กรมที่ดินเผย ผลสอบมิจฉาชีพใช้ข้อมูลหลายแหล่ง รวมถึงแอปพลิเคชัน LandsMapsของกรมที่ดินด้วย

Loading

  นายธนกรณ์ สกุลกิม ผู้อำนวยการกองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ กรมที่ดิน เปิดเผยว่า อธิบดีกรมที่ดินได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างชื่อกรมที่ดิน หลอกลวงประชาชน โดยมอบหมายให้ นายวสันต์ สุภาภา รองอธิบดีกรมที่ดิน เป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ซึ่งผลสรุปออกมาว่า ข้อมูลไม่ได้รั่วไหลจากกรมที่ดิน ระบบฐานข้อมูลของกรมที่ดินไม่ได้ถูกแฮ็ก   มิจฉาชีพได้ข้อมูลมาจากหลายแหล่งแล้วนำมาประกอบกัน โดยได้ชื่อ-ที่อยู่-เบอร์โทร จากบริษัทหรือพนักงานที่ให้บริการส่งสินค้า หรือจาก Dark Web จากนั้นจึงนำที่อยู่ของเหยื่อมาเสิร์ชหาตำแหน่งที่ตั้งจาก Google Maps เมื่อรู้ว่าอยู่บริเวณใดแล้ว ก็ใช้โปรแกรม LandsMaps ในการค้นหาเลขโฉนดที่ดิน จำนวนเนื้อที่ และราคาประเมินที่ดิน (LandsMaps คือระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน ซึ่งเป็นโปรแกรมของกรมที่ดินที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเชื่อมต่อระบบนำทางแผนที่สากลของ Google Maps ซึ่งให้บริการฟรีแก่ประชาชน) โดยมิจฉาชีพจะนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้หลอกเหยื่อว่า เป็นเจ้าหน้าที่ที่ดิน ทำให้เหยื่อหลงเชื่อเพราะมิจฉาชีพรู้ข้อมูลอย่างละเอียด   จุดเด่นอีกข้อของ LandsMaps คือเชื่อมกับ Google Earth สามารถใช้ Street View Google เข้าไปดูได้ว่าบริเวณรอบบ้าน…

กรมที่ดินยืนยัน! ข้อมูลที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวงประชาชนไม่ได้หลุดจากกรมที่ดิน

Loading

  นายวสันต์ สุภาภา รองอธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผย หลังการประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ สกมช. กรณีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อกรมที่ดินหลอกลวง ให้ปรับปรุงข้อมูลในลิงก์เว็บไซต์ปลอม หรือแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพทำขึ้น อีกทั้งยังมีการโทรศัพท์หาผู้เสียหาย ขอให้ปรับปรุงข้อมูลผ่านโทรศัพท์   กรมที่ดินขอยืนยันว่า ข้อมูลของประชาชนที่หลุดออกไปสู่มิจฉาชีพนั้น ไม่ได้หลุดจากกรมที่ดิน เนื่องจากการเข้าดูข้อมูลของกรมที่ดินนั้น ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ ผู้มีรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบเท่านั้น ถึงจะเข้าสู่ระบบได้ อีกทั้งมีการเก็บประวัติการเข้าถึงข้อมูลในระบบ หากมีเจ้าหน้าที่เข้าดูข้อมูลนั้นจะมีข้อมูลชื่อ วัน เวลา บันทึกเสมอ   นอกจากนี้กรมที่ดินได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรณีที่เกิดขึ้น โดยจะดำเนินการตรวจสอบผู้เสียหายทุกเคส ฝากประชาสัมพันธ์ถึงประชาชน กรมที่ดินไม่มีนโยบายในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงโทรศัพท์ไปหาเจ้าของที่ดิน เพื่อจะให้ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือในช่องทางแอปพลิเคชันไลน์ เพราะว่ากรมที่ดินเป็นหน่วยงานที่ให้บริการพี่น้องประชาชนให้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว   กรมที่ดินได้มีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ อาทิ แอปพลิเคชัน Landsmaps ซึ่งโฉนดสามสิบล้านแปลง อยู่ในแอปพลิเคชันตัวนี้ ซึ่งสามารถที่จะตรวจสอบ การเสนอขายที่ดินจากมือถือของท่านได้เลยว่า ตําแหน่งที่ดินนั้นๆ มีอยู่จริงหรือไม่ ตำแหน่งถูกต้องหรือไม่ ซึ่งหากดาวน์โหลดผ่าน App Store หรือ Play Store ซึ่งเป็นแหล่งดาวน์โหลดแอปพลิชันที่มีความน่าเชื่อถือ…

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย 6 แอปปลอม ควบคุมมือถือระบาดหนัก พบผู้เสียหายจำนวนมาก

Loading

  ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย 6 แอปปลอม ควบคุมมือถือระบาดหนัก พบผู้เสียหายจำนวนมาก   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ได้รับรายงานจากการตรวจสอบในระบบศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ พบว่าในช่วงที่ผ่านมามีผู้เสียหายหลายรายได้รับข้อความสั้น (SMS) และได้รับสายโทรศัพท์จากมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน โดยให้ทำการเพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ของหน่วยงานปลอมนั้น ๆ   จากนั้นจะสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหายก่อนที่จะส่งลิงก์เว็บไซต์ปลอมให้ผู้เสียหายติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่มิจฉาชีพปลอมขึ้นมาแล้วหลอกลวงให้ทำตามขั้นตอน ตั้งค่าให้สิทธิการเข้าถึง และให้สิทธิควบคุมโทรศัพท์มือถือที่ผู้เสียหายใช้งาน หลอกลวงให้กรอกรหัส PIN 6 หลัก จำนวนหลายครั้ง หรือหลอกลวงให้โอนเงินค่าธรรมเนียมในจำนวนเล็กน้อย เช่น โอนเงินจำนวน 10 บาท เพื่อดูรหัสการทำธุรกรรมธนาคารของผู้เสียหาย แล้วเข้าควบคุมโทรศัพท์ของผู้เสียหายแล้วโอนเงินออกจากบัญชี จำนวนกว่า 6 หน่วยงาน ดังนี้   1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยได้รับข้อความสั้น (SMS) หรือได้รับสายโทรศัพท์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า แจ้งผู้เสียหายว่าจะได้รับเงินค่าชดเชยหม้อแปลงไฟฟ้า หรือคำนวณเงินค่า FT ผิดพลาด หรือได้รับเงินคืนค่าประกันไฟฟ้า เป็นต้น   2. กรมที่ดิน…

วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นโรงแรม เช็กเพจให้ดีก่อนจอง

Loading

  วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม โดยเฉพาะเพจร้านค้า และเพจโรงแรม ที่เปิดจองโรงแรมต่าง ๆ หลังมีเพจปลอมแอบเนียนเปลี่ยนชื่อมาหลอกขายผ่านทาง Facebook และมีผู้ถูกหลอกจำนวนมาก ดังนั้นควรตรวจสอบให้ดีว่าเพจนั้นเป็นเพจจริงหรือไม่ด้วยวิธีการดังนี้   วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นโรงแรม ยกตัวอย่างโดยข้อมูลจากเพจ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เผยแพร่ภาพว่าเพจโรงแรมจริง กับเพจโรงแรมปลอมนั้นแตกต่างกันอย่างไร โดยทำตามขั้นตอนดังนี้   iT24Hrs   เข้าไปที่เพจของโรงแรม แล้วคลิก เกี่ยวกับ >> เลือก ความโปร่งใสของเพจ >> แล้วเลือกที่ ดูทั้งหมด   iT24Hrs   จะปรากกฎข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชื่อเพจ และคนจัดการเพจ จะเห็นได้ว่าเพจปลอม มีการเปลี่ยนชื่อเป็นเพจอื่น ไม่ได้ใช้ชื่อโรงแรมตั้งแต่แรก และดูคนจัดการเพจนี้ไม่ใช่คนไทย แต่มาจากเมียนมา เป็นต้น   iT24Hrs   ซึ่งจากเพจจริงก็ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่ต้น ปี 2012 และระบุจากประเทศไทยตั้งแต่แรก   และยังพบโรงแรมอื่น ๆ ที่ถูกเพจปลอมแอบอ้างเป็นโรงแรมจำนวนมาก ดังนั้นนอกจากตรวจสอบเพจแล้ว อาจลองโทรสอบถามกับทางโรงแรมโดยตรงก็ได้ มิฉะนั้นอาจเสียเงินฟรีโดยไม่ได้พักในโรงแรมเลย…

SIM Swap Fraud การสวมซิมควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีมีจริงหรือ?

Loading

  SIM Swap Fraud การสวมซิมควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีมีจริงหรือ หลังมีแชร์ในโซเชียลเกี่ยวกับการสวมซิม หรือ SIM SWAP เพื่อควบคุมเครื่องโทรศัพท์และโอนเงินออกจากบัญชีไป   ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าว กรณีมีการหลอกลวงทางเทคโนโลยีขั้นสูงที่เรียกว่า SIM SWAP FRAUD อ้างว่าขณะใช้งานโทรศัพท์อยู่ตามปกติ เครือข่ายโทรศัพท์ไม่มีสัญญาณ (Zero Bar) เป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน มีโทรศัพท์อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแจ้งว่ามีปัญหาเครือข่ายสัญญาณมือถือ จากนั้นแนะนำให้กด 1 เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอีกครั้ง เมื่อกด 1 เครือข่ายจะปรากฏขึ้นทันทีชั่วคราวและจะไม่มีสัญญาณอีกครั้ง (Zero Bar) ช่วงนี้คนร้ายได้ควบคุมเครื่องโทรศัพท์และโอนเงินออกจากบัญชีไป ขณะที่เจ้าของโทรศัพท์จะไม่ได้รับการแจ้งเตือนใด ๆ เนื่องจากซิมถูกเปลี่ยนขณะที่มือถือถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์   พ.ต.อ.ก้องกฤษฎา กิตติถิระพงษ์ รองผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี(รอง ผบก.ตอท.) และ นายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล กรรมการบริหารและประชาสัมพันธ์ สมาคมโทรคมนาคมฯ ชี้แจงว่า…

เช็กด่วน เตือนภัย 10 แอปพลิเคชันอันตราย มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝง

Loading

  ตำรวจเตือนภัย เผย 10 แอปพลิเคชันอันตราย มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ เผยบางแอปฯ จะอยู่ในรูปแบบ Mini-Game ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาเล่นเพื่อรับรางวัล   วันที่ 4 สิงหาคม 2566 มีรายงานว่า แฟนเพจ ตำรวจสอบสวนกลาง ได้เผยเรื่องราวเตือนภัยแอปพลิเคชันอันตราย โดยระบุข้อความว่า ขณะนี้ตรวจพบแอปฯ ที่มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ ซึ่งบางแอปฯ ถูกถอดจาก Playstore แล้ว แต่ยังสามารถติดตั้งผ่านช่องทางแอปพลิเคชันอื่นได้อยู่ และบางแอปฯ จะอยู่ในรูปแบบ Mini-Game ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาเล่นเพื่อรับรางวัล โดยมี 10 แอปฯ อันตรายดังนี้   •   Noizz : แอปฯ ตัดต่อวีดีโอพร้อมเพลง (100,000,000 downloads)   •   Zapya : แอปฯ แชร์ไฟล์ ย้ายไฟล์ (100,000,000 downloads)   •   VFly…