“นินทา” บริษัทบนออนไลน์ ระวัง! ถูกสอดแนมด้วย Bossware ตรวจจับคนชอบเผือก

Loading

    ในไทยอาจยังไม่มี แต่บริษัทในสหรัฐกว่า 70% จะเริ่มใช้ “Bossware” ซอฟต์แวร์สอดแนมการ “นินทา” บนแอปฯ ประชุมทางไกล/กรุ๊ปแชทคุยงานทางไกล (Hybrid Work Gossip) ของลูกจ้าง ตามแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ในอีก 2 ปีข้างหน้า   Key Points:   – รู้ว่าไม่ดี แต่ก็หยุดไม่ได้ เมื่อ “การนินทา” เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และมักเกิดขึ้นเพื่อทำลายความจำเจของกิจวัตรประจำวัน หรือเพื่อเติมชีวิตชีวาให้แก่วงสนทนา   – แต่ในยุคนี้ที่มีสื่อสังคมโซเชียลเชื่อมต่อผู้คนได้แบบไร้พรมแดน ยิ่งทำให้การนินทาว่าร้ายบนโลกออนไลน์เกิดขึ้นได้ง่าย และแพร่กระจายได้รวดเร็วหลายพันเท่า โดยเฉพาะหากการนินทานั้นพาดพิงถึงบริษัทจนเกิดความเสียหาย   – ด้วยความกังวลดังกล่าว ทำให้หลายบริษัทในสหรัฐอเมริกา หาวิธีการสอดแนมและตรวจสอบการนินทาบนโลกออนไลน์ของลูกจ้าง ผ่านซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า “Bossware” หลายคนรู้อยู่แก่ใจว่าการ “นินทา” คนอื่นมันไม่ดี แต่ถามว่ามนุษย์ออฟฟิศหยุดนินทาได้ไหม? เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ตอบเสียงดังฟังชัดว่า “หยุดไม่ได้จริงๆ” ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในทางจิตวิทยามีคำอธิบายว่า การนินทาอยู่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด…

อยู่ไหนกันบ้าง? สำรวจฐานทัพสหรัฐทั่วโลก

Loading

    การเมืองไทยหลังเลือกตั้งยังไม่ลงตัว แต่คนไทยบางกลุ่มกังวลไปถึงความสัมพันธ์กับมหาอำนาจสหรัฐ กลัวว่าจะถูกแทรกแซงโดยเฉพาะประเด็นการตั้งฐานทัพ กรุงเทพธุรกิจชวนสำรวจฐานทัพสหรัฐทั่วโลกว่าอยู่ที่ไหนกันบ้าง   เว็บไซต์ thesoldiersproject.org รายงานว่า สหรัฐเป็นหนึ่งในประเทศท็อปไฟว์ ที่มีกองทัพใหญ่สุดและอาวุธดีสุดของโลก จึงไม่ต้องแปลกใจที่สหรัฐมีฐานทัพมากมายในต่างประเทศ ราว 750 แห่งใน 80 ประเทศ รองลงมาคือสหราชอาณาจักรแต่มีเพียง 145 แห่งเท่านั้น ตามด้วยรัสเซียราว 36 แห่ง ส่วนจีนมีเพียง 5 แห่ง นั่นเท่ากับว่า สหรัฐมีฐานทัพมากกว่าอีกสามประเทศรวมกันถึงสามเท่า ข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้     หน่วยบัญชาการรบ (ขึ้นตรงกับสำนักงานใหญ่เพนตากอน)   สหรัฐมีหน่วยบัญชาการรบ 11 แห่ง ได้แก่   – หน่วยบัญชาการแอฟริกา คุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์สหรัฐในประเทศแอฟริกา   – หน่วยบัญชาการกลาง เน้นตะวันออกกลาง   – หน่วยบัญชาการไซเบอร์   – หน่วยบัญชาการยุโรป เน้นยุโรป ยูเรเชีย…

