เกาหลีใต้ระบุ ‘ชายผู้ข้ามเขตปลอดทหาร’ เคยแปรพักตร์จากเกาหลีเหนือ

Loading

A South Korean soldier walks along a military fence near the demilitarized zone separating the two Koreas in Paju , South Korea , Sep. 28 , 2021   SEOUL – กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้เปิดเผยในวันจันทร์ว่า ชายผู้เดินทางข้ามเขตปลอดทหารบริเวณพรมแดนเกาหลีใต้เข้าไปในเกาหลีเหนือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว น่าจะเป็นชายชาวเกาหลีเหนือที่เคยแปรพักตร์เข้ามาอาศัยอยู่ในเกาหลีใต้เมื่อปี ค.ศ. 2020 ผู้บัญชาการเหล่าทัพร่วมของเกาหลีใต้ระบุว่า ได้เริ่มปฏิบัติการค้นหาเมื่อวันเสาร์หลังจากพบว่า มีชายผู้หนึ่งลักลอบเข้าไปในเขตปลอดทหาร หรือ Demilitarized Zone (DMZ) ซึ่งแบ่งแยกทั้งสองประเทศออกจากกัน แถลงการณ์ของกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ในวันจันทร์กล่าวว่า “เจ้าหน้าที่เชื่อว่าชายผู้นั้นเป็นชาวเกาหลีเหนือที่เคยแปรพักตร์ และกำลังตรวจสอบว่าใช่หรือไม่” โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ชายผู้นี้มีอายุราว 30 ปี ซึ่งเดินทางเข้ามาในเกาหลีใต้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีค.ศ. 2020 เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้กำลังตรวจสอบว่า การเคลื่อนไหวบริเวณพรมแดนเกาหลีเหนือเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น…

รัฐบาลเกาหลีใต้พัฒนาระบบ AI เพื่อใช้ตรวจจับและยับยั้งคนที่พยายามจะกระโดดสะพานฆ่าตัวตาย

Loading

  รัฐบาลกรุงโซล (Seoul) ประเทศเกาหลีใต้ ได้เริ่มพัฒนาและวางระบบ AI บนสะพานข้ามแม่น้ำทั่วกรุงโซล เพื่อรองรับการช่วยเหลือคนที่พยายามจะฆ่าตัวตายบนสะพานข้ามแม่น้ำ โดยมุ่งไปที่การยับยั้งไม่ให้เกิดเหตุขึ้น เนื่องจากพบสถิติว่า สะพานแม่น้ำฮัน (Han River) หลายแห่งที่ตั้งอยู่ ณ กรุงโซล กลายเป็นจุดแลนด์มาร์กสำคัญที่มีประชาชนชาวเกาหลีใต้พยายามจะฆ่าตัวตายมากถึงปีละประมาณ 500 คน เว็บไซต์ข่าว The Korea Times ของเกาหลีใต้ได้รายงานว่า รัฐบาลของกรุงโซล โดยความร่วมมือของ ‘สำนักงานดับเพลิงและภัยพิบัติแห่งกรุงโซล’ และ ‘สถาบันเทคโนโลยีแห่งกรุงโซล (SIT)’ ได้พัฒนาระบบนี้มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 และ โดยเป็นการนำเอาเทคโนโลยี AI หรือเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) เพื่อศึกษารูปแบบพฤติกรรมของคนที่มีแนวโน้มว่าจะกระทำการฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากสะพานโดยใช้กล้องวงจรปิดในการสังเกต     หากกล้องวงจรปิดตรวจพบคนที่น่าสงสัย เช่น มีการเดินไปเดินมาบนสะพานมากผิดปกติ หรือยืนอยู่บนสะพานกว่าที่ควรจะเป็น ระบบ AI จะโฟกัสไปที่คนคนนั้น ประกอบกับการการตรวจสอบบันทึกการเฝ้าระวังภัย ข้อมูลประวัติเกี่ยวกับการส่งทีมกู้ภัย รวมทั้งข้อมูลประวัติการสนทนาผ่านทางสายด่วนป้องกันฆ่าตัวตาย เมื่อระบบ AI ตรวจพบบุคคลที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ระบบจะส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุมที่มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาพกล้องวงจรปิดตลอด…

