บริษัทเทคโนโลยีสร้างเครื่องมือช่วยผู้รับข่าวแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลบิดเบือน

Loading

Manchetes africanas 2 abril: Twitter e Facebook querem combater “fake news” sobre Covid-19 ในยุคที่ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ดูเหมือนจะท่วมท้นจากแหล่งที่หลากหลายโดยเฉพาะจากสื่อออนไลน์และจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดบิดเบือนทั้งจากเจตนาหรือจากความไม่จงใจก็ตาม การหาข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือได้จึงเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น ดังที่คุณจอห์น เกเบิ้ล ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของเว็บไซต์ Allsides.com ได้ตั้งข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนล้วนมีอคติหรือความลำเอียงอยู่ในตัว คือมีความโน้มเอียงที่จะคิดหรือเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับ ตามประสบการณ์ที่เคยสัมผัส และจากการตีความทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ รวมทั้งจากสิ่งที่เราอาจไม่รู้หรือไม่เข้าใจด้วย และเรื่องนี้จะยิ่งเป็นปัญหาโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สำคัญหรือสำหรับเรื่องสำคัญบางอย่างซึ่งมีข่าวสารข้อมูลให้เลือกมากมายและบางครั้งข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไปไม่ว่าจะเป็นผลจากเจตนาการเผยแพร่ข้อมูลที่ปิดเบือนหรือก็ตาม คุณจอห์น แซนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้และผลกระทบของ Knight Foundation ชี้ว่าในขณะนี้ 80% ของคนอเมริกันมีความกังวลว่าข้อมูลที่ถูกบิดเบือนจะส่งผลต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นได้ และจากปัญหาซึ่งมาจากข่าวปลอมหรือจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่จงใจถูกเลือกมาอย่างไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่ตรงกับบริบทที่ควรจะเป็นนั้น ขณะนี้ก็มีธุรกิจด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ อย่างน้อยสองรายที่พยายามให้เครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้รับสารสามารถเปรียบเทียบและแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ได้ดีขึ้น คุณฮาร์ลีน คอร์ ซีอีโอของ Ground News เป็นตัวอย่างหนึ่งของความพยายามช่วยให้ผู้รับข่าวสารตัดสินใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้องหรือถูกบิดเบือนหรือไม่ โดย Ground News เป็นแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่อาจจะเรียกว่าเป็นแพลตฟอร์มแห่งแรกของโลกซึ่งช่วยเปรียบเทียบเนื้อหาของการรายงานข่าวด้วยการประมวลแหล่งที่มาของการรายงานเรื่องเดียวกันให้ผู้รับสารได้เปรียบเทียบ ทั้งยังมีการจำแนกและระบุจุดยืนของแต่ละสื่อให้ผู้รับสารได้พิจารณาประกอบด้วยตั้งแต่แนวซ้ายจัดจนถึงขวาจัด ตัวอย่างเช่น Ground News จัดให้นิตยสาร The New Yorker…

Telegram คืออะไร ปลอดภัยแค่ไหน มีอะไรเด่น

Loading

ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันส่งข้อความให้เลือกใช้หลายแอป ไม่ว่าจะเป็นแอปยอดฮิตในไทยอย่าง LINE แอปสากลอย่าง WhatsApp หรือแอปสายจีนอย่าง WeChat และอีกแอปหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้ใครก็คือ Telegram Telegram คืออะไร Telegram เป็นแอปพลิเคชันส่งข้อความที่ก่อตั้งโดยสองพี่น้องชาวรัสเซีย ชื่อ Pavel Durov และ Nikolai Durov ในปี 2013 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ให้กำเนิด “VK” เครือข่ายสังคมออนไลน์สัญชาติรัสเซียมาแล้ว ด้านโมเดลธุรกิจ Telegram เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้ฟรี 100 เปอร์เซ็นต์โดยไม่มีทางเลือกให้ต้องจ่ายค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น โดยมี Pavel เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนจำนวนมหาศาล Telegram ให้ข้อมูลว่าเงินจำนวนนี้ยังเพียงพอ แต่หากประสบปัญหาในอนาคตก็อาจเพิ่มทางเลือกแบบเสียเงินเข้ามา อย่างไรก็ตาม Telegram จะไม่พุ่งเป้าที่การแสวงผลกำไร เมื่อเดือนเมษายน 2563 Telegram มีผู้ใช้ต่อเดือนอยู่ที่ 400 ล้านคน มีผู้ใช้ใหม่อย่างต่ำ 1.5 ล้านคนต่อวัน และมีสติ๊กเกอร์ให้ใช้งานกว่า 2 แสนชุด Telegram ปลอดภัยแค่ไหน Telegram โฆษณาตัวเองว่ามีความปลอดภัยกว่าแอปพลิเคชันกระแสหลักอย่าง…

