใช้บัตรประชาชนสมัคร ระบุต้องอยู่ภายใต้ ก.ม.พีดีพีเอ   ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การที่เฟซบุ๊กจะเก็บค่าบริการ ใช้สัญลักษณ์รับรองบัญชีอย่างเป็นทางการ (Meta Verified) ประมาณ 400-500 บาทต่อเดือน นั้น จะช่วยให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก รู้ว่าเพจไหนเป็นเพจจริงหรือปลอม หลังจากปัจจุบันจะพบปัญหาเพจปลอมจำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่มีชื่อเสียงถูกปลอมหรือแอบอ้างทำเพจปลอมจำนวนมาก ผู้มีชื่อเสียงบางคนถูกนำรูปและข้อมูลไปปลอมเพจมีเป็นสิบเป็นร้อยเพจ ถ้ามีการยืนยันมีเครื่องหมายถูก ก็จะช่วยให้คนที่ใช้งาน รู้ว่าเพจไหนปลอมหรือจริง ช่วยให้ไม่ถูกหลอก   “สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การสมัครบริการ จะต้องใช้บัตรประชาชน หรือเอกสารราชการนั้น ทางเฟซบุ๊ก ก็ต้องดำเนินการ ตามกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของประเทศไทย ต้องดูแลข้อมูล ไม่ให้เกิดการรั่วไหล และหากเกิดรั่วไหลก็ต้องมีความรับผิดชอบตามกฎหมายประเเทศไทย แต่ที่ผ่านมาผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม จากต่างประเทศเหล่านี้มักอ้างว่า ไม่มีออฟฟิศ หรือสำนักงานในไทย ซึ่งจะทำให้การเอาผิดตามกฎหมายทำได้อยาก ส่งผลให้ไทยไม่มีอธิปไตยไซเบอร์ ที่ไม่สามารถเอาผิดแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ตามกฎหมาย”   ดร.ปริญญา กล่าวต่อว่า การให้บริการนี้ทางเฟซบุ๊ก บอกว่าจะให้บริการในการติดต่อเจ้าหน้าที่ที่รวดเร็วขึ้นหากเกิดปัญหา ถือเป็นพรีเมียมเซอร์วิส แต่ที่จริงควรจะดำเนินการให้กับทุกคนไม่เฉพาะที่ต้องจ่ายเงิน และต้องดูว่า เมื่อมีการจ่ายเงินไปแล้ว จะได้รับบริการเร็วตามที่อ้างหรือไม่ หากมีคนยอมจ่ายเป็นล้านคนจะได้บริการที่รวดเร็วหรือไม่ ต้องดูว่าประสบการณ์ หลังการจ่ายเงินแล้วจะเป็นตามที่โฆษณาหรือไม่ โดยมองว่าบริการนี้จะมีคนจ่ายเฉพาะคนดัง…

กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อขายสินค้า

Loading

  ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในปัจจุบันสังคมไทยมีการใช้ สื่อสังคมออนไลน์ ในรูปแบบที่หลากหลาย เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่จำกัดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้ต่อยอด ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง   เมื่อพิจารณาในแง่ของการควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีรูปแบบในการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ที่อาจยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ   หนึ่งในประเด็นที่ผู้เขียนอยากนำเสนอ สำหรับการเข้าควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเกินจำเป็น คือ การเข้าควบคุมการขายของออนไลน์ผ่านสื่อสังคมอออนไลน์ต่าง ๆ     เมื่อพิจารณากฎหมายในการควบคุมการขายของออนไลน์ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีบทบัญญัติกฎหมายที่เข้าควบคุมการขายของออนไลน์ ด้วยการแพร่ภาพผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับในอีกหลายประเทศ   ทำให้รูปแบบในการขายของออนไลน์ผ่านสื่อโซเชียลในบางครั้ง มีการใช้พฤติกรรมที่มีลักษณะส่อไปทางอนาจาร หรือมีการใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย ไม่เหมาะสม อาจเป็นแบบอย่างที่ไม่ถูกต้องต่อผู้บริโภคและนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ   หากไม่มีกฎหมายที่ควบคุมการแพร่ภาพดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในประเทศไทยในระยะยาว ในขณะที่ในหลายประเทศได้ออกกฎหมาย เพื่อควบคุมกิจกรรมบางอย่างบนสื่อสังคมออนไลน์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่อาจเป็นการละเมิดต่อสิทธิของเด็ก หรือมีลักษณะเป็นการก่อการร้าย หรือมีลักษณะเป็นการกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน     ผู้เขียนจะยกกฎหมายของต่างประเทศที่น่าสนใจ ในการควบคุมกิจกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะนี้ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส และจีน   ในประเทศเยอรมนีมีพระราชบัญญัติตรวจสอบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (NetzDG) ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต้องตรวจสอบเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมและติดตามลบเนื้อหาที่เกี่ยวพันกับการก่อการร้าย การละเมิดสิทธิของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการลามกอนาจาร และจะต้องรายงานไปยังสำนักงานยุติธรรมแห่งเยอรมัน   ในส่วนของประเทศฝรั่งเศสนั้นมีพระราชบัญญัติควบคุมระบบเศรษฐกิจดิจิทัล…