ข่าวกรองโสมขาวเผย! แฮ็กเกอร์โสมแดงปลอมเว็บดัง ‘Naver’ ล้วงบัญชีผู้ใช้-รหัสผ่านปชช.

Loading

    สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน สำนักข่าวกรองแห่งชาติเกาหลีใต้กล่าวว่า เกาหลีเหนือได้สร้างเว็บไซต์ Naver หรือเว็บพอร์ทัลอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ เวอร์ชั่นปลอมขึ้นมา ในแผนการฟิชชิง (Phishing) หรือการหลอกลวงทางออนไลน์ที่แยบยลเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล   สำนักข่าวกรองแห่งชาติเกาหลีใต้ กล่าวว่า เปียงยางได้สร้างเว็บไซต์ฟิชชิงที่ลอกเลียนแบบหน้าหลักของเว็บไซต์ Naver ที่มีทั้งการอัปเดตข่าวแบบเรียลไทม์ การลงทุน และข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ และกล่าวว่า เว็บไซต์ naverportal.com ถูกออกแบบมาเพื่อแฮ็กข้อมูลส่วนตัว อย่างชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของชาวเกาหลีใต้   “เนื่องจากเกาหลีเหนือใช้วิธีการแฮ็กข้อมูลของประชาชนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น พวกเราจึงขอให้ประชาชนระมัดระวังเป็นพิเศษ” สำนักข่าวกรองแห่งชาติเกาหลีใต้กล่าว และว่า “โปรดหยุดการเชื่อมต่อทันทีหากพบหน้าเว็บไซต์ที่ไม่ใช่ URL ของโดเมน Naver มาตรฐาน”   โดยก่อนหน้านี้ เกาหลีเหนือพยายามขโมยข้อมูลบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของเกาหลีใต้โดยการลอกเลียนแบบหน้าเข้าสู่ระบบ (Log-in) ของ Naver แต่การสร้างเว็บไซต์พอร์ทัลปลอมถือเป็นวิธีการใหม่   ด้าน Naver ได้ออกมาเตือนผู้ใช้ให้ยังคงมีความระมัดระวังต่อไป และว่า “เราขอให้ผู้ใช้ตรวจสอบว่าที่อยู่ URL นั้นถูกต้องหรือไม่ และระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อเข้าเว็บไซต์ Naver”  …

เทคโนโลยี ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ คืออะไร และทำไมเกาหลีเหนือถึงพยายามเร่งพัฒนาอย่างหนัก

Loading

    เมื่อไม่นานมานี้ เกาหลีเหนือเพิ่งทดสอบขีปนาวุธวิถีโค้งข้ามทวีป (ICBM) ที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการใช้เชื้อเพลิงลักษณะนี้กับจรวดขีปนาวุธพิสัยไกล และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพิ่มศักยภาพทางการรบของกรุงเปียงยางด้วยความสามารถเตรียมตัวยิงภายในระยะเวลาอันสั้น   แต่ ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ ที่ว่านี้ คืออะไร แล้วทำไมเกาหลีเหนือถึงเร่งพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวมาเสริมโครงการขีปนาวุธของตน   เทคโนโลยี ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ คืออะไร   โดยหลัก ๆ แล้ว เทคโนโลยีเชื้อเพลิงแข็ง คือ การผสมเชื้อเพลิงและตัวออกซิไดเซอร์ หรือสารตัวให้ออกซิเจน เข้าด้วยกัน โดย ผงโลหะ เช่น อะลูมิเนียม มักถูกใช้เป็นเชื้อเพลิง และแอมโมเนียม เปอร์คลอเรต ก็เป็นตัวออกซิไดเซอร์ที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด   เชื้อเพลิงและตัวออกซิไดเซอร์จะถูกผนวกเข้ากันด้วยวัสดุยางแข็งและบรรจุอยู่ในปลอกโลหะ เมื่อจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งเผาไหม้ ออกซิเจนจากแอมโมเนียม เปอร์คลอเรตจะรวมเข้ากับอะลูมิเนียมเพื่อผลิตพลังงานมหาศาลและอุณหภูมิมากกว่า 2,760 องศาเซลเซียส ที่สร้างแรงขับและส่งให้ขีปนาวุธออกจากแท่นยิงได้   ใครมีเทคโนโลยีนี้อยู่ในมือบ้าง     จีนคือผู้ที่คิดค้นเทคโนโลยีเชื้อเพลิงแข็งมาตั้งแต่เมื่อหลายศตวรรษก่อน เพื่อใช้กับดอกไม้ไฟ และก่อนจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ด้วยงานพัฒนาของฝั่งสหรัฐฯ   ในแง่การใช้งานกับขีปนาวุธนั้น สหภาพโซเวียตยิงขีปนาวุธข้ามทวีป…

