เหตุผลฟังแล้วอึ้ง ที่มนุษย์อวกาศ รัสเซีย ต้อง ‘พกปืน’ ขึ้นไปในอวกาศด้วย

Loading

  เมื่อวันที่ 14 มีนาคม นายวิมุติ วสะหลาย ฝ่ายวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย เขียนบทความ เรื่อง เมื่อรัสเซียต้องพกปืนขึ้นไปอวกาศ โดยให้ มติชนออนไลน์ นำมาเผยแพร่ได้ ซึ่งมีเนื้อหาต่อไปนี้   สถานีอวกาศนานาชาติ เป็นโครงการนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้าง เกิดจากความร่วมมือของมหาอำนาจทางอวกาศอย่างองค์การนาซาจากสหรัฐอเมริกา รอสคอสมอสจากรัสเซีย อีซาจากยุโรป และประเทศอื่น เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์โดยปราศจากความขัดแย้งทางการเมือง บนสถานีอวกาศนานาชาติจึงถือว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งที่คู่แค้นมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียจะยังคงมีไมตรีต่อกัน ไม่ว่าสถานการณ์บนโลกจะตึงเครียดสักเพียงใด แต่บนสถานีอวกาศมนุษย์อวกาศทุกชาติล้วนอยู่และทำงานร่วมกันอย่างสันติ   แต่ทราบหรือไม่ มนุษย์อวกาศรัสเซียเขาพกปืนขึ้นไปด้วยนะ   อย่าเพิ่งตกใจ เขาไม่ได้เอาไปดวลปืนกับพวกอเมริกัน   เขาเอาไว้ยิงสัตว์   เรื่องนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยที่ยุคอวกาศเริ่มต้นขึ้น ยานอวกาศที่มีมนุษย์ของฝ่ายโซเวียตไม่ว่าจะเป็นรุ่นบุกเบิกอย่างวอสตอก วอสฮอด และโซยุซ ล้วนเป็นมอดูลที่ออกแบบให้กลับสู่โลกแบบลงจอดบนแผ่นดิน โดยมีร่มชูชีพคอยพยุงจนถึงพื้น   อะเลคเซย์ เลโอนอฟ มนุษย์คนแรกที่ออกปฏิบัติการนอกยานอวกาศ   การลงจอดในลักษณะนี้มีโอกาสที่จะลงจอดพลาดเป้าไปได้ไกล หากยานไปจอดในสถานที่กันดารหรือในป่า ลูกเรือจำเป็นต้องมีอาวุธไว้ป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายระหว่างที่รอทีมช่วยเหลือภาคพื้นดินตามไปถึง   ส่วนทางฝ่ายอเมริกันไม่เคยต้องพกปืน เนื่องจากยานของนาซาไม่มีโอกาสเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ยานประเภทมอดูลของนาซานิยมให้ลงจอดในทะเลแล้วส่งเรือไปเก็บกู้   ส่วนกระสวยอวกาศของนาซาก็กลับสู่โลกแบบเครื่องร่อนซึ่งควบคุมจุดลงจอดได้แม่นยำ การพกปืนจึงไม่จำเป็น…

ปลอดภัยแค่ไหน? แต่ละปีมี “ดาวเคราะห์น้อยอันตราย” พุ่งเฉียดโลกกี่ดวง?

Loading

  เปิดสถิติ ในแต่ละปี โลกของเราเผชิญเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเฉียดผ่านมากน้อยแค่ไหน และเป็นภัยคุกคามหรือไม่   ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา มี “ดาวเคราะห์น้อย” หรือเศษก้อนหินที่เหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะ อยู่เป็นจำนวนมากนับไม่ถ้วน มีขนาดและความเร็วแตกต่างกันออกไป ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดแก่โลกก็แตกต่างตามไปด้วย   บ่อยครั้งที่เราจะเห็นพาดหัวข่าวที่บรรยายถึงดาวเคราะห์น้อย ว่ามีขนาดเท่า “รถบัส” “รถบรรทุก” หรือ “ตู้ขายของอัตโนมัติ” รวมถึงระบุระดับความอันตรายว่าเป็น “ผู้ล้างเมือง” “ผู้พิฆาตดาวเคราะห์” หรือ “เทพแห่งความโกลาหล”   แน่นอนว่าภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อยนั้นเป็นเรื่องจริง นักวิทยาศาสตร์และดาราศาตร์ต่างทำงานอย่างหนักเพื่อคำนวณวิถีว่ามีดาวเคราะห์น้อยดวงไหนบ้างที่จะชนโลกหรือเข้าใกล้โลก และพยายามคิดหาวิธีป้องกันมัน   แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ตัวเลขความเสี่ยงภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อยอยู่ที่เท่าไหร่? มีดาวเคราะห์น้อยกี่ดวงที่พุ่งชนโลก และกี่ดวงที่คาดว่าจะเฉียดผ่านเราไป?   ข้อมูลจากองค์การนาซา (NASA) ระบุว่า ดาวเคราะห์น้อยมีหลายขนาด ดวงที่เล็กเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 4 เมตรคาดว่ามีมากกว่า 500 ล้านดวง และที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อย 25 เมตรนั้น มีประมาณ 5 ล้านดวง ซึ่งทั้งสองขนาดนี้ตรวจจับได้ยากมาก   ส่วนขนาด 140 เมตร…

“พายุสุริยะ” คืออะไร นาซาสั่งจับตาส่อเกิด “อินเทอร์เน็ตล่ม” ทั่วโลกปี 2025

Loading

    ‘พายุสุริยะ’ คืออะไร เพราะเหตุใด นาซารวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญให้จับตา ทำลายระบบไฟฟ้า “อินเทอร์เน็ตล่ม” ทั่วโลก ทวีความรุนแรงในปี 2025   “พายุสุริยะ” กำลังเป็นที่พูดถึงและถูกจับตามองจากทั่วโลก รวมไปถึง NASA และผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์ว่า พายุสุริยะกำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่า จะถึงจุดสูงสุดในปี 2025 พร้อมคาดการณ์กันอีกว่า มีโอกาสที่จะทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตล่มทั่วโลก และหากเกิดขึ้นจริง ก็อาจทำให้อินเทอร์เน็ตล่มยาวนานนับเดือน   พายุสุริยะ คืออะไร เหตุใดถึงมีอนุภาค ทำให้กระทบต่อระบบไฟฟ้าบนโลก ในประวัติศาสตร์เมื่อปี 1859 พายุสุริยะ เคยทำให้ระบบโทรเลขล่ม ต่อมาในปี 1989 ก็ทำให้ไฟฟ้ารัฐควิเบกดับนาน 12 ชั่วโมง   ด้าน คีธ สตรอง นักฟิสิกส์พลังงานแสงอาทิตย์และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสภาพอากาศอวกาศที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลชี้ให้เห็นว่าจำนวนจุดดับ (Sunspot) บนดวงอาทิตย์เมื่อเดือนมิถุนายน 2023 ที่ผ่านมา สูงถึง 163 จุด และสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี…

NASA FINDER เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรีย

Loading

    จากสถานการณ์แผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรียที่ยังคงมีการค้นหาผู้รอดชีวิตกันอยู่เรื่อย ๆ วันนี้เลยจะพาไปชมการพัฒนาเทคโนโลยีค้นหาผู้ประสบภัยที่น่าสนใจจากนาซา เป็นเครื่องตรวจสัญญาณชีพผู้รอดชีวิตใต้ซากปรักหักพัง ที่ช่วยให้เราหาผู้รอดชีวิตได้ง่ายขึ้น   ในภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ใต้ซากตึก อย่างเช่นกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย ‘ความไว’ คือปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะยิ่งใช้เวลาค้นหานาน จำนวนผู้รอดชีวิตก็อาจจะลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยี ที่ช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตในสถานการณ์ลักษณะนี้หลายชิ้นด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือเครื่องมือชื่อว่า ไฟน์เดอร์ (FINDER)     ไฟน์เดอร์ (FINDER) เป็นอุปกรณ์เรดาร์คลื่นไมโครเวฟ ที่ใช้ตรวจจับการเต้นของหัวใจมนุษย์ โดยมันจะส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟพลังงานต่ำ ทะลุผ่านเศษซากกองปรักหักพังได้ถึงประมาณ 9 เมตร หรือถ้าเป็นคอนกรีตแข็งจะอยู่ประมาณ 6 เมตร เมื่อเรดาร์ตรวจเจอสัญญาณชีพของผู้รอดชีวิต จากจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือแม้แต่จังหวะการหายใจ การขยับตัว ซึ่งจะท้อนกลับมายังเรดาร์ตรวจจับ ตัวเครื่องก็จะคำนวณหาระยะห่างของตำแหน่งของผู้รอดชีวิตได้     ซึ่งทีมพัฒนาระบุว่า ตัวอุปกรณ์สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการเคลื่อนไหว ที่เกิดจากคนและเครื่องจักร และแม้กระทั่งความแตกต่างระหว่างการเคลื่อนไหวของคนกับสัตว์ ลดความสับสนที่จะขัดขวางภารกิจกู้ภัย นอกจากนี้ ข้อดีคือ ตัวอุปกรณ์มีขนาดกะทัดรัด สามารถบรรจุลงกระเป๋าเดินทางได้ อีกทั้งยังกันน้ำ สามารถพกพาไปกับทีมนักกู้ภัย ช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตในตึกต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น…