ปลอดภัยหรือเสี่ยงภัย? เมื่อสแกนใบหน้าถูกใช้รับมืออาชญากรรม
เชื่อว่าทุกท่านคุ้นเคยกับเทคโนโลยี จดจำใบหน้า หรือ สแกนใบหน้า ไม่มากก็น้อย หลายประเทศเริ่มนำระบบนี้มารักษาความปลอดภัย แต่นำมาสู่การตั้งคำถามด้านความปลอดภัยเช่นกัน
เชื่อว่าทุกท่านคุ้นเคยกับเทคโนโลยี จดจำใบหน้า หรือ สแกนใบหน้า ไม่มากก็น้อย หลายประเทศเริ่มนำระบบนี้มารักษาความปลอดภัย แต่นำมาสู่การตั้งคำถามด้านความปลอดภัยเช่นกัน
สหภาพยุโรป (EU) เลื่อนใช้ระบบใหม่ในการตรวจสอบตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพหรือไบโอเมตริก (biometric entry-check system) สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองใน EU ซึ่งเดิมมีกำหนดจะเริ่มใช้ในวันที่ 10 พ.ย.นี้ หลังจากเยอรมนี ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ระบุว่า ยังไม่มีความพร้อมเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสอบคนเข้าเมืองด้วยระบบดังกล่าว
การสแกนใบหน้าเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน โดยบริการที่ใช้มากเป็น อันดับต้นๆ หนีไม่พ้นบริการทางการเงินผ่าน Mobile Banking แต่ความล้ำเหล่านี้ก็เป็นดาบหลายคม เพราะได้กลายเป็นช่องว่างให้มิจฉาชีพเข้ามาฉวยโอกาสหลอกเหยื่อตามที่เป็นข่าว สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมผลักดันให้คนไทยเข้าใจมีการใช้งาน ตลอดจนตระหนักในการใช้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่านกิจกรรมต่างๆ ทางออนไลน์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “Digital ID” เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น ปลุกคนไทยมั่นใจใช้ตัวตนดิจิทัล’ พร้อมไขข้อข้องใจว่าการใช้ Digital ID เชื่อถือได้แค่ไหน ทำความรู้จัก Digital ID หากบัตรประจำตัวประชาชน คือ เอกสารที่ใช้แสดงตนและยืนยันตัวตนในการติดต่อหรือทำธุรกรรมต่างๆ ในโลกออฟไลน์ Digital Identity หรือเรียกสั้นๆ ว่า ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) ก็เปรียบได้กับบัตรประชาชนในโลกออนไลน์ ที่ช่วยบอกว่า “เราเป็นใคร” เพื่อเปิดทางให้เราสามารถทำธุรกรรมออนไลน์หรือเข้าถึงการบริการต่างๆ จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เชื่อถือได้ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา โดย…
แอปทางรัฐ เปรียบเสมือนผู้ช่วยคนใหม่ที่รวบรวมบริการภาครัฐกว่า 149 รายการไว้บนมือถือของคุณ เพียงดาวน์โหลดแอปและลงทะเบียนใช้งาน ก็สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางไปที่หน่วยงาน ไม่ต้องรอคิว ไม่ต้องเสียเวลา
Tencent เผยโฉมบริการสแกนฝ่ามือในประเทศจีนใหม่ ช่วยให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพกกุญแจ กระเป๋าสตางค์ หรือกระทั่งโทรศัพท์ ก็เดินออกนอกบ้านตัวเปล่าได้ ด้วยเครื่องสแกนที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งมีเซ็นเซอร์ที่สามารถวิเคราะห์ลายนิ้วมือ และรูปแบบหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลได้
ธปท.ประสานธนาคารรัฐ-เอกชนดึงผู้ใช้ Mobile Banking ที่โอนเงินตั้งแต่ 5 หมื่นบาทต่อครั้ง 2 แสนบาทต่อวัน ติดต่อสาขาธนาคารเพื่อสแกนใบหน้าตัดวงจรภัยออนไลน์ ชี้แอปพลิเคชัน 7 แบงก์พร้อมบริการแล้ว 31 พ.ค.2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างผลักดันมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือภัยออนไลน์ ซึ่งในส่วนของภาคการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประสานสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์เอกชน เพื่อยกระดับมาตรการเพื่อความปลอดภัย โดยมีหลายมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การยกเลิกการแนบลิงค์เพื่อส่งข้อความสั้น (SMS) หรืออีเมลไปยังลูกค้า สำหรับอีกมาตรการที่จะเข้ามาช่วยให้ตัดวงจรภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้ธนาคารต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยในบริการผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือหรือ Mobile Banking ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. เป็นต้นมาธนาคารแต่ละแห่งได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ใช้บริการ Mobile Banking ที่จะมีการโอนเงินต่อครั้งตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และโอนยอดรวมต่อวันตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป และกรณีการเปลี่ยนวงเงินการทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป จะต้องไปทำการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว