ปลอดภัยจากภัยไซเบอร์

Loading

  แม้จะมีกฎ กติกา และกฎหมายที่รัดกุม ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้   ข่าวคราวความเสียหายจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้นทุกปีทั้งในแง่จำนวนผู้เสียหาย และเม็ดเงินที่ถูกล่อลวงในหลายประเทศทั่วโลก จนหลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีมากเกินไปจนดูเหมือนจะควบคุมไม่อยู่ ความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีทั้งประโยชน์และโทษมาพร้อมกันเสมอ แต่กับเทคโนโลยีดิจิทัลอาจมีความพิเศษมากกว่า เพราะความเร็วในการแพร่กระจายและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความแพร่หลายของเทคโนโลยีดิจิทัลเกิดขึ้น เพราะการปฏิวัติในยุคไมโครคอมพิวเตอร์ที่ทำให้บริษัทขนาดเล็กรวมไปถึงคนทั่วไปมีโอกาสได้ใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เหมือนในอดีตที่คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์มีใช่เฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น   ในบ้านเราคอมพิวเตอร์เครื่องแรกใช้งานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 1963 ตามด้วยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปีถัดมา กลุ่มผู้ใช้งานจึงจำกัดเฉพาะนักวิชาการและนักสถิติ จนกระทั่งปี 1974 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการซื้อขายหุ้น หลังจากนั้นในช่วงปี 1980 ไมโครคอมพิวเตอร์ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความพยายามในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องใช้ความร่วมมือครั้งใหญ่ ซึ่งจุดเริ่มต้นจริงๆ อยู่ที่เครือข่ายด้านกลาโหมก่อนที่จะขยายวงมาถึงสถาบันการศึกษา และท้ายที่สุดคือการประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งเกิดขึ้นได้เพราะเป็นโครงการของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำ   ตัวอย่างเช่น เจอร์รี่ หยาง ผู้ก่อตั้งยาฮู อดีตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มาจนถึงยุคนี้ ก็มีมาร์ค ซัคเกอร์เบิรก์ ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊คจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ล้วนมีส่วนจุดประกายให้ธุรกิจในยุคอินเทอร์เน็ตขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ การจับคู่กันระหว่างโลกคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ มากมาย บ้างก็มาแทนที่ธุรกิจเดิมที่ได้รับผลกระทบจากวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นธุรกิจร้านหนังสือ ธุรกิจร้านเช่าวีดิโอ สถานีโทรทัศน์ ฯลฯ   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันจึงเปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนมีอินเทอร์เน็ตมหาศาล พรมแดนของแต่ละประเทศจึงมีบทบาทลดลงเพราะมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมโยงทั้งในด้านการค้า…

อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต ก่อต้นทุนทางเศรษฐกิจแค่ไหน

Loading

  เมื่อหลายองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ และการที่หน่วยงานรัฐถูกจารกรรมข้อมูลบ่อยครั้ง สะท้อนปัญหาอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อเราทุกคน ไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวหลายองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายล้านคนที่มาไทยรั่วไหล (22 ก.ย. 2564) ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขถูกเจาะ ทำให้ข้อมูลคนไข้นับหมื่นคนถูกขโมยไป (7 ก.ย. 2564) การที่หน่วยงานรัฐถูกจารกรรมข้อมูลบ่อยครั้ง สะท้อนปัญหาอาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น อันตรายต่อเราทุกคน Cybercrime Magazine ประเมินว่า ในปี 2021 ความเสียหายจากอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลกสูงถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าเทียบความเสียหายคิดเป็นขนาดของ GDP พบว่าเป็นรอง GDP ของประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนเท่านั้น ขณะที่ PurpleSec LLC ระบุว่าตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวนอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า   อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยของหน่วยงานและบุคคล เรื่องการเงิน เรื่องคุ้มครองข้อมูล ภาพโป๊เปลือย ฯลฯ จากข้อมูลของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีระบุว่า อาชญากรรมที่พบบ่อยบนอินเทอร์เน็ตมี 8 ประเภท ได้แก่ 1. ด้านการเงิน เช่น…

เปิดหลักเกณฑ์ตำรวจ “ล่าโจรโลกไซเบอร์”

Loading

  การฉ้อโกงผ่านโลกออนไลน์ที่เป็นข่าวโด่งดังหลายคดี ทำให้อาจสงสัยว่า ทำไมมีแค่คดีใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ที่จับกุมตัวคนร้ายได้ แต่กับคดีการฉ้อโกง-หลอกลวง หรือแม้แต่หมิ่นประมาททางออนไลน์ คดีความกลับไม่คืบหน้า เรามาหาคำตอบจากหลักเกณฑ์การล่าโจรไซเบอร์กัน 28 กันยายน 2564 พันตำรวจเอก ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บอกว่า ขณะนี้ ทาง ปอท.ได้รับมอบหมายหน้างานหลักเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนความผิดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง แต่ถ้าเป็นคดีฉ้อโกง หรืออาชญากรรมไซเบอร์ เช่น การแฮกข้อมูล หรือการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบ ก็จะเป็นหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนทางอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บช.สอท.ซึ่งมีคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ได้ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา ส่วนคดีหมิ่นประมาททางออนไลน์ ก็จะเป็นหน้าที่ของโรงพักท้องที่ ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เป็นหน้าที่ของ ปอท. ซึ่งทางสถานีตำรวจท้องที่อาจจะขอความร่วมมือในการให้ ปอท.เข้าไปช่วยเหลือ หากกรณีที่คดีมีความซับซ้อน แต่จริงๆแล้ว โรงพักท้องที่ก็สามารถสืบสวนคดีเหล่านี้ได้เอง หากย้อนไปดูคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 287/2564 จะพบว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ระบุว่า…