นิคมฯ มาบตาพุด ประกาศ ภาวะฉุกเฉิน สั่งอพยพคน เหตุไฟไหม้ถังเก็บสารเคมีระเบิด
นิคมฯ มาบตาพุด ประกาศภาวะฉุกเฉิน พร้อมเร่งอพยพพนักงานกว่า 300 ชีวิต โรงงานออกแถลงการณ์รอบ 2 แจงเหตุ ‘ไฟไหม้’ ถังสารโซลีน มีพนักงานเสียชีวิตแล้ว 1
นิคมฯ มาบตาพุด ประกาศภาวะฉุกเฉิน พร้อมเร่งอพยพพนักงานกว่า 300 ชีวิต โรงงานออกแถลงการณ์รอบ 2 แจงเหตุ ‘ไฟไหม้’ ถังสารโซลีน มีพนักงานเสียชีวิตแล้ว 1
ทีมกู้ระเบิดของกองทัพสิงคโปร์ปลดชนวนระเบิด ระเบิดนี้มีน้ำหนัก 100 กก. คาดว่าเป็นระเบิดที่ทิ้งลงมาจากเครื่องบินในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ไม่ระเบิด ที่พบในไซต์ก่อสร้าง ถูกขุดพบเมื่อสัปดาห์ก่อนในพื้นที่ก่อสร้างคอนโดมิเนียมในย่านบูกิตติมาห์ (Bukit Timah) ซึ่งทำให้ต้องประชาชนอพยพหลายพันคน
เจ้าหน้าที่รัฐฮาวายของสหรัฐฯ ชี้แจงสาเหตุที่ไม่เปิดเสียงไซเรนเตือนภัยในช่วงที่เกิดไฟป่ารุนแรง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้ว 110 ศพ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (16 ส.ค. 2566) หัวหน้าฝ่ายบริหารเหตุฉุกเฉินของเกาะเมาวี กล่าวปกป้องการตัดสินใจของหน่วยงานต่อประเด็นเรื่องการเปิดเสียงไซเรนในช่วงที่เกิดไฟป่ารุนแรงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางคำถามว่าการทำเช่นนั้นอาจช่วยชีวิตผู้คนได้หรือไม่ เฮอร์แมน อันดายา ผู้บริหารสำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินเขตเมาวี เคาน์ตี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เสียงไซเรนในฮาวายใช้เพื่อเตือนผู้คนให้ระวังสึนามิ การใช้มันขณะเกิดไฟไหม้อาจทำให้ผู้คนต้องอพยพไปยังจุดอันตราย ไฟไหม้ทุ่งหญ้าเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ลุกลามลงมาจากฐานของภูเขาไฟที่ลาดลงสู่เมืองลาไฮนา เมืองท่องเที่ยวชื่อดัง คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 110 ศพ และทำลายหรือสร้างความเสียหายให้กับอาคารราว 2,200 หลัง นายอันดายา กล่าวระหว่างการแถลงข่าว เมื่อนักข่าวตั้งคำถามถึงการตอบสนองของรัฐบาลระหว่างที่เกิดไฟป่าว่า “ประชาชนถูกฝึกให้หนีไปยังที่สูงในกรณีที่เสียงไซเรนดังขึ้น หากเราเปิดไซเรนในคืนนั้น เราเกรงว่าผู้คนจะไปรวมตัวกันบริเวณไหล่เขา และถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาคงเข้าไปในกองไฟแล้ว” เขากล่าวว่า เมาวีใช้ระบบเตือนภัย 2 ระบบแทนการเปิดไซเรน ระบบหนึ่งจะส่งข้อความไปยังโทรศัพท์ และอีกระบบหนึ่งจะเป็นการออกอากาศข้อความฉุกเฉินทางโทรทัศน์และวิทยุ และเสริมว่า เนื่องจากเสียงไซเรนจะดังในพื้นที่ที่อยู่ริมทะเลเป็นหลัก พวกมันจึงไร้ประโยชน์สำหรับคนที่อาศัยอยู่บนที่สูง …
ตำรวจฝรั่งเศสดำเนินการอพยพผู้คนออกจากหอไอเฟลและพื้นที่โดยรอบ หลังมีการขู่วางระเบิด และต้องปิดหอเพื่อตรวจสอบนานหลายชั่วโมง สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เจ้าหน้าที่ของประเทศฝรั่งเศสต้องอพยพผู้คนออกมาจากทั้ง 3 ชั้นของหอไอเฟล ในกรุงปารีส รวมถึงจากลานโดยรอบ และต้องเปลี่ยนเส้นทางสัญจรของรถยนต์ เมื่อเวลาประมาณ 12.15 น. วันเสาร์ที่ 12 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น หลังจากมีการขู่วางระเบิด ตำรวจตั้งแนวกั้นรักษาความปลอดภัยอย่างรวดเร็ว ในขณะทีมเก็บกู้ระเบิดถูกส่งมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ก่อนจะยกเลิกการเฝ้าระวังในเวลา 15.30 น. และเปิดให้ผู้คนเข้าพื้นที่หอไอเฟลอีกครั้ง บริษัท SETE ซึ่งเป็นบริหารหอไอเฟล บอกกับสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนการตามปกติเมื่อเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ทั้งนี้ ครั้งล่าสุดที่ตำรวจฝรั่งเศสต้องอพยพผู้คนและปิดหอไอเฟลเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2563 หลังมีสายนิรนามโทรศัพท์หาตำรวจและขู่ระเบิดตัวเองที่หอคอยแห่งนี้ ขณะที่ในปี 2562 ก็เกิดการอพยพหอไอเฟลเช่นกัน หลังพบว่ามีชายคนหนึ่งพยายามปีนหอจากด้านนอก ที่มา : euronews …
จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย รวมทั้งหลายประเทศในยุโรปและตะวันออกกลาง ต่างพยายามนำพลเมืองและนักการทูตของตนออกจากซูดานในวันจันทร์ ท่ามกลางการสู้รบอย่างหนักระหว่างกองทัพบกซูดานกับกองกำลังกึ่งทหาร ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา การต่อสู้ระหว่างกองทัพกับกองกำลังกึ่งทหารเคลื่อนที่เร็ว อาร์เอสเอฟ (Rapid Support Forces) เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 427 คน สร้างความเสียหายต่อโรงพยาบาลและหน่วยงานหลายแห่ง และทำให้เขตที่อยู่อาศัยหลายแห่งกลายเป็นพื้นที่สงคราม ในวันจันทร์ การต่อสู้ในกรุงคาร์ทูมปะทุขึ้นอีกครั้ง ควันไฟลอยขึ้นจากสนามบินระหว่างประเทศในเมืองหลวงของซูดาน ซึ่งติดกับที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพบก ขณะที่มีเสียงปืนและปืนใหญ่ดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง การสู้รบบรรเทาลงในช่วงสุดสัปดาห์เพื่อเปิดทางให้สหรัฐฯ และอังกฤษ อพยพเจ้าหน้าที่ทางการทูตออกจากซูดาน นำไปสู่การแห่อพยพครั้งใหญ่ของเจ้าหน้าที่การทูตของอีกหลายประเทศในวันจันทร์ กองทัพบกซูดานและกองกำลังกึ่งทหาร อาร์เอสเอฟ ผนึกกำลังกันก่อรัฐประหารเมื่อปี 2021 แต่ผู้นำทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้เรื่องการร่วมจัดตั้งรัฐบาลพลเรือน นำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความกังวลว่าหลายฝ่ายอาจถูกดึงเข้าสู่สงครามกลางเมืองครั้งนี้ด้วย เนื่องจากซูดานอยู่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 7 ประเทศ และอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ระหว่างอียิปต์ และทะเลแดง กองกำลังทั้งสองฝ่ายปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิงท่ามกลางแรงกดดันจากนานาชาติที่กังวลความปลอดภัยต่อพลเมืองของตน หลายประเทศ รวมทั้ง…
เอเจนซีส์/รอยเตอร์ – เป็นที่ฮือฮาเมื่อมีการเปิดเผยปฏิบัติการช่วยนักการทูตอังกฤษออกจากซูดานอย่างเร่งด่วน พบนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ส่งหน่วยรบพิเศษเข้ากรุงคาร์ทูม อาศัยความมืดให้เป็นประโยชน์ก่อนขับรถดิ่งตรงเข้าสถานทูตอังกฤษ นำเจ้าหน้าที่การทูตกลับออกมาใช้เวลาเบ็ดเสร็จราว 1 ชั่วโมงครึ่ง ท่ามกลางความวิตกชาวซูดานที่ยังคงติดอยู่ระหว่างสงครามกลางสู้รบสมรภูมิเลือด สกายนิวส์รายงานวานนี้ (23 เม.ย.) ว่า ปฏิบัติการอพยพเหล่านักการทูตอังกฤษออกมาจากกรุงคาร์ทูม เกิดขึ้นเมื่อช่วงคืนดึกวันเสาร์ (22) ซึ่งเป็นการส่งหน่วยรบพิเศษอังกฤษขึ้นเครื่องบินรบสหรัฐฯ เข้าซูดานเพื่อเริ่มปฏิบัติการอพยพ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ริชี ซูแน็ก กล่าวในวันอาทิตย์ (23) โดยชี้ว่า เป็นการแสดงความขอบคุณต่อปฏิบัติการอพยพที่ “สลับซับซ่อนและรวดเร็ว” รอยเตอร์รายงานวันอาทิตย์ (23) “ผมแสดงปวารณาต่อข้อผูกพันของนักการทูตของพวกเรา และความกล้าหาญของเจ้าหน้าที่ทหารที่ออกปฏิบัติยากลำบาก” ซูแน็ก กล่าวผ่านทางทวิตเตอร์ และเสริมต่อว่า “ผมยังคงดำเนินไปทุกช่องทางเพื่อยุติความขัดแย้งนองเลือดให้เพื่อให้แน่ใจถึงความปลอดภัยของพลเมืองอังกฤษที่ยังคงอยู่ในประเทศ” ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษ เบน วอลเลซ เปิดเผยว่า ทหารอังกฤษออกปฏิบัติการอพยพร่วมกับสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และชาติอื่นๆ พร้อมเปิดเผยว่ามีการใช้ทหารไม่ต่ำกว่า 1,200 นาย เข้าร่วมปฏิบัติการ อย่างไรก็ตาม…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว