UNRWN คืออะไร องค์กรช่วยเหลือหรือผู้ก่อการร้าย ทำไมอิสราเอลสั่งแบน?

Loading

  รัฐสภาอิสราเอลลงมติผ่านร่างกฎหมาย ห้ามองค์กร UNRWA ปฏิบัติการหรือดำเนินงานในดินแดนอิสราเอล และเยรูซาเลมตะวันออกแล้ว เมื่อวันจันทร์ที่ 28 ต.ค. 2567 ท่ามกลางเสียงประณามว่านี่อาจเป็นการ บั่นทอนการกระจายความช่วยเหลือในฉนวนกาซา ซึ่งประชาชนนับล้านกำลังรับเคราะห์จากสงครามที่ดำเนินมานาน 1 ปีแล้ว   UNRWA หรือ สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ เป็นองค์กรของสหประชาชาติเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในกาซา, เขตเวสต์แบงก์, เยรูซาเลมตะวันออก รวมทั้งในประเทศข้างเคียง   แต่พวกเขากลับมีปัญหากับรัฐบาลอิสราเอล ซึ่งกล่าวหาว่า ลูกจ้างของ UNRWA หลายคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีครั้งใหญ่ของกลุ่มฮามาส เมื่อ 7 ต.ค. 2566 อันเป็นจุดเริ่มต้นสงครามในกาซา และสหประชาชาติเองก็ยอมรับว่า มีพนักงานบางคนถูกไล่ออก เพราะอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้   ความขัดแย้งระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย สามารถย้อนกลับไปได้นานหลายสิบปี UNRWA เป็นองค์กรอะไรกันแน่ ทำไมพวกเขาจึงมีปัญหากับรัฐบาลอิสราเอลมาตลอด?     UNRWA คือองค์กรอะไร?   UNRWA ก่อตั้งขึ้นในปี 2492 เพื่อช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์กว่า 700,000…

ออสเตรียจ่อยกระดับมาตรการต้านก่อการร้าย หลังทลายแผนป่วนคอนเสิร์ต “เทย์เลอร์ สวิฟต์”

Loading

นายคาร์ล เนแฮมเมอร์ นายกรัฐมนตรีออสเตรีย เปิดเผยในวันอังคาร (13 ส.ค.) ว่า เขาจะนำเสนอมาตรการต่าง ๆ เพื่อยกระดับความสามารถในการต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรีย หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สกัดแผนก่อการร้ายของผู้ต้องสงสัยว่าสนับสนุนกลุ่มรัฐอิสลาม (ISIS) ซึ่งมุ่งเป้าก่อเหตุ ณ สถานที่จัดคอนเสิร์ตของเทย์เลอร์ สวิฟต์ ในกรุงเวียนนา เมืองหลวงของออสเตรีย

เด็ก 19 ปลื้ม ‘ไอเอส’ หวังใช้มีด-ระเบิดโจมตีคอนเสิร์ต ‘เทย์เลอร์ สวิฟต์’ – ด้านอังกฤษ ยืนยันดูแลความปลอดภัย ยังไม่พบเบาะแสก่อเหตุร้าย

Loading

ตำรวจออสเตรียได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยชาวออสเตรียอีก 2 ราย วัย 17 และ 15 ปี เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม จากการวางแผนโจมตีหนึ่งใน 3 รอบการแสดงคอนเสิร์ตของสวิฟต์

ยกเลิก คอนเสิร์ต ‘เทย์เลอร์ สวิฟต์’ ที่เวียนนา ออสเตรีย หลังจับผู้ต้องสงสัย วางแผนโจมตี

Loading

การจัดงานคอนเสิร์ต 3 รอบของเทย์เลอร์ สวิฟต์ ในกรุงเวียนนา ออสเตรีย ระหว่างวันที่ 8-10 ส.ค.67 ถูกยกเลิก เนื่องจาก ทางการออสเตรีย เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ ควบคุมผู้ต้องสงสัย 2 คน

ChatGPT ภาพหลอน และการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  หลาย ๆ ท่านอาจเคยได้ยินว่า Generative AI อาจให้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ ดังนั้น ผู้ใช้งานโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM: Larger language models) จึงต้องมีความตระหนักรู้ในข้อจำกัดของเทคโนโลยีประกอบด้วย   ข้อมูลที่ผิดพลาดอาจจะเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐาน หรืออาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลก็ได้ ลองจินตนาการว่าหาก Generative AI ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวท่าน เช่น “วันเดือนปีเกิด” ท่านในฐานะของผู้ใช้งานโมเดลภาษาหเล่านั้นหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้อง   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่อาจสร้างความเสื่อมเสียต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล   ท่านจะมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรบ้างหรือไม่ เพื่อจะทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่ถูกประมวลผลหรือแสดงผลโดย Generative AI นั้นถูกต้อง หรือขอให้ลบข้อมูลเหล่านั้นออกจากการประมวลผลหรือการแสดงผลลัพธ์   การที่ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ในทางเทคนนิค เรียกว่า AI Hallucination หรือการประดิษฐ์ภาพหลอนโดย AI   คือกรณีนี้เป็นสถานการณ์ที่ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นผลลัพธ์การตอบสนองที่สร้างโดย AI ที่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นข้อเท็จจริง     เปรียบเสมือนภาพหลอนในจิตวิทยาของมนุษย์ที่อาจเกิดจากข้อจำกัดของโมเดล AI เอง…

กต.ชี้สู้รบเมียนมาไม่แน่นอน ย้ำหลักการรักษาดินแดนไทย

Loading

    โฆษก​ กต.​เผย​ที่ประชุม คกก.เฉพาะกิจสถานการณ์ในเมียนมา​ย้ำ​หลัก​การ 3​ ข้อ ยึดมั่นอธิปไตย ไม่ใช้ไทยทำกิจกรรมต่อต้านรัฐบาล​และให้การช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม​   วันนี้ (23 เม.ย.2567) นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการ​เฉพาะกิจ​บริหารสถานการณ์​อันเนื่องมาจากความไม่สงบในเมียนมา​ ว่า ที่ประชุมฯ ได้ประเมินสถานการณ์และต้องประเมินเป็นรายชั่วโมง เนื่องจากสถานการณ์มีความไม่แน่นอนสูง   ขณะที่ช่วงบ่ายวันนี้ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ต่างประเทศ​ จะเดินทางลงพื้นที่ อ.แม่สอด​ จ.ตาก ซึ่งจะทำให้เห็นภาพสถานการณ์ชัดขึ้น ทั้งเรื่องการสู้รบในฝั่งเมียนมา​ การดูแลความสงบเรียบร้อยของคนไทย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐาน​หลักมนุษยธรรม​ ซึ่งมีความชัดเจนขึ้นในเรื่องปริมาณคนและวิธีให้การช่วยเหลือ   สำหรับการประชุมวันนี้ (23 เม.ย.) ได้ข้อสรุป 3 หลักการ​ คือ 1.การยึดมั่นรักษาอธิปไตยของไทย ซึ่งเป็นเรื่องหลักในการดูแลคนไทยที่ได้รับผลกระทบ, 2.ไม่ให้ใช้ดินแดนเขตไทยในการดำเนินกิจกรรมต่อต้านรัฐบาล​ต่างประเทศ​ ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติโดยปกติ และ 3.การยึดมั่นในหลักมนุษยธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นหัวใจในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือกับทุกฝ่าย   โฆษก กต. ระบุอีกว่า…