เสี่ยงตกงาน เกาหลีใช้หุ่นยนต์สุนัข รักษาความปลอดภัยแทนคน

Loading

  บริษัทฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของเกาหลีใต้ เตรียมใช้หุ่นยนต์จาก Boston Dynamics เพื่อดูแลความปลอดภัยของโรงงานในพื้นที่อุตสาหกรรม โดยจะเริ่มต้นที่โรงงานในเกาหลีใต้เป็นแห่งแรก หุ่นยนต์จาก Boston Dynamics มีระบบที่ล้ำสมัยต่าง ๆ มากมาย เช่นระบบน้ำทางอัตโนมัติ หรือระบบประมวลผลแบบหลากหลายเพื่อครอบคลุมงานในแต่ละแบบ ทำให้หุ่นยนต์ยังสามารถนำทางในพื้นที่แคบ ๆ สามารถแสดงภาพได้แบบเรียลไทม์ สามารถบันทึกกิจกรรมที่ทำได้ พร้อมทั้งมีการตอบสนองหรือแจ้งเตือนแบบรวดเร็วในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น หากเกิดเหตุไฟใหม่จะมีการแจ้งเตือนได้ทันที เพราะมีกล้องถ่ายภาพความร้อนในตัว พร้อมระบบ 3D LiDAR ที่จะช่วยตรวจสอบอันตรายจากไฟไหม้ ช่วยตรวจจับผู้คนในบริเวณใกล้เคียง และตรวจจับประตูใดที่เปิดได้ และประตูใดห้ามเปิด นี่นับเป็นความร่วมมือครั้งแรกของบริษัททั้งสองครับ นับตั้งแต่ Hyundai ซื้อกิจการ Boston Dynamics ด้วยมูลค่าประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการนำหุ่นยนต์มาใช้ จะเป็นการนำร่องใช้งานหุ่นยนต์ให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ มากขึ้นครับ และคนจริง ๆ อาจจะตกงานก็เป็นได้ครับ ที่มาข้อมูล https://sea.pcmag.com/robotics-1/46057/hyundai-recruits-boston-dynamics-robot-as-watchdog   ——————————————————————————————————————————— ที่มา :…

คณะที่ปรึกษากลาโหมเกาหลีใต้ได้รับอีเมลลวงหวังล้วงข้อมูล คาดฝีมือแฮ็กเกอร์

Loading

  บริษัทอีเอสที ซีเคียวริตี้ (ESTsecurity) ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในเกาหลีใต้รายงานว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ชื่อว่า “แธลเลียม” (Thallium) ที่มีความเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือนั้น ได้พยายามโจรกรรมข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นสมาชิกคณะที่ปรึกษาของกระทรวงกลาโหมแห่งเกาหลีใต้ บริษัทระบุว่า กลุ่มแธลเลียมส่งอีเมลถึงสมาชิกคณะที่ปรึกษาในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา โดยแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านเกาหลีเหนือของกระทรวงกลาโหมที่ต้องการแจ้งให้ทราบถึงการประชุมสัมมนาที่กำลังจะจัดขึ้น จากนั้นจึงส่งอีเมลอีกฉบับโดยมีการแนบไฟล์เอกสาร พร้อมใช้รูปภาพประกอบเพื่อทำให้ไฟล์ดังกล่าวดูเหมือนเอกสารจริงจากหน่วยงานรัฐบาลเกาหลีใต้ โดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ได้แนบไฟล์มัลแวร์มากับเอกสารดังกล่าว ซึ่งหากติดตั้งในคอมพิวเตอร์สำเร็จ ก็จะเปิดทางให้แฮ็กเกอร์โจรกรรมข้อมูลได้ ทั้งนี้ บริษัทอีเอสที ซีเคียวริตี้ระบุว่า ยังไม่มีรายงานความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว   —————————————————————————————————————————- ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์    / วันที่เผยแพร่   12 ก.ย.2564 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/125325