สหรัฐฯ-เกาหลีใต้ซ้อมรบครั้งใหญ่ใกล้ชายแดนเกาหลีเหนือ

Loading

    กองทัพเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ร่วมทำการซ้อมรบครั้งใหญ่ที่มีการยิงกระสุนจริงที่บริเวณใกล้ ๆ พรมแดนที่ติดกับเกาหลีเหนือในวันพฤหัสบดี แม้กรุงเปียงยางจะเตือนแล้ว ตนจะไม่อดกลั้นอดทนต่อสิ่งที่เป็นการซ้อมแผนรุกรานที่หน้าประตูบ้านเป็นอันขาด ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี   การซ้อมรบครั้งนี้ซึ่งเป็นรอบแรกจากทั้งหมด 5 รอบ ที่มีกำหนดจัดไปจนถึงกลางเดือนมิถุนายน เป็นการฉลองครบรอบ 70 ปีของการจัดตั้งพันธมิตรทางทหารระหว่างกรุงโซลและกรุงวอชิงตัน   โดยปกติ เกาหลีเหนือมักตอบโต้การซ้อมรบระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ด้วยการซ้อมยิงขีปนาวุธและการทดสอบอาวุธต่าง ๆ   นับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2022 เป็นต้นมา เกาหลีเหนือยิงทดสอบขีปนาวุธกว่า 100 ลูกไปแล้ว แต่หยุดการทดสอบไปหลังการยิงขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยไกลข้ามทวีปที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา   กรุงเปียงยางระบุว่า การยิงทดสอบทั้งหมดเป็นการตอบโต้การฝึกซ้อมรบทางทหารระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ที่มีการจัดบ่อยและขยายวงกว้างขึ้น แต่ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า เกาหลีเหนือนั้นมีเป้าหมายที่จะยกระดับโครงการพัฒนาอาวุธของตนเพื่อให้เป็นแรงต่อรองที่หนักหน่วงขึ้นเมื่อต้องมีการเจรจาทางการทูตกับคู่ปรับทั้งหลาย   การซ้อมรบระหว่างสองพันธมิตรนี้มีชื่อว่า “Combined annihilation firepower drills” หรือ การซ้อมกำลังอาวุธทำลายล้างร่วม ซึ่งเป็นครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับการซ้อมรบประเภทนี้ที่มีการจัดมาทั้งหมด 11 ครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 ตามข้อมูลของกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้     ในครั้งนี้ กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้เปิดเผยว่า…

อเมริกา-ไมโครซอฟท์ออกแถลงเตือน แฮ็กเกอร์จีนซุ่มเจาะโครงสร้างพื้นฐาน

Loading

  เอเอฟพี – อเมริกา ตลอดจนถึงพันธมิตรตะวันตก และไมโครซอฟท์ออกมาเตือนว่า แฮกเกอร์จีนที่ได้รับการสนับสนุนจากปักกิ่งได้แทรกซึมเจาะเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ โดยมีเป้าหมายในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารระหว่างอเมริกากับเอเชียหยุดชะงัก หากเกิดกรณีขัดแย้งในภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นยังมีแนวโน้มว่า การโจมตีเพื่อสอดแนมนี้อาจกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก   ไมโครซอฟท์ยกตัวอย่าง กวม ดินแดนของอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีที่ตั้งทางทหารสำคัญ เป็นหนึ่งในเป้าหมายการโจมตี แต่เพิ่มเติมว่า บริษัทตรวจพบกิจกรรมประสงค์ร้ายนี้ในสถานที่อื่น ๆ ในอเมริกา   การโจมตีล่องหนที่ดำเนินการโดยแฮกเกอร์จีนที่ได้รับการสนับสนุนจากปักกิ่งที่มีชื่อว่า “โวลต์ ไต้ฝุ่น” และเริ่มต้นมาตั้งแต่กลางปี 2021 ช่วยให้มีการสอดแนมระยะยาว และมีแนวโน้มว่าต้องการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารระหว่างอเมริกากับเอเชียหยุดชะงักหากเกิดกรณีขัดแย้งในภูมิภาคนี้   ไมโครซอฟท์เสริมว่า องค์กรที่ได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการนี้ครอบคลุมตั้งแต่ภาคการสื่อสาร การผลิต สาธารณูปโภค การขนส่ง การก่อสร้าง การเดินเรือ หน่วยงานรัฐบาล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการศึกษา   แถลงการณ์ของไมโครซอฟท์สอดคล้องกับคำแนะนำของทางการสหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักรที่เตือนว่า มีแนวโน้มว่าแฮกเกอร์จีนกำลังไล่เจาะระบบเครือข่ายทั่วโลก   อเมริกาและพันธมิตรระบุว่า แฮกเกอร์จีนใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “living off the land” หรือการใช้เครื่องมือเครือข่ายที่ติดตั้งในระบบอยู่แล้วเพื่อให้การเจาะระบบแนบเนียนไปกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ปกติ  …

