สหรัฐฯ อพยพพลเมืองอเมริกันชุดแรกหนีสงครามกลางเมืองซูดาน

Loading

    ชาวอเมริกันหลายร้อยคนเดินทางออกจากซูดานผ่านทางท่าเรือเมื่อวันเสาร์ ถือเป็นพลเมืองอเมริกันชุดแรกที่อพยพออกจากซูดานโดยความช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจากเกิดการสู้รบกลางเมืองในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างกองทัพบกซูดานกับกองกำลังกึ่งทหาร   เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ของสหรัฐฯ เฝ้าจับตาและคุ้มกันการอพยพประชาชนอเมริกันจำนวน 200-300 คนดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นจากการเดินทางด้วยขบวนรถโดยสารเป็นระยะทางกว่า 800 กิโลเมตรไปยังพอร์ตซูดาน เพื่อขึ้นเรือโดยสารข้ามทะเลแดงมุ่งหน้าไปยังซาอุดิอาระเบียที่ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่การทูตของรัฐบาลสหรัฐฯ รอให้ความช่วยเหลือ   ก่อนหน้านี้ ครอบครัวของชาวอเมริกันที่ติดอยู่ในซูดานวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลกรุงวอชิงตันที่ไม่ส่งเจ้าหน้าที่ไปยังซูดานเพื่อช่วยอพยพพลเมืองอเมริกันออกมา โดยคาดว่ามีชาวอเมริกันอาศัยอยู่ในซูดานราว 16,000 คนที่ต้องการลี้ภัยหนีสงครามกลางเมือง   เมื่อวันที่ 22 เมษายน กองกำลังพิเศษของอเมริกาเดินทางไปยังกรุงคาร์ทูมเพื่อช่วยเหลือนำบรรดาเจ้าหน้าที่การทูตและเจ้าหน้าที่รัฐบาลอเมริกันออกจากซูดานไปล่วงหน้าแล้ว พร้อมสั่งปิดสถานทูตสหรัฐฯ ในซูดาน แต่ยังมีพลเมืองอเมริกันจำนวนมากที่ตกค้างอยู่ในซูดาน     จนถึงขณะนี้ มากกว่าสิบประเทศ ได้นำตัวพลเมืองของตนออกมาจากซูดานแล้ว โดยใช้หลายวิธีด้วยกัน รวมถึงขบวนรถโดยสาร เครื่องบินทหาร เรือของกองทัพเรือ และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน รวมทั้งประเทศไทยที่ได้ส่งเครื่องบินไปรับตัวพลเมืองชาวไทยออกจากซูดานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา   นับตั้งแต่การสู้รบของกองทัพบกซูดานและกองกำลังกึ่งทหารเคลื่อนที่เร็ว หรือ อาร์เอสเอฟ ปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน สหรัฐฯ ได้ประกาศเตือนพลเมืองของตนให้หาทางหนีออกมาจากซูดาน รวมทั้งพยายามติดต่อไปยังประเทศอื่นเพื่อช่วยเหลือในการอพยพชาวอเมริกันออกจากพื้นที่สู้รบ ก่อนที่จะตัดสินใจจัดขบวนรถโดยสารไปรับพบเมืองอเมริกันกลับบ้าน…

ผู้นำเกาหลีใต้ฟุ้งความสัมพันธ์กับมะกันแน่นแฟ้น ไม่หวั่นอีกฝ่ายสอดแนม

Loading

    ผู้นำเกาหลีใต้ฟุ้งความสัมพันธ์กับมะกันแน่นแฟ้น ไม่หวั่นอีกฝ่ายสอดแนม ขณะเตรียมหารือกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อหารือประเด็นเกาหลีเหนือ จีน และปัญหาอื่นๆ   สัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและเกาหลีใต้จะไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่ สหรัฐสอดแนมเกาหลีใต้ อย่างแน่นอน โดยการลอบดักฟังพันธมิตรของสหรัฐนั้นถูกเปิดโปงต่อสาธารณชน หลังเอกสารลับของกระทรวงกลาโหมสหรัฐรั่วไหลบนโลกออนไลน์   ทั้งนี้ การให้สัมภาษณ์ครั้งนี้มีขึ้นในขณะที่ ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ยุนซอกยอล และ ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน มีกำหนดพบปะกันในสัปดาห์นี้ เพื่อหารือประเด็นเกาหลีเหนือ จีน และปัญหาอื่นๆ   เจ้าหน้าที่สหรัฐ และเกาหลีเหนือ ระบุว่า ข้อมูลส่วนใหญ่ในเอกสารลับที่รั่วไหลบนโลกออนไลน์นั้นไม่ถูกต้องและอาจถูกดัดแปลงแก้ไข แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงเพิ่มเติม   “ผมเชื่อว่าประเด็นนี้จะไม่สั่นคลอนความไว้วางใจที่แข็งแกร่งที่สนับสนุนความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐ และเกาหลีใต้ เพราะความไว้วางใจดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ทั้งสองประเทศต่างก็ให้คุณค่า เช่น เสรีภาพ” ประธานาธิบดี ยุนซอกยอล กล่าวเมื่อวันจันทร์ (24 เม.ย.)   ประธานาธิบดี ยุนซอกยอล กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ และเกาหลีใต้ตั้งอยู่บนความไว้เนื้อเชื่อใจระดับสูง “หากคุณมีความเชื่อใจในระดับนี้แล้ว คุณก็จะไม่สั่นคลอน”  …

ห้ามหรือยุ? สหรัฐฯ เตือนรัสเซียอย่าแตะต้อง ‘เทคโนโลยีเซนซิทีฟ’ ของอเมริกาในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยูเครน

Loading

    กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ส่งจดหมายแจ้งเตือนไปยังรัฐวิสาหกิจพลังงานนิวเคลียร์ Rosatom ของรัสเซียว่า “อย่าได้แตะต้อง” เทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีความเปราะบางของอเมริกาภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซียของยูเครน ซึ่งถูกกองทัพรัสเซียเข้าไปยึดเอาไว้เมื่อหลายเดือนก่อน   สำนักข่าว CNN รายงานว่า แอนเดรีย เฟอร์ไคล์ ผู้อำนวยการฝ่ายสำนักงานนโยบายไม่แพร่กระจายนิวเคลียร์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ได้ส่งจดหมายลงวันที่ 17 มี.ค. ปี 2023 ไปถึงผู้อำนวยการใหญ่ของ Rosatom โดยระบุว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย “มีฐานข้อมูลทางเทคนิคด้านนิวเคลียร์ที่ผลิตในสหรัฐฯ และถูกส่งออก (ไปยังยูเครน) ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา”   ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีกฎหมายควบคุมเข้มงวดสำหรับการส่งออกสินค้า ซอฟต์แวร์ หรือเทคโนโลยีใด ๆ ก็ตามซึ่งอาจจะถูกนำไปใช้งานในลักษณะที่บ่อนทำลายความมั่นคงของอเมริกา   โรงไฟฟ้าซาปอริซเซียซึ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปถูกกองกำลังรัสเซียบุกยึดไว้ตั้งแต่เดือน มี.ค.ปีที่แล้ว และเคยถูกตัดการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าของยูเครนบ่อยครั้งเนื่องจากรัสเซียยิงถล่มอย่างหนักในพื้นที่ จนทำให้ทั่วยุโรปหวาดกลัวว่าอาจจะเกิดหายนะนิวเคลียร์ขึ้น   แม้รัสเซียจะยังคงอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ยูเครนปฏิบัติหน้าที่ภายในโรงไฟฟ้าได้ตามเดิม ทว่าการบริหารจัดการทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของ Rosatom   กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ เตือน Rosatom ว่า การอนุญาตให้พลเมืองหรือองค์กรของรัสเซียเข้าไปจัดการเทคโนโลยีของสหรัฐฯ จะถือว่า “ผิดกฎหมาย”  …

มีผู้บุกรุกทำเนียบขาว เจ้าหน้าที่พบ เป็น “เด็ก 2 ขวบ”

Loading

    เกิดเหตุผู้บุกรุกทำเนียบขาว เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับเร่งเข้าควบคุมตัว พบเป็น “เด็กชายวัย 2 ขวบ” ที่คลานลอดรั้วเข้ามา   เมื่อวานนี้ (18 เม.ย.) เกิดเหตุมีผู้บุกรุกทำเนียบขาวของสหรัฐฯ ทำให้เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับเร่งเข้าควบคุมตัวผู้บุกรุกอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อไปถึง ก็พบว่า ผู้ที่บุกรุกเข้ามาเป็นเพียง “เด็กชายวัย 2 ขวบ” เท่านั้น และสั่งยกเลิกระบบแจ้งเตือนด้านความปลอดภัยทันที   แอนโทนี กูกลิเอลมี หัวหน้าฝ่ายสื่อสารของหน่วยสืบราชการลับ รายงานว่า ผู้บุกรุกตัวน้อยแทรกซึมเข้ามาในบริเวณทำเนียบขาวโดยการคลานผ่านช่องว่างของรั้วทางด้านทิศเหนือของทำเนียบขาว     “วันนี้หน่วยสืบราชการลับในเครื่องแบบพบอาคันตุกะอายุน้อยที่อยากรู้อยากเห็นบริเวณแนวรั้วด้านทิศเหนือของทำเนียบขาว โดยรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทำเนียบขาวเพียงช่วงสั้น ๆ” กูกลิเอลมีกล่าว   เขาเสริมว่า หลังจากพบตัวเด็กน้อย ก็ได้ดำเนินการส่งคืนให้กับพ่อแม่ซึ่งอยู่ที่ถนนเพนซิลเวเนียติดกับทำเนียบขาวอย่างรวดเร็ว พ่อแม่ของเด็กชายถูกสอบปากคำสั้น ๆ ก่อนจะถูกปล่อยตัวไป   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุมีเด็กน้อยคลานผ่านรั้วของทำเนียบขาว เคยมีเหตุการณ์ที่คล้ายกันนี้ในปี 2014 เมื่อเด็กวัยหัดเดินเบียดตัวผ่านรั้วทำเนียบขาวก่อนที่ประธานาธิบดี บารัก โอบามา จะกล่าวปราศรัย การบุกรุกนั้นทำให้ต้องปิดทำเนียบขาวชั่วคราว และทำให้การปราศรัยล่าช้า   รั้วของทำเนียบขาวที่เด็กวัยหัดคลานผ่านเข้าไปได้นี้มีความสูงเกือบ 4…

องค์การสหประชาชาติ ตำหนิสหรัฐอเมริกาเรื่องเอกสารลับที่รั่วไหล

Loading

    หลายสัปดาห์หลังจากมีการเผยแพร่เอกสารลับของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จำนวนมากบนสื่อสังคมออนไลน์ องค์การสหประชาชาติ ออกถ้อยแถลงตำหนิสหรัฐฯ กรณีที่มีการสอดแนมเลขาธิการและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติ   นายสเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกสหประชาชาติ กล่าวว่า สหประชาชาติมีความเห็นว่า การสอดแนมเจ้าหน้าที่บุคลากรของสหประชาชาติ ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของสหรัฐอเมริกาที่ระบุไว้ในกฎบัตรของสหประชาชาติและอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสหประชาชาติ และสหประชาชาติได้ส่งบันทึกไปยังคณะผู้แทนทางการทูตของสหรัฐฯ ในสหประชาชาติเกี่ยวกับเอกสารลับแล้ว   โดยในเอกสารลับส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ ที่ถูกนำมาเผยแพร่ เป็นการสอดแนมการสนทนาและการทำงานของนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง โดยมีการแสดงความเห็นว่า นายกูเตอร์เรส “อ่อนข้อ” ให้กับรัสเซียมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้มาตรการคว่ำบาตร ทั้งมีรายละเอียดการสนทนาส่วนตัวระหว่างนายกูเตอร์เรสกับนางอมินา โมฮัมเหม็ด รองเลขาธิการสหประชาชาติ   อย่างไรก็ตาม สำนักงานของนายกูเตอร์เรส ระบุว่า การทำงานของเขาอยู่ในสายตาของสาธารณชนมาเป็นเวลานาน จึงไม่แปลกใจหากจะมีการสอดแนมและดักฟังการสนทนาส่วนตัว แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือความบกพร่องหรือไร้ความสามารถที่ทำให้การสนทนาส่วนตัวถูกนำไปเผยแพร่ และถูกบิดเบือน               —————————————————————————————————————————————— ที่มา :           …

นักเรียนต่างชาติกังวลเรื่องความรุนแรงในรั้วมหาวิทยาลัย

Loading

  ความรุนแรงจากการใช้ปืนอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ขบวนพาเหรดในวันหยุด หรือร้านขายอาหาร และยังอาจเกิดขึ้นได้ในรั้วมหาวิทยาลัยอีกด้วย   เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ มือปืนคนหนึ่งเข้าไปก่อเหตุในบริเวณมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและบาดเจ็บอีก 5 คน และเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย 3 คนถูกเพื่อนร่วมชั้นฆ่าตายขณะที่เดินทางกลับมาจากกรุงวอชิงตัน   นอกจากนี้ยังมีการใช้ความรุนแรงรูปแบบอื่น ๆ ตามรั้วมหาวิทยาลัย อย่างเช่นเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว มีการก่อเหตุโดยใช้มีดคร่าชีวิตนักศึกษา 4 คนจากมหาวิทยาลัยไอดาโฮ ในขณะที่พวกเขานอนหลับอยู่ในบ้านที่อยู่ใกล้กับโรงเรียน ปัจจุบันยังคงมีการสืบสวนคดีนี้กันอยู่ ส่วนที่รัฐมิชิแกน ชายที่ก่อเหตุยิงนักเรียนฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา และที่รัฐเวอร์จิเนีย ตำรวจได้จับกุมนักเรียนที่ก่อเหตุยิงเพื่อนร่วมชั้นของเขาเอง   ข้อมูลจาก Violence Project ระบุว่า มีการก่อเหตุกราดยิงเก้าครั้งทั้งในหรือรอบ ๆ มหาวิทยาลัยในอเมริกาตั้งแต่ปี 1966   สำหรับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคในปี 2007 โดยนักศึกษาคนหนึ่งได้สังหารผู้คนไป 32 คนและบาดเจ็บอีก 17 คน   15 ปีต่อมา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและกฎเกณฑ์บางอย่าง แต่การก่อเหตุกราดยิงก็ยังคงเกิดขึ้น  …