ตำรวจปินส์ “ปะทะ” ม็อบต้านเอเปก-ด้าน “จีน” สุดเซ็งสหรัฐฯ ชงปัญหาทะเลจีนใต้บดบังเจรจา “ศก.-การค้า”

Loading

          เอเอฟพี – ตำรวจปราบจลาจลฟิลิปปินส์ปะทะกับกลุ่มผู้ประท้วงหลายร้อยที่พยายามฝ่าแนวกั้นด้านนอกสถานที่จัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มความร่วมมือเขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) วันนี้ (19 พ.ย.) ขณะที่การหารือระหว่างผู้นำ 21 ชาติถูกครอบงำด้วยปมปัญหาทะเลจีนใต้ที่สหรัฐฯ และจีนต่างงัดข้อกันอยู่        การประชุมเอเปกซึ่งฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพในปีนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างกลไกการค้าที่เป็นเอกภาพในกลุ่มประเทศสมาชิก แต่ก็มักจะถูกเบนประเด็นด้วยข้อพิพาทที่กำลังร้อนระอุ        ประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ประกาศหนุนหลังชาติพันธมิตรที่พัวพันข้อพิพาทกับปักกิ่งในเรื่องทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโลก        แม้ทางการฟิลิปปินส์จะระดมกำลังตำรวจและทหารกว่า 20,000 นายคุมเข้มความปลอดภัยอย่างเต็มพิกัด แต่ก็ไม่วายเกิดเหตุกระทบกระทั่งกับกลุ่มผู้ชุมนุมใกล้ๆ สถานที่จัดประชุม เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา        ตำรวจซึ่งมีอุปกรณ์ปราบจลาจลครบมือทั้งหมวก โล่ และกระบอง ได้ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงสกัดกลุ่มผู้ประท้วงที่พยายามจะฝ่าแนวกั้นเข้าไปยังสถานที่จัดประชุมเอเปกที่อยู่ห่างออกไปราว 1 กิโลเมตร แต่ถึงแม้จะเกิดเหตุชุลมุนตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา ทว่าสถานการณ์ก็ไม่ได้รุนแรงมาก และตำรวจยังคงอนุญาตให้ผู้ประท้วงยืนชุมนุมอยู่ที่หลังแนวกั้นต่อไปได้      …

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสหรัฐฯ กังวลเกี่ยวกับจุดอ่อนการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน

Loading

       วอชิงตัน (ซีเอ็นเอ็น) กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ หรือ ดีเอชเอส (DHS) กำลังเร่งหาทางแก้ไขจุดอ่อนของการรักษาความปลอดภัยการบิน ซึ่งเจ้าหน้าที่กว่า 900,000 นายส่วนใหญ่นั้นสามารถเข้าถึงงานภายในท่าอากาศยานของประเทศได้เป็นอิสระ การพยายามแก้ไขปัญหา “ภัยคุกคามการรักษาความปลอดภัยภายใน” ควรเป็นไปอย่างเร่งด่วนมากขึ้น หากการตกของเครื่องบินสายการบินรัสเซียในคาบสมุทรไซนาย อียิปต์พิสูจน์แล้วว่าเป็นผลมาจากการวางระเบิดโดยผู้ที่สามารถเข้าถึงเครื่องบินได้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแห่งชาติสหรัฐฯ บางคนอ้างข้อมูลข่าวกรอง กล่าวว่ามีโอกาสที่วัตถุระเบิดจะถูกนำมาไว้ในเครื่องบิน และมีแนวโน้มที่ผู้บุกรุกใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน ชาร์ม เอล ชีค โดยซุกซ่อนวัตถุระเบิดมาบนเครื่องบิน แต่กระนั้นสาเหตุอื่นยังไม่ได้ถูกตัดออกไป เจ้าหน้าที่สอบสวนกล่าวว่ายังไม่พบหลักฐานทางกายภาพกลับคืนมาเพื่อยืนยันข้อสงสัยเกี่ยวกับวัตถุระเบิด และสาเหตุอื่น ๆ ก็ยังไม่ได้ถูกตัดออกไปเช่นกัน ขณะที่สหรัฐฯ ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการคัดกรองผู้โดยสารด้วยเครื่องสแกนเนอร์และตรวจประวัติ แต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสหรัฐฯ ระดับสูงบางคนก็ยังกังวลเกี่ยวกับข้อบกพร่องในวิธีการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยาน ความกังวลของสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า หน่วยงานควบคุมความปลอดภัยด้านการเดินทางสาธารณะ หรือ ทีเอสเอ (TSA) ซึ่งดูแลความปลอดภัยทั้งการเดินทางทางอากาศนั้นเชื่อมั่นในการควบคุมของท่าอากาศยาะและการตรวจสอบเจ้าหน้าที่การบินในแต่ละประเทศ ซึ่งมีมากกว่า 450 แห่ง ท่าอากาศยานบางแห่งทำสัญญาให้ ทีเอสเอทำการตรวจสอบประวัติ รวมทั้งการตรวจสอบฐานข้อมูลการก่อการร้าย สถานะการเข้าเมืองตามกฎหมาย และประวัติอาชญากรรม เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่มีความรู้ด้านการรักษาความปลอดภัยการบินของสหรัฐฯ กล่าวว่า แม้การรักษาความปลอดภัยของสหรัฐฯ ถูกมองว่าเป็นมาตรฐานที่ดีที่สุด แต่ก็ยังเป็นกังวลเกี่ยวกับวิธีกำหนดคัดกรองเจ้าหน้าที่…