ดีอีเอส เตือน! ระวังถูกหลอกโหลดสติกเกอร์ไลน์ จากมิจฉาชีพ

Loading

  ดีอีเอส แจ้งเตือนผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ระวังการโหลดสติกเกอร์ไลน์จากมิจฉาชีพ อาจโดนสวมสิทธ์ จากภัยไซเบอร์   นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพมีการชักชวนสมาชิกผู้ใช้แอปพลิเคชันสื่อสารและส่งข้อความไลน์ ให้โหลดสติกเกอร์จำนวนมาก อาทิ สติกเกอร์ปีใหม่ สติกเกอร์การ์ตูน ดีอีเอส ได้มีการติดตามผู้กระทำความผิดผ่านไลน์และได้รับแจ้งข้อมูลจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวนมาก ในฐานะผู้กำกับดูแลและรับผิดชอบความมั่นคงปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตให้กับประชาชน   ขอแนะนำผู้ใช้ไลน์ทุกท่านตรวจสอบและระวังการโหลดสติกเกอร์ที่ไม่ได้มาจากผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์โดยตรง โดยมีข้อความที่ไม่น่าไว้วางใจ เช่น โหลดสติกเกอร์ฟรี หากท่านส่งข้อมูลให้กับเพื่อนครบจำนวน 10 คน   ทั้งนี้ การเชิญชวนการโหลดสติกเกอร์ดังกล่าว อาจมีการหลอกลวงให้ผู้ใช้ไลน์ใส่ชื่อ และรหัสการเข้าใช้ไลน์ รวมถึงข้อมูลส่วนตัว ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพ นำชื่อและรหัสการใช้งานของท่านไปทำธุรกรรมต่าง ๆ หรืออาจมีการสวมสิทธิ์เป็นท่านเพื่อกระทำผิดได้   นางสาวนพวรรณ กล่าวต่อว่า สติกเกอร์ที่ท่านสามารถดาวน์โหลดจากไลน์มี 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ 1. Sponsored Sticker > สติกเกอร์ฟรีที่ได้รับเมื่อเพิ่มบัญชีทางการของแบรนด์นั้น ๆ 2. Mission Sticker > สติกเกอร์ฟรีที่ได้รับเมื่อร่วมกิจกรรมทางการตลาดผ่านบัญชีทางการของแบรนด์นั้นๆ…

เจ้าหน้าที่ตำรวจ 10 ประเทศ ร่วมกับทลาย iSpoof บริการปลอมแปลงตัวตน

Loading

  @ หน่วยงานรักษากฎหมายจากหลายประเทศได้ร่วมกันทลายบริการสวมรอยเบอร์โทรศัพท์ (number spoofing) ที่เรียกว่า iSpoof และสามารถจับกุมผู้ต้องหา 142 คนที่มีความเชื่อมโยงกับปฏิบัติการในครั้งนี้   องค์การตำรวจยุโรป (Europol) เผยว่า iSpoof ให้บริการในการปลอมตัวตนเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือหรือบุคคลอื่นเพื่อล้วงข้อมูลส่วนบุคคลจากเหยื่อ   ในขณะที่ตำรวจนครบาลของสหราชอาณาจักรระบุว่า iSpoof สร้างความเสียหายทั่วโลกคิดเป็นเงินกว่า 115 ล้านปอนด์ (ราว 4,975 ล้านบาท) โดยในสหราชอาณาจักรประเทศเดียว น่าจะมีเหยื่อสูงถึง 200,000 ราย   นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า iSpoof ก่อตั้งขึ้นมาในเดือนธันวาคม 2020 มีผู้ใช้งานราว 59,000 คน   จากการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างยูเครนและสหรัฐอเมริกาทำให้สามารถปิดเว็บไซต์ และเข้ายึดเซิร์ฟเวอร์ของ iSpoof ได้สำเร็จ   ตำรวจเนเธอแลนด์เผยวิธีการติดตามจับกุม iSpoof โดยใช้วิธีการเจาะเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์   หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการครั้งนี้มาจากออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน ไอร์แลนด์ ลิทัวเนีย เนเธอร์แลนด์…

NT ผนึก กสทช. เตือนภัยเครื่องหมาย + ก่อนรับสาย ระวัง!!!ภัยจากมิจฉาชีพ

Loading

  NT จับมือ กสทช. เตือนภัยประชาชนก่อนรับสายโทรศัพท์จากต่างประเทศ พบมีเครื่องหมาย + นำหน้าพึงระวัง หากน่าสงสัยวางสายทันที พร้อมวางมาตรการสกัดเหตุหวังตัดตอนปัญหามิจฉาชีพระบาดหนักในประเทศ   นางสาวโชติกา ไพจ์ศรี ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า ขณะนี้มิจฉาชีพได้ปรับช่องทางในการโทรมาหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ ด้วยการใช้วิธีการโทรเข้าจากต่างประเทศ NT จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังก่อนการรับสายเบอร์โทรจากต่างประเทศทุกครั้ง   หากมีหมายเลขโทรศัพท์ที่เรียกเข้าขึ้นต้นด้วย +698 +66 ซึ่งเป็นสายที่โทรจากเบอร์มือถือไทยที่ใช้บริการโรมมิ่งจากต่างประเทศ และ +697 ซึ่งเป็นสายโทรผ่านระบบ VoIP (Voice over Internet Protocol) เข้ามาจากต่างประเทศให้พึงสังเกต หากไม่ได้มีการติดต่อธุรกิจจากต่างประเทศ หรือไม่มีญาติพี่น้องอยู่ต่างประเทศ   รวมถึงไม่ได้มีการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ให้วางสายทันทีและงดโทรกลับไปที่เบอร์ดังกล่าว เพื่อป้องกันการเกิดค่าใช้จ่ายเรียกเก็บจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและเหตุอันอาจจะก่อให้เกิดการเสียทรัพย์สินในอนาคต     ทั้งนี้เพื่อเป็นการร่วมสกัดการโทรเข้าจากต่างประเทศ NT ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีให้รัดกุมยิ่งขึ้น  …

กรมพัฒนาธุรกิจ แจงกลโกง มิจฉาชีพอ้าง ชื่อปลอมโลโก้

Loading

  นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่า มีผู้ไม่หวังดีโทรศัพท์หรือส่งข้อความไปยังผู้ประกอบธุรกิจ และประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่สร้างปลอมขึ้นมาอย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) และแอปพลิเคชันไลน์ (Line) โดยแอบอ้างใช้ชื่อรหัสประจำตัว (Username) เป็นชื่อกรม และใช้โลโก้ของกรมเป็นรูปโปรไฟล์ พร้อมขอตรวจสอบธุรกิจเรื่องต่าง ๆ   “ขอยืนยันว่า กรมไม่มีนโยบายติดต่อหรือทักหาประชาชนก่อน โดยที่ประชาชนไม่ได้สอบถามข้อมูลมา รวมถึงไม่ได้ให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจเป็นตัวเงิน ขอฝากเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง หากไม่ได้ดำเนินการติดต่อใด ๆ กับกรม แต่ได้รับข้อมูลหรือการติดต่อจากบุคคลในลักษณะดังกล่าว ต้องพิจารณาให้ดีก่อน อย่าหลงเชื่อ หรือกดไฟล์เอกสารที่แนบมาโดยไม่สังเกตความผิดปกติ และปฏิเสธการให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลอื่น”   นายทศพล กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพเปลี่ยนกลวิธีการหลอกลวงให้แนบเนียนยิ่งขึ้น โดยได้แอบอ้างเอาหน่วยงานราชการมาใช้สร้างความเสียหาย การกระทำลักษณะดังกล่าวเรียกว่า ฟิชชิง (Phishing) เป็นการหลอกลวงผ่านช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงแต่ละบุคคล   จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังการเปิดรับช้อมูลจากแหล่งที่ไม่มั่นใจ โดยสังเกตได้จากถ้าได้รับอีเมลควรเป็นชื่อที่รู้จักหรือติดต่อไว้เท่านั้น หากระบุให้คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์ ก็ต้องแน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติ เมื่อนำเมาส์ไปชี้ที่ลิงก์ URL จะต้องมี URL ที่ตรงกันกับหน่วยงานที่ติดต่อเท่านั้น อีกทั้ง การเข้าใช้งานในเว็บไซต์ควรพิมพ์…

รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง

Loading

    กลโกงมิจฉาชีพที่มักใช้หลอกลวงผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม LINE ทั้งอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ , บัญชีทางการ LINE ปลอม , ชวนสมัครงานหรือลงทุน เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว จนสูญเสียทรัพย์สินมาแล้วหลายรายถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ต้องรู้เท่าทัน แต่มีวิธีตรวจสอบและป้องกันได้ ก่อนตกเป็นเหยื่อ   นับวันกลโกงมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลจนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ จนหลายคนเผลอ หลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลเม็ดมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ขณะที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็พยายามปราบปรามและให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชากรดิจิทัลในการป้องกันตัวเองไปพร้อมๆ กัน   เช่นเดียวกับแอป LINE ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่อยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ใช้ในไทยกว่า 53 ล้านคน ได้รวบรวม 5 กลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพใช้บนแพลตฟอร์ม LINE หรือแอบอ้างชื่อบริษัทฯ พร้อมข้อเท็จจริง ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ LINE เอาไว้เช็คก่อนเชื่อ ไม่เป็นเหยื่อกลโกง   รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง   1. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จาก LINE ทางโทรศัพท์…

ไปรษณีย์ไทยเตือนระวัง SMS ปลอมแจ้งพัสดุตกค้าง ห้ามกรอกข้อมูลสำคัญ

Loading

  ไปรษณีย์ไทยแจ้งเตือนกลโกงมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ใช้ช่องทาง SMS แจ้งว่ามีพัสดุตกค้าง พร้อมค่าบริการที่ต้องชำระ ไปรษณีย์ไทยขอย้ำว่าผู้ได้รับข้อความดังกล่าวห้ามกรอกข้อมูลสำคัญเนื่องจากเป็นการหลอกให้โอนเงิน   โดยไปรษณีย์ไทยขอแจ้งเตือนภาคประชาชน ซึ่งขณะนี้มีการใช้ช่องทาง SMS ส่งข้อความหาผู้ใช้บริการ โดยระบุข้อความภาษาอังกฤษว่า “Thailandpost : Your Package is still awaiting processing Please confirm Deliver Charges” หรือ “ขณะนี้คุณมีพัสดุตกค้างที่ไม่สามารถจัดส่งได้ กรุณาชำระค่าบริการ”   พร้อมแนบลิงก์เพื่อให้ผู้ที่ได้รับ SMS กด เพื่อนำไปสู่การกรอกข้อมูลสำคัญ ได้แก่ หมายเลขบัตรเครดิต ชื่อผู้ถือบัตรวันหมดอายุของบัตร และรหัส 3 หลักสุดท้าย (CVC/CVV) ที่อยู่ด้านหลังบัตรเครดิต/เอทีเอ็ม พร้อมด้วยจำนวนเงินที่ต้องชำระค่าบริการ และหมายเลขติดตามพัสดุซึ่งไม่ใช่ของจริง   ไปรษณีย์ไทยขอย้ำเตือนว่าผู้ที่ได้รับข้อความดังกล่าวห้ามกดลิงก์ หรือกรอกข้อมูลบนบัตรเครดิต/เอทีเอ็มเด็ดขาด เนื่องจากเป็นการหลอกให้โอนเงินจากมิจฉาชีพ และไปรษณีย์ไทยไม่มีนโยบายในการแจ้งเรียกเก็บค่าดำเนินการใดๆ ผ่านทาง SMS ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์ได้ที่ www.thailandpost.co.th และไลน์ออฟฟิเชียล…