ยูเครนใช้เทคโนโลยีระบบจดจำใบหน้าช่วยระบุตัวทหารรัสเซีย

Loading

ในภาวะสงคราม การทราบข้อมูล พร้อมทั้งสามารถระบุว่าใครเป็นใครได้นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นทหารที่เสียชีวิต ผู้ที่ถูกจับกุมตัว ขโมย คนที่เข้า-ออกเขตชายแดน หรือกระทั่งการบันทึกข้อมูลอาชญากรรมสงครามต่าง ๆ รัฐบาลและหน่วยงานของประเทศยูเครนจึงนำเทคโนโลยีใหม่ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์จดจำใบหน้า (facial recognition) สุดล้ำสมัยจากสหรัฐฯ เข้ามาใช้เพื่อตอบโจทย์ข้างต้น โดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถระบุตัวทหารรัสเซีย ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิต ลีโอนิด ทิมเชนโก (Leonid Tymchenko) หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการและสนับสนุนข้อมูลของตำรวจแห่งชาติยูเครน บอกกับผู้สื่อข่าว วีโอเอ ว่า เทคโนโลยีจดจำใบหน้าคือเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับยูเครน ซึ่งมีการนำมาใช้ใน 5 หน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติของยูเครนแล้ว และ ระบบนี้ก็ทำงานได้ตามเป้าประสงค์อย่างไม่มีที่ติ   Clearview.ai – Screenshot Clearview AI บริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นบริษัทที่ตกเป็นเป้าการถกเถียงกันอยู่ในเวลานี้ คือ ผู้ที่อนุมัติให้รัฐบาลยูเครนใช้ฐานข้อมูลใบหน้าผู้คนนับพันล้านคนเพื่อใช้ในการระบุตัวทหารรัสเซียนั้น ทั้งนี้ Clearview AI เพิ่งสิ้นสุดกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีฟ้องร้องในชั้นศาล เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจากซอฟต์แวร์ที่สามารถระบุและให้ข้อมูลตัวส่วนตัว โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ยินยอม ซึ่งทางบริษัทอ้างว่า ตนเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์สาธารณะต่าง ๆ รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศรัสเซียอย่าง VKontakte (VK) อย่างไรก็ตาม บริษัทดังกล่าวจบคดีโดยการตกลงว่า จะขายซอฟต์แวร์ของตนให้แก่ตำรวจและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น…

‘เอไอ’ กับการสืบสวนอาชญากรรม เทคโนโลยีเพื่อการไขคดีอย่างแม่นยำ

Loading

  เปิดโลกของเอไอกับการจัดการด้านอาชญากรรม ทำความรู้จักบทบาทต่างๆ ของเอไอในการสืบสวนคดี ตรวจจับ และการป้องกันอาชญากรรม   กระบวนการสืบสวนคดีความและอาชญากรรมเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน การมองข้ามแม้เพียงรายละเอียดเล็ก ๆ ระหว่างกระบวนการอาจนำไปสู่สมมุติฐานที่ผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถคลี่คลายคดีความหรือหาต้นตอและอาชญากรตัวจริงได้   ในภาพยนตร์สืบสวนเราต่างเคยเห็นนักสืบอัจฉริยะมากมาย แต่ในความเป็นจริง เราคงไม่สามารถสืบสวนอาชญากรรมอย่างละเอียดและเฉียบขาดได้ตลอดเวลา ด้วยพลังที่มีขีดจำกัดของมนุษย์ แต่ถ้าหากเรามีผู้ช่วยอย่างเอไอแล้ว สิ่งที่เคยทำไม่ได้อาจกลายเป็นเรื่องง่าย   บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปเปิดโลกของเอไอกับการจัดการด้านอาชญากรรม ทำความรู้จักบทบาทต่างๆ ของเอไอในการสืบสวนคดี ตรวจจับ และการป้องกันอาชญากรรม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันส่งผลให้เอไอมีความสามารถใกล้เคียงนักสืบมือฉมัง และเป็นผู้ช่วยชั้นเยี่ยมของตำรวจเลยทีเดียวครับ   ในกระบวนการพิสูจน์หลักฐาน เอไอก็ได้เข้าไปมีบทบาทไม่น้อยเลย งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีออน ประเทศสเปน ได้ทำการเทรนโมเดลโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ในการตรวจจับร่องรอยของอาชญากรในสถานที่เกิดเหตุ   โดยใช้ข้อมูลภาพสถานที่เกิดเหตุจำนวนหลายพันภาพเทรนอัลกอริธึมให้ตรวจจับรูปแบบของร่องรอยและหลักฐานในที่เกิดเหตุ อาทิ รอยเท้า กระสุน อาวุธปืน เป็นต้น รวมถึงยังสามารถตรวจจับรูปแบบร่องรอยที่สื่อถึงอาชญากรคนเดียวกันจากหลาย ๆ คดีได้อีกด้วย   สารคัดหลั่งในจุดเกิดเหตุเป็นอีกหลักฐานน่าเชื่อถือและมีประโยชน์ต่อรูปคดีมาก แต่การตรวจสอบอย่างละเอียดนั้น โดยปกติต้องอาศัยกระบวนการทางนิติเวชที่ต้องใช้เวลายาวนาน รวมถึงยังต้องแยกระหว่างสารคัดหลั่งจากผู้ต้องหากับสารคัดหลั่งของตำรวจที่เข้าไปในจุดเกิดเหตุอีกด้วย   หากเราทำการเทรนเอไอให้เข้ามาทำหน้าที่นี้ โดยใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมสร้างโมเดลที่ประมวลผลได้อย่างถูกต้องแม่นยำตามหลักการแพทย์ ก็จะช่วยลดเวลาในการทำงานและนำไปสู่การสรุปผลคดีที่ถูกต้องและโปร่งใส…

