‘เทคนิคโจร’ ก็พัฒนา ‘ปล้นออนไลน์’ อาวุธ ‘จุดอ่อนเหยื่อ’

Loading

  นอกจาก “ภัยโฆษณาเกินจริง” ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ได้ชี้ให้เห็น “อันตราย” ไปแล้ว…กับ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” อย่างการ “ขโมยข้อมูล-ต้มตุ๋นออนไลน์” ก็เป็นอีกภัยที่ใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ   ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของไทย ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยอ้างอิงผลสำรวจของ Identity Theft Resource Center ที่พบว่า…ปี 2565 ทั่วโลกมีการโจมตีด้านข้อมูลส่วนบุคคลมากมาย โดยมีผู้เสียหายที่ถูกขโมยข้อมูลมากถึง 442 ล้านคน!!! ซึ่งแน่นอนว่าในจำนวนนี้ก็ย่อมมี “เหยื่อคนไทย” รวมอยู่ด้วย   ตัวเลขนี้ฉายชัด “สถานการณ์ปัญหา”   ที่โลกยุคใหม่ต้องเผชิญ “โจรไซเบอร์”   อีกหนึ่ง “ภัยคุกคามที่น่ากลัว” ในยุคนี้   “การแฮ็กข้อมูล การถูกเจาะระบบ กำลังเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะข้อมูลส่วนบุคคลได้กลายเป็นแหล่งทำเงินของแฮกเกอร์ไปแล้ว โดยแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลเหล่านี้ไปจะนำไปขายต่อเพื่อหาเงิน หรือแม้แต่สวมรอยแทนตัวตนของคนที่ถูกขโมยข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้” …เป็น “อันตราย”…

เรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด! “รู้ทันภัยไซเบอร์” ป้องกันอย่างไร..ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

Loading

  ปัจจุบัน Cybercrime หรือ อาชญากรรมไซเบอร์เกิดขึ้นทุกวันและมีอัตราการโจมตีเพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากกว่าในอดีต อีกทั้งอาชญากรรมไซเบอร์มีการพัฒนารูปแบบการจู่โจม เทคนิคและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น พร้อมแทรกซึมเข้าสู่องค์กรเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา   แล้วจะทำอย่างไร? ให้องค์กรของคุณ…สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัย และสามารถป้องกันพร้อมรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้   “Attackers are adapting and finding new ways to implement their techniques, increasing the complexity of how and where they host campaign operation infrastructure.” – Amy Hogan-Burney, General Manager, Digital Crimes Unit, Microsoft     1. Malware Attack ภัยคุกคามรุ่นบุกเบิกที่มักจะแฝงตัวมากับไฟล์ที่ดาวน์โหลด อีเมล และจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น…

แบงก์ชาติเอาจริง! ประกาศบังคับทุกธนาคาร เริ่มใช้มาตรการป้องกันภัยโกงเงิน

Loading

  แบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) เผยว่า ปัจจุบันภัยทุจริตทางการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและหลากหลายรูปแบบ เช่น SMS หลอกลวง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม และแอปพลิเคชันดูดเงิน จึงต้องบังคับใช้มาตรการป้องกันกับทุกธนาคาร   แบงก์ชาติ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่พบภัยจากไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็น SMS ปลอม , แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และแอปพลิเคชั่นดูดเงินต่างๆ   แบงก์ชาติ จึงต้องออกนโยบายเป็นชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน สรุปได้ดังนี้     มาตรการป้องกัน เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น –  ให้สถาบันการเงินงดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน –  จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking (username) ของแต่ละสถาบันการเงินให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น โดยต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง –  พัฒนาระบบความปลอดภัยบน…

ส่องเทรนด์ ‘ภัยคุกคาม’ รับมือ อาชญากรรมไซเบอร์ทวีคูณ

Loading

  ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เป็นสิ่งที่องค์กรต้องรับมืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การขับเคลื่อนป้องกันต้องมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ People, Process และ Technology   ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเติบโตอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด   ขณะเดียวกัน มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการตลาด ทำความเข้าใจลูกค้า อีกทางหนึ่งการทำงานของคนก็เปลี่ยนไปเป็นแบบรีโมทมากขึ้น ส่งผลทำให้องค์กรทุกขนาดต้องปรับตัววางแผนการทำงานผ่านคลาวด์   ข้อมูลโดยบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ ระบุว่า ปี 2568 องค์กรทั่วโลกจะใช้จ่ายกับคลาวด์มากขึ้น 20.4% ขณะที่ประเทศไทยจะเติบโตขึ้นถึง 36.6%   ปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด เปิดมุมมองว่า ไซเบอร์ซิเคียวริตี้จะเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในอนาคต   เมื่อโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าไปสู่การใช้คลาวด์ ระบบซิเคียวริตี้จะยื่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ     รับมือภัยคุกคามไร้ขอบเขต   องค์กรที่จะย้ายไปสู่คลาวด์ จะต้องมีการวางแผนและพร้อมวางรากฐานด้านความปลอดภัยไว้ตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมเตรียมรับมือความท้าทายใหม่ๆ ด้านซิเคียวริตี้ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 ดังนี้…

“ดีอีเอส” เตือนระวัง! 5 ภัยออนไลน์ช่วงปีใหม่

Loading

  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งเตือนไปยังประชาชนในช่วงเทศกาลวันหยุดปีใหม่ ให้ระมัดระวังคนร้ายแฝงตัวเข้ามาฉวยโอกาสหลอกลวง   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งเตือนไปยังประชาชนในช่วงเทศกาลวันหยุดปีใหม่ ให้ระมัดระวังคนร้ายแฝงตัวเข้ามาฉวยโอกาสหลอกลวง ทำให้เกิดความเสียหายแก่พี่น้องประชาชน ทั้งการกด Link ซื้อขายสินค้า โหลดสติกเกอร์ Line อวยพรปีใหม่ฟรี! เป็นต้น โดยดีอีเอส ได้รวบรวม 5 ภัยร้ายออนไลน์ รู้ไว้ ปลอดภัยกว่า เพื่อให้ประชาชนระมัดระวังตัวมากขึ้น ประกอบด้วย   1. หลอกโหลดสติกเกอร์ เทศกาลปีใหม่ฟรี! มิจฉาชีพเชิญชวนการโหลดสติกเกอร์ดังกล่าว แฝงตัวส่ง Link ให้โหลด อาจมีการหลอกลวงให้ผู้ใช้ไลน์ใส่ชื่อ และรหัสการเข้าใช้ไลน์ รวมถึงข้อมูลส่วนตัว ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพ นำชื่อและรหัสการใช้งานของท่านไปทำธุรกรรมต่าง ๆ หรืออาจมีการสวมสิทธิ์เพื่อกระทำผิดได้   2. หลอกรับบริจาค ทำบุญ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนอาจต้องการทำบุญเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลกับชีวิต มิจฉาชีพอาจมีการประกาศเชิญชวนให้ร่วมทำบุญ โดยอ้างบุคคลหรือกิจกรรมต่าง ๆ จึงควรตรวจสอบข้อมูลในกิจกรรมที่จะร่วมทำบุญว่า เป็นความจริงหรือไม่ อย่างไร ก่อนจะร่วมบริจาคเงินร่วมทำบุญออนไลน์ “มีสติ”…

รู้ทัน Darknet ตลาดค้าข้อมูล ชุมชนอาชญากรไซเบอร์

Loading

    ทำไมข้อมูลถึงเป็นสิ่งมีค่า ? ทำไมยุโรปต้องออกกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำไมองค์กรธุรกิจที่ปล่อยข้อมูลหลุดถึงต้องโดนปรับหลายพันล้าน บทความนี้มีคำตอบครับ   Techhub อยากพาทุกคนเข้าใจเรื่อง Darknet ตลาดค้าข้อมูล ที่สร้างรายได้ให้กับใครก็ได้สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวมาได้ นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมเราถึงมักได้ยินรายงานข่าวเกี่ยวกับการขโมยข้อมูลจากบริษัทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Twitter , Facebook และอื่น ๆ   ข้อมูลใน Darknet เปรียบเสมือนกับสินค้าถูกกฏหมายอื่น ๆ มีห่วงโซอุปทาน ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้บริโภค ซึ่งจะเชื่อมโยงกับกันหว่างองค์กรอาชญากรรมหลายแห่ง   จุดเริ่มส่วนใหญ่จะมาจากแฮกเกอร์ที่สามารถหาช่องโหว่ภายในองค์กรธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นั้นเพื่อขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลบัญชีธนาคาร และหมายเลขประกันสังคม รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ (อันนี้เรียกผู้ผลิต)   เมื่อได้ข้อมูลมา ส่วนใหญ่แล้วแฮกเกอร์จะไม่ได้เป็นคนขายข้อมูลนั้นเอง ข้อมูลจะถูกส่งต่อให้กับผู้ค้าส่งข้อมูล และถูกส่งไปยังผู้จำหน่ายข้อมูลรายย่อย สุดท้าย ข้อมูลจะถูกซื้อโดยมิจฉาชีพที่ต้องการนำข้อมูลนั้นไปเพื่อทำการฉ้อโกงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฟิชชิ่ง หรือการหลอกให้โอนเงิน โดยเฉพาะกับแก๊งคอลเซนเตอร์ที่เราเจอกันอยู่ทุกวันนี้  …