สังคมโลก : ยุคเฟคนิวส์

Loading

  พรรคประชาธิปไตยเกาหลีหรือ ดีพีเค (DemocraticParty of Korea : DPK) พรรครัฐบาลเกาหลีใต้ ใกล้บรรลุเป้าหมายผลักดันกฎหมายสื่อสารมวลชนฉบับแก้ไขใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายต่อสู้กับข่าวปลอมหรือข่าวบิดเบือน ที่กำลังสร้างความปั่นป่วน ในทุกภาคส่วนสังคมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ร่างกฎหมาย Acton Press Arbitration and Remedies ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ของรัฐสภาเกาหลีใต้ เมื่อปลายเดือนก.ค. และผ่านขั้นกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 25ส.ค. ที่ผ่านมา และคาดว่าจะผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมรัฐสภา ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้โดยสมบูรณ์ในอีกไม่นาน กฎหมายสื่อฉบับใหม่กำหนดบทลงโทษปรับหนักขึ้น 5 เท่า สำหรับความผิดฐานตีพิมพ์เผยแพร่รายงาน ที่เป็นเท็จหรือบิดเบือน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของผู้เสียหาย หรือทำให้เกิดภาวะบีบคั้นทางจิตใจ ไม่ว่าการเผยแพร่จะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดให้สำนักข่าวหรือองค์กรสื่อ รวมถึงเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ต้องแก้ไขความผิดพลาด หรือชี้แจงข้อเท็จจริงโดยระบุว่า เป็นการเผยแพร่โดยตั้งใจหรือ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ระบุชัดคำนิยามของ “ข้อมูลเท็จหรือบิดเบือน” นอกจากนั้น การกำหนดค่าเสียหายกฎหมายกำหนดให้ศาลพิจารณาจาก “อิทธิพลทางสังคม และยอดจำหน่าย” ขององค์กรสื่อ ซึ่งหมายความว่าหากเป็นหนังสือพิมพ์ สำนักข่าว สถานีโทรทัศน์…

‘เกาหลีใต้’ จ่อฟ้องเฟซบุ๊ค ปล่อยข้อมูลส่วนตัวรั่ว

Loading

    กลุ่มผู้ใช้งานเฟซบุ๊ค ในเกาหลีใต้ เตรียมรวมตัวฟ้อง ฐานปล่อยให้ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลไปยังบริษัทอื่น ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต บริษัทกฎหมายจีฮยางและศูนย์ข้อมูลจินโบ ซึ่งเป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล อยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูลจากผู้ร้องทุกข์ที่ต้องการฟ้องเฟซบุ๊คจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. เมื่อเดือน พ.ย. 2563 คณะกรรมการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลแห่งเกาหลีใต้ (PIPC) ระบุว่า เฟซบุ๊คได้ละเมิดกฎหมายของเกาหลีใต้ด้วยการส่งมอบข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานอย่างน้อย 3.3 ล้านคน จากจำนวนผู้ใช้งานทั้งสิ้น 18 ล้านคนให้กับบุคคลที่ 3 ตั้งแต่เดือนพ.ค. 2555 ถึงเดือนมิ.ย. 2561 ข้อมูลดังกล่าวประกอบไปด้วยประวัติการศึกษา อาชีพ สถานที่เกิด และสถานภาพความสัมพันธ์ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับเพื่อนของผู้ใช้งาน ซึ่งทางหน่วยงานได้สั่งปรับเฟซบุ๊คเป็นเงิน 6.7 พันล้านวอน (6 ล้านดอลลาร์) และยื่นคำฟ้องคดีอาญาฐานปล่อยให้ข้อมูลรั่วไหล บริษัทกฎหมายจีฮยางระบุว่า “สิทธิในการตัดสินใจใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรที่จะต้องมีกฎหมายคุ้มครองอย่างเข้มงวด ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน” พร้อมกล่าวว่า การกระทำของเฟซบุ๊คถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรง รายงานระบุว่า มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊คกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกที่ประสบปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนตั้งคำถามถึงระบบการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลของเฟซบุ๊ค   ——————————————————————————————————————————————– ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ …