ยุทธศาสตร์ข้อพิพาททะเลจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีนคืบไปอีก 1 ก้าว

Loading

เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมานี้ กฎระเบียบฝ่ายบริหารเพื่อการบังคับใช้กระบวนวิธีดำเนินการสำหรับหน่วยงานยามฝั่งต่างๆ (Administrative Law Enforcement Procedures for Coast Guard Agencies) ของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีผลบังคับใช้แล้ว โดยหน่วยงานยามฝั่งของจีนมีอำนาจจับและยึดเรือต่างชาติที่ต้องสงสัยว่ารุกล้ำเขตแดนทางทะเลของจีน

ชาวประมงฟิลิปปินส์กังวล หลังจีนวางทุ่นขวางพื้นที่พิพาท

Loading

สถานการณ์ในทะเลจีนใต้กลับมาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง หลังหน่วยยามชายฝั่งของฟิลิปปินส์ได้เปิดปฏิบัติการพิเศษรื้อถอนแนวกั้นลอยน้ำบริเวณสันดอนสการ์โบโรห์ที่ทางจีนนำไปติดตั้งไว้ เพื่อเปิดทางให้เรือประมงข้าไปในพื้นที่ หลังจากนั้นจีนได้ออกมาเปิดแถลงข่าว เตือนให้ฟิลิปปินส์หยุดการกระทำดังกล่าว โดยระบุว่าสันดอนสการ์โบโรห์อยู่ในเขตอธิปไตยของจีน

ชำแหละอดีต ปัจจุบัน อนาคต “ข้อพิพาททะเลจีนใต้” กับบทบาทของไทย

Loading

  เรียบเรียงปัญหา “ข้อพิพาททะเลจีนใต้” ที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์กำลังคุกรุ่น   “ทะเลจีนใต้” เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลกและสิ่งแวดล้อม และมีผลประโยชน์มหาศาลที่หลายประเทศจับจ้อง จนเกิดเป็นข้อพิพาทที่ดำเนินมายาวนานหลายสิบปี และย้อนไปได้นานนับร้อยนับพันปี ข้อพิพาททะเลจีนใต้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า จะเกิดผลกระทบอะไรกับประเทศไทยและอาเซียนบ้าง นำมาสู่การชำแหละสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้ในงานสัมมนาออนไลน์ “ไขปัญหาทะเลจีนใต้ ความหวัง ความจริง และท่าทีของสหรัฐอเมริกา”     โดยงานสัมมนาดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ สมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย สถานทูตอเมริกา และศูนย์เอเชียแปซิฟิกศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   ข้อพิพาททะเลจีนใต้คืออะไร รศ.ดร.ภูมิ มูลศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เท้าความให้ฟังว่า ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์บางส่วน และทั้งหมด บริเวณเหนือดินแดน และอธิปไตยในน่านน้ำทะเลจีนใต้ หมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) และหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) “พื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลจีนใต้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าทางทะเลที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ดังนั้น ทะเลจีนใต้จึงมีความสำคัญในมิติเชิงยุทธศาสตร์เชิงเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศอ้างกรรมสิทธิ์ และส่งผลไปสู่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีต” คณบดีกล่าว   ข้อมูลจาก ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) พบว่า…