สหรัฐ-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ตั้งเป้าแบ่งปันข้อมูลแจ้งเตือนขีปนาวุธเกาหลีเหนือ

Loading

(จากซ้ายไปขวา) ใบหน้าของประธานาธิบดีเกาหลีใต้, ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น บนป้ายประท้วงที่มีเนื้อหาต่อต้านการจับมือเป็นพันธมิตรไตรภาคี (Photo by ANTHONY WALLACE / AFP)   สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตั้งเป้าที่จะแบ่งปันข้อมูลการแจ้งเตือนขีปนาวุธเกาหลีเหนือก่อนสิ้นปี 2566 โดยทั้งสามประเทศระบุในถ้อยแถลงหลังการประชุมสุดยอดผู้นำกลาโหมในสิงคโปร์   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แถลงร่วมกันเกี่ยวกับความร่วมมือในการตอบสนองต่อขีปนาวุธเกาหลีเหนือ   พันธมิตรทางทหารทั้งสามชาติประกาศจะแบ่งปันข้อมูลการแจ้งเตือนขีปนาวุธของเกาหลีเหนือระหว่างกัน ก่อนสิ้นสุดปี 2566   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังความพยายามของเกาหลีเหนือที่จะปล่อยดาวเทียมสอดแนมขึ้นสู่วงโคจรอวกาศเมื่อต้นสัปดาห์ แต่จบลงด้วยความล้มเหลวหลังจากจรวดขัดข้องและร่วงสู่ทะเล   แถลงการณ์ร่วมของสามชาติระบุว่า พันธมิตรไตรภาคีจะร่วมใช้กลไกการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลการเตือนขีปนาวุธแบบเรียลไทม์ก่อนสิ้นปี เพื่อปรับปรุงความสามารถของแต่ละประเทศในการตรวจจับและประเมินขีปนาวุธที่ยิงโดยเกาหลีเหนือ   ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ, ยาสุคาซู ฮามาดะ รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น และลี จงซ็อบ รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ ได้หารือร่วมกันนอกรอบการประชุมสุดยอดความมั่นคงเอเชีย หรือแชงกรีล่า ไดอะล็อก (Shangri-La Dialogue:…

‘ญี่ปุ่น-โซล’ เตือนภัยวุ่น เกาหลีเหนือปล่อยดาวเทียมสอดแนม ก่อนพังร่วงตกทะเล

Loading

Kyodo News via AP   ‘ญี่ปุ่น-โซล’ เตือนภัยวุ่น เกาหลีเหนือปล่อยดาวเทียมสอดแนม ก่อนพังร่วงตกทะเล   เกาหลีเหนือได้ปล่อวจรวดส่งดาวเทียมสอดแนมขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อช่วงเช้าวันที่ 31 มิถุนายน หลังจากที่ได้มีการแจ้งเตือนก่อนหน้านี้ถึงปฏิบัติการดังกล่าว ก่อนที่จะจบลงด้วยความล้มเหลว ทำให้จรวดตกลงสู่ท้องทะเลในเวลาต่อมา พร้อมประกาศว่าจะทำการทดสอบครั้งที่ 2 โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้   สำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (เคซีเอ็นเอ) รายงานในเวลาต่อมาว่า จรวจส่งดาวเทียม “ชอลลีมา-1” ประสบความล้มเหลว เนื่องจากเครื่องยนต์และระบบเชื้อเพลิงไม่เสถียร ทำให้จรวดขั้นที่ 2 ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เครื่องส่งกำลังและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่บรรทุกขึ้นไปกับจรวดตกสู่ท้องทะเล   ทั้งนี้ ถือเป็นความพยายามครั้งที่ 6 ของเกาหลีเหนือที่จะส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้ความพยายามที่จะส่งดาวเทียมสอดแนมทางทหารดวงแรกของเกาเหลือเหนือขึ้นสู่ห้วงอวกาศ   การปล่อยจรวดดังกล่าวของเกาหลีเหนือยังสร้างความปั่นป่วนให้กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยในกรุงโซล เสียงไซเรนเตือนภัยทางอากาศดังขึ้นทั่วเมืองในเวลาประมาณ 06.32 น. วันนี้ พร้อมกับมีการเตือนให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับการอพยพที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะมีการแจ้งในอีก 20 นาทีต่อมาว่า การเตือนครั้งแรกนั้นเป็นความผิดพลาด   ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นออกคำเตือนฉุกเฉิน…

เพื่อนบ้านระทึก! เกาหลีเหนือเตรียมปล่อย ‘ดาวเทียมสอดแนม’ ญี่ปุ่นสั่งกองทัพ ‘ยิงทำลาย’ ได้ทันทีหากคุกคามดินแดน

Loading

  ขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีป Hwasong-18 ถูกยิงขึ้นจากสถานที่ซึ่งไม่ระบุ ตามภาพที่เผยแพร่โดยสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (KCNA) เมื่อวันที่ 16 พ.ค.   กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นมีคำสั่งให้กองทัพเตรียมพร้อมยิงทำลายขีปนาวุธเกาหลีเหนือซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามต่อดินแดนของญี่ปุ่น หลังจากที่เปียงยางส่งหนังสือแจ้งเตือนว่า จะมีการปล่อยดาวเทียมสอดแนมทางทหารขึ้นสู่วงโคจรภายในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า   สื่อเอเอฟพีอ้างข้อมูลจากโฆษกยามฝั่งญี่ปุ่นซึ่งระบุว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือได้แจ้งเตือนมายังญี่ปุ่นว่ามีแผนจะปล่อยดาวเทียมสู่วงโคจร ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-11 มิ.ย. พร้อมทั้งระบุพื้นที่เสี่ยงต่อการตกของเศษซากจรวดครอบคลุมทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และฝั่งตะวันออกของเกาะลูซอนในฟิลิปปินส์   ด้านสำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแถลงผ่านทวิตเตอร์ว่า นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ “รวบรวมข่าวกรองเกี่ยวกับแผนการยิงขีปนาวุธทิ้งตัว (ballistic missile) ซึ่งเกาหลีเหนืออ้างว่าเป็นดาวเทียม”   คิชิดะ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า “ต่อให้เกาหลีเหนืออ้างว่าสิ่งที่จะยิงคือดาวเทียมก็ตาม แต่การใช้เทคโนโลยีขีปนาวุธทิ้งตัวก็ถือว่าเข้าข่ายละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ” และยังเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตประชาชนด้วย   ย้อนไปเมื่อปี 2012 และ 2016 เกาหลีเหนือได้ยิงทดสอบขีปนาวุธทิ้งตัวลอยข้ามผ่านจังหวัดโอกินาวาทางตอนใต้ของญี่ปุ่น โดยยกเรื่องการส่งดาวเทียมมาเป็นข้ออ้างเช่นกัน   คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือได้เดินทางไปเยี่ยมชมดาวเทียมสอดแนมทางทหารดวงแรกของประเทศในเดือนนี้ พร้อมกับให้ “ไฟเขียว” สำหรับแผนปฏิบัติการปล่อยดาวเทียมซึ่งจะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า…

สหรัฐฯ-เกาหลีใต้ซ้อมรบครั้งใหญ่ใกล้ชายแดนเกาหลีเหนือ

Loading

    กองทัพเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ร่วมทำการซ้อมรบครั้งใหญ่ที่มีการยิงกระสุนจริงที่บริเวณใกล้ ๆ พรมแดนที่ติดกับเกาหลีเหนือในวันพฤหัสบดี แม้กรุงเปียงยางจะเตือนแล้ว ตนจะไม่อดกลั้นอดทนต่อสิ่งที่เป็นการซ้อมแผนรุกรานที่หน้าประตูบ้านเป็นอันขาด ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี   การซ้อมรบครั้งนี้ซึ่งเป็นรอบแรกจากทั้งหมด 5 รอบ ที่มีกำหนดจัดไปจนถึงกลางเดือนมิถุนายน เป็นการฉลองครบรอบ 70 ปีของการจัดตั้งพันธมิตรทางทหารระหว่างกรุงโซลและกรุงวอชิงตัน   โดยปกติ เกาหลีเหนือมักตอบโต้การซ้อมรบระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ด้วยการซ้อมยิงขีปนาวุธและการทดสอบอาวุธต่าง ๆ   นับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2022 เป็นต้นมา เกาหลีเหนือยิงทดสอบขีปนาวุธกว่า 100 ลูกไปแล้ว แต่หยุดการทดสอบไปหลังการยิงขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยไกลข้ามทวีปที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา   กรุงเปียงยางระบุว่า การยิงทดสอบทั้งหมดเป็นการตอบโต้การฝึกซ้อมรบทางทหารระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ที่มีการจัดบ่อยและขยายวงกว้างขึ้น แต่ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า เกาหลีเหนือนั้นมีเป้าหมายที่จะยกระดับโครงการพัฒนาอาวุธของตนเพื่อให้เป็นแรงต่อรองที่หนักหน่วงขึ้นเมื่อต้องมีการเจรจาทางการทูตกับคู่ปรับทั้งหลาย   การซ้อมรบระหว่างสองพันธมิตรนี้มีชื่อว่า “Combined annihilation firepower drills” หรือ การซ้อมกำลังอาวุธทำลายล้างร่วม ซึ่งเป็นครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับการซ้อมรบประเภทนี้ที่มีการจัดมาทั้งหมด 11 ครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 ตามข้อมูลของกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้     ในครั้งนี้ กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้เปิดเผยว่า…