รัฐเซาท์แคโรไลนา ผ่านร่างกฎหมายห้ามขายอสังหาริมทรัพย์ให้ชาวจีนและรัสเซีย

Loading

  ฝ่ายนิติบัญญัติของเซาท์แคโรไลนาได้อนุมัติกฎหมายที่ห้ามขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ชาวจีนและรัสเซีย เพื่อเป็นการป้องกันอสังหาริมทรัพย์ตกไปอยู่ในมือของประชาชนหรือบริษัทจากจีน รัสเซีย และประเทศอื่น ๆ ที่กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า เป็น “ศัตรูต่างชาติของสหรัฐ” ซึ่งได้แก่ จีน รัสเซีย อิหร่าน คิวบา และเกาหลีเหนือ   การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ยังเป็นการสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ลงระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่าจีนเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยในรัฐเซาท์แคโรไลนา มีบริษัทที่มีชาวจีนเป็นเจ้าของหลายสิบแห่งเปิดดำเนินการอยู่ กับมีชุมชนชาวจีนและนักศึกษาชาวจีนในมหาวิทยาลัยจำนวนหลายพันคน   อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ไม่มีผลย้อนหลังในกรณีที่มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ขณะที่สื่อในท้องถิ่น รายงานว่าเป้าหมายที่แท้จริงของกฎหมายฉบับนี้คือการขัดขวางแผนการของบริษัทจีนที่จะจัดซื้อที่ดิน 500 เอเคอร์ในรัฐ นอกจากนี้ สภานิติบัญญัติในอีกอย่างน้อย 11 รัฐของสหรัฐฯ กำลังพิจารณาร่างกฎหมายที่จะจำกัดหรือห้ามการถือครองอสังหาริมทรัพย์โดยศัตรูต่างชาติ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์บอลลูนสอดแนมของจีน       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                 จส.100 …

อีกมุมมอง “ต่างชาติซื้อบ้าน” ได้ กรณีศึกษาแนวทาง-ข้อกังวล

Loading

  จากกรณีวาระร้อนช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา กับการปลดล็อกเงื่อนไขการลงทุนที่หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดทางให้ต่างชาติซื้อบ้านและที่ดินในไทยได้ นำไปสู่ข้อครหา “ขายชาติ!” ที่หลายฝ่ายยังถกเถียงว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่? ในบริบทที่ว่านี้ ผู้เขียนจึงขอพา “คุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์” มาลองมองอีกมุมมองจากประเทศอื่นๆ เช่น “ญี่ปุ่น” กันดูว่า “ทำไมเขาถึงกล้าให้คนชาติอื่นเข้ามาจับจองซื้ออสังหาริมทรัพย์ในบ้านตัวเอง โดยไม่สนคำครหาเช่นเดียวกับไทยนี้บ้าง?” ผ่าน “กรณีศึกษา” แนวทางและวิธีการที่เป็นไปได้ แต่ก่อนอื่นนั้น… ต้องมาย้อนดูมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 กันยายน 2564 อีกครั้ง เพื่อไล่เรียงทีละข้อว่า รายละเอียดที่ถูกพูดถึงกันมาก และกลายเป็นคำกล่าวหา “ขายชาติ” มีเช่นไรบ้าง? การเปิดทางให้ “ต่างชาติซื้อบ้าน” ในไทยได้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน เพื่อหวังดึงดูดชาวต่างชาติที่มี “ศักยภาพสูง” ซึ่งเป็นข้อเสนอของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่มีทั้งหมด 7 ข้อด้วยกัน และที่ว่านี้ก็อยู่ในข้อที่ 2 โดยระบุว่า “มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวใหม่ รวมทั้งข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1)…