สังคมโลก : ยุคเฟคนิวส์

Loading

  พรรคประชาธิปไตยเกาหลีหรือ ดีพีเค (DemocraticParty of Korea : DPK) พรรครัฐบาลเกาหลีใต้ ใกล้บรรลุเป้าหมายผลักดันกฎหมายสื่อสารมวลชนฉบับแก้ไขใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายต่อสู้กับข่าวปลอมหรือข่าวบิดเบือน ที่กำลังสร้างความปั่นป่วน ในทุกภาคส่วนสังคมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ร่างกฎหมาย Acton Press Arbitration and Remedies ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ของรัฐสภาเกาหลีใต้ เมื่อปลายเดือนก.ค. และผ่านขั้นกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 25ส.ค. ที่ผ่านมา และคาดว่าจะผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมรัฐสภา ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้โดยสมบูรณ์ในอีกไม่นาน กฎหมายสื่อฉบับใหม่กำหนดบทลงโทษปรับหนักขึ้น 5 เท่า สำหรับความผิดฐานตีพิมพ์เผยแพร่รายงาน ที่เป็นเท็จหรือบิดเบือน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของผู้เสียหาย หรือทำให้เกิดภาวะบีบคั้นทางจิตใจ ไม่ว่าการเผยแพร่จะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดให้สำนักข่าวหรือองค์กรสื่อ รวมถึงเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ต้องแก้ไขความผิดพลาด หรือชี้แจงข้อเท็จจริงโดยระบุว่า เป็นการเผยแพร่โดยตั้งใจหรือ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ระบุชัดคำนิยามของ “ข้อมูลเท็จหรือบิดเบือน” นอกจากนั้น การกำหนดค่าเสียหายกฎหมายกำหนดให้ศาลพิจารณาจาก “อิทธิพลทางสังคม และยอดจำหน่าย” ขององค์กรสื่อ ซึ่งหมายความว่าหากเป็นหนังสือพิมพ์ สำนักข่าว สถานีโทรทัศน์…

‘เกาหลีใต้’ จ่อฟ้องเฟซบุ๊ค ปล่อยข้อมูลส่วนตัวรั่ว

Loading

    กลุ่มผู้ใช้งานเฟซบุ๊ค ในเกาหลีใต้ เตรียมรวมตัวฟ้อง ฐานปล่อยให้ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลไปยังบริษัทอื่น ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต บริษัทกฎหมายจีฮยางและศูนย์ข้อมูลจินโบ ซึ่งเป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล อยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูลจากผู้ร้องทุกข์ที่ต้องการฟ้องเฟซบุ๊คจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. เมื่อเดือน พ.ย. 2563 คณะกรรมการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลแห่งเกาหลีใต้ (PIPC) ระบุว่า เฟซบุ๊คได้ละเมิดกฎหมายของเกาหลีใต้ด้วยการส่งมอบข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานอย่างน้อย 3.3 ล้านคน จากจำนวนผู้ใช้งานทั้งสิ้น 18 ล้านคนให้กับบุคคลที่ 3 ตั้งแต่เดือนพ.ค. 2555 ถึงเดือนมิ.ย. 2561 ข้อมูลดังกล่าวประกอบไปด้วยประวัติการศึกษา อาชีพ สถานที่เกิด และสถานภาพความสัมพันธ์ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับเพื่อนของผู้ใช้งาน ซึ่งทางหน่วยงานได้สั่งปรับเฟซบุ๊คเป็นเงิน 6.7 พันล้านวอน (6 ล้านดอลลาร์) และยื่นคำฟ้องคดีอาญาฐานปล่อยให้ข้อมูลรั่วไหล บริษัทกฎหมายจีฮยางระบุว่า “สิทธิในการตัดสินใจใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรที่จะต้องมีกฎหมายคุ้มครองอย่างเข้มงวด ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน” พร้อมกล่าวว่า การกระทำของเฟซบุ๊คถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรง รายงานระบุว่า มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊คกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกที่ประสบปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนตั้งคำถามถึงระบบการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลของเฟซบุ๊ค   ——————————————————————————————————————————————– ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ …

เกาหลีใต้เร่งปกป้องความลับทางการค้าจากจีน

Loading

  เกาหลีใต้ ในฐานะประเทศอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงระดับต้นๆของโลก ปรับปรุงการปกป้องความลับทางการค้ากับจีนในทุกระดับ หลังเกาหลีใต้เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับคู่แข่งอย่างจีน ในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงจากแดนโสมขาวมาใช้ยกระดับพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ และชิปประมวลผล ที่จีนยังเข้าไม่ถึง หนึ่งในนักธุรกิจเกาหลีใต้ในบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเดินทางไปกลับกรุงปักกิ่งและกรุงโซลเป็นประจำ แต่ไม่ประสงค์เปิดเผยชื่อ ยกตัวอย่างให้ฟังว่า หากบริษัทในจีนขาดแคลนพนักงานที่เชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบแผงวงจรในประเทศ บริษัทในจีนจะใช้วิธียิงโฆษณาตามเว็บไซต์ เพื่อดึงตัวพนักงานมีทักษะจากเกาหลีใต้ ให้เข้าไปร่วมงานกับจีนแบบสัญญาจ้างในระยะเวลา 2 ปี ด้วยค่าจ้างที่สูงกว่าในเกาหลีใต้ถึง 2 เท่า รวมทั้งมีโบนัสให้และครอบคลุมค่าใช้จ่ายของครอบครัวและค่าเล่าเรียนบุตรด้วย และเมื่อจบสัญญา 2 ปี และบริษัทจีนได้ทักษะที่ต้องการจากพนักงานรายนั้นแล้ว บริษัทจีนจะพร้อมเลิกจ้างและมองหาพนักงานในทักษะอื่นที่ต้องการแทน พัค วอนฮยอง อาจารย์ด้านวิศวกรรมความปลอดภัยของข้อมูล จากมหาวิทยาลัยซังมยองในกรุงโซล ให้ข้อมูลกับวีโอเอว่า การดึงตัวพนักงานมีทักษะจากเกาหลีใต้ เป็นหนทางเดียวที่จีนจะได้เทคโนโลยีขั้นสูงจากเกาหลีใต้ไปอยู่ในมือ แต่มีกรณีอื่นๆ เช่น การซื้อขายความลับทางการค้าหรือเทคโนโลยีโดยตรงจากพนักงานที่อยู่ในบริษัทเทคโนโลยีในเกาหลีใต้ อาจารย์มหาวิทยาลัยซังมยองในกรุงโซล เพิ่มเติมว่า ตอนนี้มีการจารกรรมข้อมูลความลับทางการค้าโดยกลุ่มแฮกเกอร์จากจีนที่เข้าเจาะล้วงข้อมูลในบริษัทเกาหลีใต้โดยตรง ผ่านเสิร์จเอ็นจิน SHODAN ที่ให้ผู้ใช้เข้าถึงคอมพิวเตอร์ที่มีระบบป้องกันซับซ้อนหลายชั้นได้ และมีหลักฐานว่าเหล่าแฮกเกอร์นี้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีน ข้อมูลจาก National Intelligence Service หรือ NIS หน่วยข่าวกรองของเกาหลีใต้ ระบุว่า พบข้อมูลรั่วไหลด้านเทคโนโลยีจากเกาหลีใต้ในช่วงปี 2015-2019…

เกาหลีเหนือแฮ็กข้อมูลวัคซีนบริษัท Pfizer

Loading

  มีกระแสข่าวตั้งแต่ปีที่แล้วว่าเกาหลีเหนือส่งกองทัพแฮกเกอร์ล้วงความลับเรื่องวัคซีนจากบริษัทที่พัฒนาวิธีรักษาโควิด-19 หน่วยงานสายลับของเกาหลีใต้เปิดเผยว่าแฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของ บริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ยักษ์ใหญ่ด้านเภสัชกรรมเพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาและเทคโนโลยีการรักษาโควิด-19 ฮาแทกึง ส. ส. ของเกาหลีใต้กล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังการรับฟังสรุปจากหน่วยข่าวกรองแห่งชาติของรัฐบาลเกาหลีใต้ว่า เกาหลีเหนือพยายามแสวงหาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิดและการรักษา โดยการใช้ปฏิบัติการสงครามไซเบอร์เพื่อเจาะเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ Pfizer เป็นที่ทราบกันดีว่าเกาหลีเหนือมีกองทัพของแฮกเกอร์ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีหลายพันคนที่โจมตีบริษัท, สถาบัน และนักวิจัยในเกาหลีใต้และที่อื่นๆ เดรื่องนี้สอดคล้องกับการที่บริษัท Microsoft Corp. เปิดเผยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่าแฮกเกอร์จากเกาหลีเหนือและรัสเซียได้เล็งเป้าหมายไปที่บริษัทที่มีชื่อเสียง 7 แห่งที่ทำงานเกี่ยวกับวัคซีนโควิด -19 และการวิจัยการรักษาโรคนี้ ต่อมา Pfizer และ BioNTech SE หุ้นส่วนสัญชาติเยอรมันกล่าวในภายหลังว่าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีนของพวกเขาถูกล็อคเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์ เกาหลีเหนือที่ยากจนแต่มีอาวุธนิวเคลียร์ ล็อคดาวน์โดยปิดพรมแดนเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้วเพื่อพยายามป้องกันตัวเองจากไวรัส โดยผู้นำคิมจองอึนยืนยันซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าประเทศนี้ไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกจะสงสัยในคำยืนยันเหล่านั้นก็ตาม และการล็อคดาวน์ได้เพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจที่ตกต่ำจากการคว่ำบาตรของนานาชาติจากการที่เกาหลีเหนือพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้รัฐบาลเกาหลีเหนือต้องเร่งหาทางจัดการกับโรคนี้   ————————————————————————————————————————————————– ทีมา : โพสต์ทูเดย์   / วันที่เผยแพร่  16 ก.พ.64 Link : https://www.posttoday.com/world/645543