สหรัฐฯ-ปาปัวนิวกินี ลงนามความร่วมมือกลาโหม หวังคานอำนาจจีนในแถบอินโด-แปซิฟิก

Loading

    วานนี้ (22 พฤษภาคม) แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าพบ เจมส์ มาเรบ นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี ก่อนที่ผู้แทนระดับสูงของทั้งสองประเทศจะร่วมลงนามในความร่วมมือด้านกลาโหม โดยสหรัฐฯ หวังคานอำนาจกับจีนในพื้นที่แถบอินโด-แปซิฟิก   โดยสหรัฐฯ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนกิจการด้านความมั่นคงของปาปัวนิวกินี โดยเฉพาะการฝึกเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกองทัพของปาปัวนิวกินี พร้อมท้ังจะขยายความร่วมมือไปยังมิติอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ การรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม   ก่อนที่ นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย และบลิงเคน จะเดินทางเข้าหารือกับบรรดาผู้นำประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกจำนวน 14 คน ที่กรุงพอร์ตมอร์สบี เมืองหลวงของปาปัวนิวกินี นับเป็นงานการประชุมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้ ตั้งแต่การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อปี 2018   โดยโมดีได้แสดงจุดยืนว่า “เราต่างเชื่อมั่นในความร่วมมือพหุภาคี เราสนับสนุนอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และโอบรับความหลากหลาย เราเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของทุก ๆ ประเทศ”   แม้ทางการจีนจะไม่ได้มีข้อขัดข้องกับความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และปาปัวนิวกินี แต่ก็แสดงความกังวลใจไม่น้อยถึงกรณีการเพิ่มจำนวนกองกำลังสหรัฐฯ เข้ามายังภูมิภาคดังกล่าวนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดเกมภูมิรัฐศาสตร์ที่ดุเดือดยิ่งขึ้นระหว่างสองมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ภายในภูมิภาค…

เอไอป่วน! ภาพปลอมว่อนเน็ต เหตุเพนตากอนโดนบึ้ม ฉุดตลาดหุ้นมะกันร่วง

Loading

  สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ภาพปลอมที่แสดงให้เห็นการเกิดเหตุระเบิดขึ้นที่เพนตากอน หรือกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย กลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์เมื่อวันจันทร์ (22 พ.ค.) และยังสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดหุ้นสหรัฐที่ทำการซื้อขายในวันเดียวกันในช่วงสั้น ๆ ด้วย   ภาพปลอมดังกล่าวที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนสงสัยว่าน่าจะเป็นภาพที่มาจากการใช้ระบบ Generative AI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแขนงหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสร้างคอนเทนต์ขึ้นเองได้อย่างรวดเร็ว เช่น รูปภาพ และงานศิลปะ ซึ่งภาพปลอมดังกล่าวได้ถูกแชร์อย่างแพร่หลายโดยบัญชีผู้ใช้งานหลายบัญชี ส่งผลให้เพนตากอนต้องออกมาแถลงยืนยันว่าไม่มีเหตุระเบิดเช่นนั้นเกิดขึ้นที่เพนตากอน   “เรายืนยันได้ว่านี่เป็นรายงานเท็จและไม่มีเหตุโจมตีเพนตากอนวันนี้” โฆษกของเพนตากอนระบุ   BREAKING: Explosion near Pentagon pic.twitter.com/q49yTVWhR8 — whalechart (@WhaleChart) May 22, 2023     ด้านกรมดับเพลิงอาร์ลิงตันโพสต์ลงโซเชียลมีเดียยืนยันเช่นกันว่า ไม่มีเหตุระเบิดหรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นที่หรือใกล้กับเพนตากอน   ขณะที่ทวีตล่าสุดที่เอเอฟพีพบเกี่ยวกับการแชร์ภาพเพนตากอน มาจากบัญชีของผู้สนับสนุนกลุ่ม QAnon ที่เคยเผยแพร่ข้อมูลอันบิดเบือน แม้จะไม่ทราบแหล่งที่มาต้นทางของภาพปลอมดังกล่าว   ภาพปลอมที่เกิดกับเพนตากอน เป็นเหตุการณ์คล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ที่มีการเผยแพร่ภาพปลอมต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ รวมถึงภาพปลอมที่แสดงให้เห็นอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ขณะถูกเจ้าหน้าที่จับกุม…