รู้จักแอปพลิเคชัน Telegram อาวุธไซเบอร์ประจำม็อบ 18 ตุลา

Loading

การประกาศของกลุ่มเยาวชนปลดแอก (FreeYouth) และแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพิ่มช่องทางการติดตามนอกจากเพจใหม่แล้ว ไปยังช่องทางของแอปพลิเคชัน Telegram จนทำให้เกิดเครื่องหมายคำถามขึ้นมาอย่างฉับพลันว่า Telegram คืออะไร? อันที่จริงแล้ว Telegram เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมานานแล้ว โดยเริ่มปล่อยดาวน์โหลดครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2013 จากวันนี้ก็เป็นเวลา 7 ปีกว่าที่แอปพลิเคชันนี้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ พาเวล ดูรอฟ Telegram ก่อตั้งโดยทีมนักพัฒนา 3 คน ได้แก่ นิโคไล ดูรอฟ, พาเวล ดูรอฟ และอักเซล เนฟฟ์ โดยที่ พาเวล ดูรอฟ รับหน้าที่เป็นซีอีโอ จุดมุ่งหมายของแอปพลิเคชัน Telegram โดยหลักแล้วมีเพียงข้อเดียว นั่นคือ พวกเขาต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันที่แม้แต่สายลับรัสเซียไม่สามารถ “แฮก” ได้ เนื่องจากในอดีตที่ครั้งหนึ่ง พาเวล ดูรอฟ เคยเป็นเจ้าของโซเชียลมีเดียที่มีชื่อว่า VKontakte หรือ VK ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่กลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลรัสเซียใช้เป็นแพลตฟอร์มหลักในการติดต่อสื่อสาร จนนำมาสู่การถูก Mail.ru บริษัทที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลรัสเซียเข้ามาแทรกแซง และซื้อธุรกิจโซเชียลมีเดีย VK ไปในที่สุด…

หลายรัฐในอเมริกาเริ่มใช้แอปโทรศัพท์มือถือให้ข้อมูลการเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ

Loading

Covid19 App เกือบหนึ่งปีตั้งแต่เริ่มการระบาดของโควิด -19 และหลังจากที่มีบางประเทศ เช่น จีน เกาหลีใต้ อิสราเอล และตุรกี ใช้แอปเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรคดังกล่าว ขณะนี้หลายรัฐในสหรัฐฯ เริ่มสนใจใช้ประโยชน์จากแอปในโทรศัพท์มือถือเช่นกัน ในหลายประเทศ กระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานผู้รับผิดชอบในระดับชาติมักเป็นผู้จัดทำแอปเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 แต่ในสหรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลกลางไม่มีแผนงานดังกล่าว เรื่องนี้จึงตกเป็นหน้าที่ของรัฐบาลแต่ละรัฐเพื่อจัดทำแอปใช้งานในรัฐของตนโดยเฉพาะ ถึงแม้รูปร่างหน้าตาหรือลักษณะของแอปนี้อาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วเทคโนโลยีที่ใช้ก็มาจากสองแหล่งใหญ่ คือ Apple กับ Google นั่นเอง โดยเป้าหมายหลักคือการใช้เทคโนโลยีช่วยแจ้งให้ประชาชนทราบอย่างรวดเร็วว่าตนเคยเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อหรือไม่ และเพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถติดตามเรื่องนี้ได้อย่างรวดเร็ว และขณะที่แอปในประเทศจีน เกาหลีใต้ อิสราเอล กับตุรกี อาศัยการระบุตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของบุคคล เพื่อช่วยให้ทราบว่าใครเคยเข้าใกล้ผู้ที่มีเชื้อโควิด-19 หรือไม่นั้น ลักษณะของแอปที่ใช้ในอเมริกาจะเก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตนเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือเครื่องอื่น ๆ ที่ผู้ใช้แอปได้เข้าใกล้ รวมทั้งระยะเวลาที่อยู่ใกล้ โดยข้อมูลในลักษณะที่เรียกว่า “digital handshake” หรือการตรวจจับสัญญาณระหว่างโทรศัพท์ซึ่งกันและกันนี้ จะถูกเก็บไว้เฉพาะในโทรศัพท์ของเจ้าของแอปเท่านั้น และวิธีดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มีผลเลือดเป็นบวก เพราะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะให้โค้ดพิเศษแก่ผู้ที่เคยได้รับเชื้อให้ใส่ลงในแอปเพื่อส่งสัญญาณเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่ใกล้ ถึงแม้ Apple กับ Google จะตั้งเงื่อนไขว่าจะยอมให้นำเทคโนโลยีของตนไปใช้ หากแอปติดตามโควิด-19 นี้ไม่ระบุตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือเครื่องนั้น หรือข้อมูลเฉพาะด้านอื่นก็ตาม แต่คำถามเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวก็ยังคงมีอยู่ เพราะมีความกังวลว่าแอปเหล่านี้อาจเก็บข้อมูลมากกว่าที่ผู้ใช้ทราบหรือยอมรับ…

สิงคโปร์นำร่อง “สแกนใบหน้า” ยืนยันตัวตนแทน “บัตรประชาชน” ชาติแรกของโลก

Loading

Photo by Mladen ANTONOV / AFP รัฐบาลสิงคโปร์เดินหน้าใช้เทคโนโลยี “ยืนยันใบหน้า” ระบุตัวตนแทนบัตรประชาชนประเทศแรกของโลก ให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐอย่างปลอดภัย ปูทางสู่เศรษฐกิจดิจิทัล สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่าสิงคโปร์จะเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้ระบบยืนยันใบหน้า (facial verification) เพื่อระบุตัวตนในการเข้าถึงบริการของภาครัฐอย่างปลอดภัย ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ นายแอนดริว บัด ซีอีโอของ iProov บริษัทเทคโนโลยีของอังกฤษ ซึ่งดูแลระบบดังกล่าวให้รัฐบาลสิงคโปร์ กล่าวว่า เทคโนโลยีสแกนใบหน้าจะต้องตรวจสอบและยืนยันได้ว่า บุคคลนั้นมีตัวตนอยู่จริง ไม่ใช่ภาพถ่าย หรือวิดีโอที่ถูกอัดขึ้น และเทคโนโลยีนี้จะถูกเชื่อมเข้ากับ “SingPass” ซึ่งเป็นระบบบัญชีกลางดิจิทัลของรัฐบาลสิงคโปร์ เพื่ออนุญาตให้ชาวสิงคโปร์สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐได้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ระบบยืนยันใบหน้าในระบบคลาวด์ เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ช่วยระบุตัวตนของผู้ใช้งานด้วยข้อมูลประจำตัวจากระบบดิจิทัลของชาติ แทนการใช้บัตรประชาชน โดยเทคโนโลยีการยืนยันใบหน้า จะต้องใช้วิธีการสแกนใบหน้าบุคคล และจับคู่กับรูปภาพที่มีอยู่ในฐานข้อมูลเพื่อระบุตัวตน โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงข้อมูลและทำธุรกรรม เช่น ปลดล็อกโทรศัพท์มือถือ หรือเข้าแอปพลิเคชันธนาคารบนสมาร์ตโฟน ปัจจุบันการยืนยันตัวตนผ่านใบหน้าในสิงคโปร์ เริ่มมีการนำมาใช้งานในสาขากรมสรรพากรสิงคโปร์บางแห่ง รวมถึงธนาคารดีบีเอส สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสิงคโปร์ที่เปิดให้บริการลูกค้ายืนยันใบหน้า เพื่อเปิดบัญชีธนาคารรูปแบบออนไลน์ และจะมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับทางเข้าหรือออกเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย รวมถึงกลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่มีการนำไปใช้งานภายใต้ข้อกำหนดของรัฐบาล ขณะที่บริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาและจีนได้นำระบบยืนยันใบหน้ามาใช้ในลักษณะเดียวกันเพิ่มขึ้น เช่น แอปพลิเคชั่นธนาคารที่รองรับระบบ Apple Face ID…

นักวิทย์สหรัฐฯค้นพบวัสดุชีวสังเคราะห์ เชื่อมเอไอ กับสมองคน

Loading

นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯค้นพบวัสดุชีวสังเคราะห์สำหรับเคลือบส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปฝังในอวัยวะภายในของคนได้ เป็นการปูทางสู่เทคโนโลยีไซบอร์ก เชื่อมปัญญาประดิษฐ์เข้ากับสมองคนในอนาคต นักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ ในสหรัฐฯ ค้นพบวัสดุเคลือบทำจาก “พอลิเมอร์ชีวสังเคราะห์” สำหรับใช้ในการเคลือบแผงวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถฝังเข้าไปในอวัยวะภายในอย่างสมองของคนได้ โดยไม่เกิดรอยขีดข่วนและไม่รบกวนการส่งคลื่นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับร่างกายของคน ซึ่งนับเป็นการแก้ปัญหาสำหรับการฝังวัสดุอิเล็กทรอนิกส์อย่างทองคำ ซิลิคอน และโลหะ เข้ากับอวัยวะภายในของคนโดยไม่เกิดรอยแผลบนเนื้อเยื่อ เพื่อที่จะได้มีเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับมนุษย์ ในอนาคตมนุษย์จะสามารถใช้สมองสั่งการการทำงานของระบบเอไอได้ นายเดวิด มาร์ติน หัวหน้าทีมวิจัยเปิดเผยการค้นพบครั้งนี้ในการประชุมฤดูใบไม้ร่วง “เวอร์ชวล มีทติ้ง แอนด์ เอ็กซ์โป” ของสมาคมเคมีอเมริกัน โดยระบุว่า วัสดุเคลือบนี้ชื่อว่า “พอลิ(3,4-เอทิลีนไดออกซีไทโอฟีน)” (poly(3,4-ethylenedioxythiophene) หรือ PEDOT ซึ่งขั้นต่อไปจะมีการทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์เคลือบวัสดุชีวเคมีที่ถูกฝังในสิ่งมีชีวิตต่อไป โดยบอกว่าที่ผ่านมามีหลายบริษัทใหญ่อย่าง “กลาโซ่ สมิธ ไคลน์” (Glaxo Smith Kline) และ “นิวรัลลิงค์” (Neuralink) ของนายอีลอน มัสก์ ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีไซบอร์ก โดยเชื่อว่าการค้นพบครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้อย่างน่าทึ่ง. —————————————————— ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ / 20 สิงหาคม 2563 Link…