สภาคองเกรสสหรัฐร้องบริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่เก็บหลักฐานอาชญากรรมสงครามในยูเครน

Loading

  สมาชิกสภาคองเกรสระดับสูง 4 รายจากพรรคเดโมแครต ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการถึงซีอีโอของบริษัทยูทูบ ติ๊กต็อก ทวิตเตอร์ และเมตา ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก เพื่อขอให้บริษัทดังกล่าวเก็บคอนเทนต์ที่อาจใช้เป็นหลักฐานการก่ออาชญากรรมสงครามของรัสเซียในยูเครน   จดหมายที่ยื่นถึงนายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ (Meta Platforms) มีใจความว่า “สาเหตุที่เราเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นมาก็เพื่อสนับสนุนให้เมตาดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลและบันทึกคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่มีการแชร์ในแพลตฟอร์มของตนเอง ซึ่งอาจใช้เป็นหลักฐานให้กับรัฐบาลสหรัฐ องค์การสิทธิมนุษยชน และหน่วยงานที่เฝ้าระวังระหว่างประเทศในการสอบสวนเรื่องอาชญากรรมสงครามของรัสเซีย อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และความโหดร้ายอื่น ๆ ในยูเครน”   สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า คำร้องดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากมีหลักฐานที่อาจเป็นการก่ออาชญากรรมสงครามของรัสเซียแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่อง โดยในวันพุธ (11 พ.ค.) อัยการสูงสุดของยูเครนประกาศทางเฟซบุ๊กว่า ได้เริ่มการสอบสวนทหารรัสเซียในความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงครามเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มรุกรานยูเครนในเดือนก.พ.   สมาชิกสภาคองเกรสทั้ง 4 รายเรียกร้องบริษัทโซเชียลมีเดียเป็นพิเศษให้ “ทำเครื่องหมายสำคัญหรือเน้นสิ่งที่อาจเป็นหลักฐานของอาชญากรรมสงครามและเหตุการณ์อันโหดร้ายอื่น ๆ ในยูเครน”     —————————————————————————————————————————————————— ที่มา :   สำนักข่าวอินโฟเควสท์         …

Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม/Cool Tech จิตต์สุภา ฉิน

Loading

Delete Remove Trash Can Application Graphic Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม   เมื่อชีวิตของเราผูกพันกับอินเตอร์เน็ตไปในทุกแง่มุม ทั้งเรื่องงานไปจนถึงเรื่องส่วนตัวจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยหากข้อมูลส่วนตัวบางอย่างของเราอาจจะถูกเผยแพร่ออกไปบนโลกอินเตอร์เน็ตโดยที่เราไม่รู้ตัว   ซ้ำร้ายไปกว่านั้นหากข้อมูลส่วนตัวที่ว่าไปปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาของ Google ด้วย ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่ข้อมูลของเราจะถูกหยิบฉวยไปใช้ให้กลับมาเป็นโทษต่อตัวเราเองได้   Right to be forgotten หรือสิทธิที่จะถูกลืมเป็นแนวคิดที่มีการพูดถึงและใช้จริงมานานหลายปีแล้ว   สิทธินี้หมายถึงการที่เจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินเรื่องร้องขอให้มีการปลดข้อมูลส่วนตัวของตัวเองลงจากผลลัพธ์การค้นหาบนอินเตอร์เน็ตได้   ลองนึกดูว่าหากช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเราเคยตัดสินใจผิดพลาด อาจจะด้วยความเยาว์ในช่วงเวลานั้นหรือการถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายให้เสียหายและมีหลักฐานปรากฏหราอยู่บนอินเตอร์เน็ต ทุกครั้งที่มีคนเสิร์ชชื่อเราซึ่งอาจจะเป็นนายจ้างขององค์กรที่เราไปยื่นใบสมัครงานไว้ หรือแม้กระทั่งคนที่เรากำลังจะไปออกเดตด้วย ผลลัพธ์การค้นหาที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวชีวิตที่น่าอายของเราก็จะปรากฏขึ้นมาให้คนเหล่านั้นได้เห็นก่อนที่พวกเขาจะได้สัมผัสถึงตัวตนที่แท้จริงของเราเสียด้วยซ้ำ   สิทธิที่จะถูกลืมคือการหยิบยื่นโอกาสในการลบอดีตอันน่าอายและไม่เป็นธรรมของเราทิ้งไปและทำให้เราใช้ชีวิตต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยหวาดระแวงอยู่เสมอ   การปลดข้อมูลที่เราต้องการลืมทิ้งไปไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถยื่นเรื่องเพื่อบังคับให้เว็บไซต์ต้นตอลบข้อมูลของเราทิ้งได้ แต่เป็นการขอให้เสิร์ชเอนจิ้นซึ่งรายใหญ่ที่สุดก็คือ Google ช่วยปลดลิงค์เหล่านั้นออกไม่ให้ปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาอีกต่อไป   ดังนั้น แม้เว็บไซต์ต้นทางจะยังอยู่ แต่เวลาใครค้นหาชื่อเรา ลิงค์นั้นก็จะไม่ปรากฏขึ้นมาให้คลิกเข้าไปดูได้อีกต่อไป   กรณีที่มีการหยิบยกสิทธิในการถูกลืมมาพูดถึงบ่อยๆ ก็อย่างเช่น สิ่งที่เรียกว่า revenge porn หรือการที่แฟนเก่านำภาพลับในตอนที่ยังคบกันออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยไม่ได้รับการยินยอม สร้างความอับอายและเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับคนๆ นั้น สิทธิที่จะถูกลืมจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเหยื่อกลุ่มนี้ได้…

ศรีลังกา แบนสื่อสังคมออนไลน์ หลังประกาศเคอร์ฟิวคุมม็อบ

Loading

  รัฐบาลศรีลังกาสั่งการให้ตัดการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ปิดทางการสื่อสาร ในช่วงเวลาที่ประเทศเกาะในเอเชียใต้แห่งนี้ประกาศเคอร์ฟิวเพื่อคุมการประท้วงของประชาชนที่ไม่พอใจกับปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังเกาะกินประเทศอย่างหนัก ประเทศศรีลังกา กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นอื่นๆ พร้อมๆ กับปัญหาราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น และการต้องตัดไฟลงเป็นเวลานานกว่า 10 ชั่วโมงเนื่องจากขาดแคลนน้ำมันดีเซลที่ใช้ในการปั่นไฟ ขณะที่ประธานาธิบดีโคฐาภยะ ราชปักษะ ต้องประกาศเคอร์ฟิวหลังจากกลุ่มผู้ประท้วงพยายามบุกเข้าไปในบ้านพักในกรุงโคลอมโบ มีผลจนถึงวันที่ 4 เมษายนนี้     สำนักข่าว Ada Derana สื่อท้องถิ่นศรีลังกา สื่อกระบอกเสียงของรัฐบาลรายงานว่า เฟซบุ๊ก , ยูทูบ , ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม และ วอทส์แอพพ์ เป็นหนึ่งในหลายๆ แพลตฟอร์มที่ถูกตัดการเข้าถึงโดยผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศ โดยมาตรการดังกล่าวเป็นไปตามคำสั่งของกระทรวงกลาโหมศรีลังกา   ทั้งนี้ก่อนหน้าการประกาศตัดการเข้าถึงดังกล่าว กลุ่มแกนนำประท้วงได้มีการนัดหมายชุมนุมประท้วงในวันที่ 3 เมษายน ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์หลายแพลตฟอร์ม ขณะที่ในคืนวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมามีประชาชนหลายร้อยคนที่ไม่สนคำสั่งเคอร์ฟิว ออกมาชุมนุมเป็นกลุ่มเล็กๆ ในหลายจุด     ที่มา :…

ถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไรเช็กเลยที่นี่

Loading

  สตช.เผยวิธีการหากถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไร พร้อมเตือนคนโกงหากปลอมแปลงเอกสารมีโทษหนักคุก 3 ปี ปรับ 6 หมื่น   เมื่อ 26 มี.ค. 65 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กล่าวว่า ขอเตือนภัยกรณีมีสื่อสังคมออนไลน์นำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชนหรือข้อมูลส่วนตัวไปซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีความห่วงใยต่อภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ที่หลอกลวงสร้างความเสียหายให้กับประชาชน โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย   ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จึงได้กำชับและสั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัดที่เกี่ยวข้องทำการสืบสวนสอบสวน จับกุม ปราบปรามภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ทุกรูปแบบตามกฎหมายอย่างจริงจัง มีผลการปฎิบัติเป็นรูปธรรม รวมถึงสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงภัยดังกล่าวและแนวทางในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย   ดังเช่น กรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการนำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชน หรือข้อมูลส่วนตัวไปใช้ สำหรับซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งอาจจะถูกมิจฉาชีพปลอมลายมือชื่อลงในสำเนาบัตรประชาชนแล้วนำไปใช้ในการกระทำความผิด หรือหลอกลวงผู้อื่น หากมีการแก้ไขข้อความในช่องชื่อ นามสกุล วันออกบัตร หรือวันหมดอายุ ลงในสำเนาบัตรประชาชน ไม่ว่าจะนำไปถ่ายสำเนาใหม่อีกครั้ง…

ร่างกม.อังกฤษ กำหนดโทษจำคุกผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยี

Loading

FILE – This combination of photos shows logos for social media platforms Facebook and Twitter.   สำนักข่าว เอพี รายงานว่า รัฐบาลอังกฤษกำลังนำเสนอร่างกฎหมายใหม่ที่มีจุดประสงค์ที่จะสร้างความปลอดภัยให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ด้วยการนำเสนอบทลงโทษจำคุกสำหรับผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายที่ทำการหละหลวมไม่ปฏิบัติตามแนวทางใหม่นี้   รัฐบาลอังกฤษ เปิดเผยในวันพฤหัสบดีว่า ร่างกฎหมายใหม่ที่ว่านี้จะให้อำนาจที่มากขึ้นแก่หน่วยงานกำกับดูแลกิจการเทคโนโลยี ในการดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น กูเกิล (Google) เฟซบุ๊ก (Facebook) ทวิตเตอร์ (Twitter) และติ๊กตอก (TikTok) เป็นต้น   เอพี ระบุว่า ร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในโลกออนไลน์นี้ สะท้อนให้เห็นถึงจุดยืนของสหราชอาณาจักรในการเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวในการเข้าควบคุมอำนาจของสื่อดิจิทัลทั้งหลาย และจัดการให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องมีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาข้อมูลที่เป็นภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก เนื้อหาที่มีลักษณะเหยียดเชื้อชาติ การกลั่นแกล้ง การฉ้อโกงต่างๆ รวมทั้ง เนื้อหาอื่นๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและปรากฏอยู่ในแพลตฟอร์มของตน หลังจากที่สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ได้เดินหน้าความพยายามเช่นเดียวกันนี้ไปแล้ว   นาดีน ดอร์รีส…

คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทักษะที่จำเป็น บนโลกออนไลน์

Loading

  การรับมือข้อมูลหลอกลวงและข่าวปลอม ที่แชร์อยู่ในโลกออนไลน์นั้น เราต้องวิเคราะห์และตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนทุกครั้งที่จะแชร์ข่าวเท็จ หรือนำเสนอต่อบุคคลอื่น ในปัจจุบัน ในแต่ละนาทีมีข่าวสารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต่างกับอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างสิ้นเชิง เราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางและรวดเร็วมากกว่าในอดีต เช่น จากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นมาจากหลายแหล่งที่มา ทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับข่าวสารจำนวนมากอาจไม่สามารถวิเคราะห์และการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับว่าจริงหรือปลอม จึงหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมทั้งอาจมีส่วนร่วมในการสร้างความเสียหายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยแชร์ข่าวเท็จหรือแบ่งปันข้อมูลเท็จที่ได้รับ การแชร์ข้อมูลเท็จที่ได้รับมานั้น สร้างความเสียหายและผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลผู้แชร์ข้อมูล หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง ทำให้ความน่าเชื่อถือของตนเองลดลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ส่งผลให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและเสียค่าปรับต่างๆ หรือกระจายข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ผู้อื่นหลงกรอกข้อมูลหรือเป็นเหยื่อจากลิงก์หรือข่าวที่เราแชร์   ดังนั้น เราต้องมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ข่าวปลอมนั้นมีลักษณะและมีช่องทางที่มาอย่างไร โดยทั่วไป ลักษณะและการหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ มีดังนี้ 1.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเพิ่มองค์ประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อ ประเด็นความน่าสนใจโดยส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเชิงลบ เพื่อสร้างกระแสและเป็นประเด็นในวงกว้าง และสร้างความอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไป เช่น “คิดอย่างไรกับสถานการณ์นี้” หรือ “พบสมุนไพรไทยช่วยต้านโควิด-19” 2.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นจะชักนำไปในเรื่องของความเชื่อเพื่อเล่นกับความรู้สึกของบุคคล เพราะโดยทั่วไปพฤติกรรมของคนมักแบ่งการรับรู้ออกเป็นสองด้าน เช่น ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 3.เป็นข่าวที่มีผลกระทบกับความเชื่อมั่น แบ่งแยกมุมมองและสื่อสารไปกับเฉพาะกลุ่ม โดยเป็นข่าวสารหรือข้อมูลตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลเก่าที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนำมาสร้างกระแสใหม่ เพื่อสร้างผลกระทบต่อคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ อีกครั้ง…