“บิ๊กปั๊ด” ตรวจเยี่ยมศูนย์บริการประชาชน จ.ฉะเชิงเทรานำเทคโนโลยีสุดล้ำตรวจจับคนร้าย-การจราจร

Loading

    ฉะเชิงเทรา – ผบ.ตร.ลงพื้นที่เมืองแปดริ้วตรวจเยี่ยมจุดบริการประชาชนตามโครงการนำร่องใช้เทคโนโลยีสุดล้ำตรวจสอบบุคคลต้องสงสัย และสภาพจราจรด้วยระบบกล้อง CCTV และระบบ AI พร้อมป้องกันเหตุร้ายและอาชญากรรมในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ   วันนี้ ( 17 เม.ย.) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้เดินทางลงพื้นที่จุดบริการประชาชนริมถนนสาย 314 ฉะเชิงเทรา-บางปะกง (สิริโสธร) ด้านหน้า สภ.แสนภูดาษ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเข้าเยี่ยมชมศูนย์ CCOC พร้อมมอบสิ่งของให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองที่ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่เดินกลับเข้ากรุงเทพฯ หลังสิ้นสุดวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์   โดยมี นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช. ภ.2 พร้อมด้วยรอง ผบช. ภ.2 รวมทั้ง พล.ต.ต.นันทวุฒิ สุวรรณละออง ผบก. ภ.จว.ฉะเชิงเทรา ให้การต้อนรับ     พล.ต.ต.นันทวุฒิ สุวรรณละออง ผบก. ภ.จว.ฉะเชิงเทรา…

บริษัทด้านเทคโนโลยีให้ยูเครนใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าแบบฟรี ๆ

Loading

  กระทรวงกลาโหมของยูเครนเริ่มใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าของ Clearview AI บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน หลังจากที่ทางบริษัทเสนอช่วยแบบฟรี ๆ   ข้อตกลงระหว่างบริษัทกับรัฐบาลยูเครนเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ ฮวน ทนทัต (Hoan Ton-That) กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งของ Clearview AI ส่งจดหมายเสนอความช่วยเหลือให้กับรัฐบาลยูเครน โดยมีการระบุว่าไม่ได้เสนอเทคโนโลยีเดียวกันนี้ให้กับทางฝั่งรัสเซีย   ทนทัตระบุว่าบริษัทเก็บภาพจำนวนกว่า 2,000 ล้านภาพจากแพลตฟอร์ม VKontakte ของรัสเซีย จากทั้งหมด 10,000 ล้านภาพในฐานข้อมูลที่มีอยู่ โดยกล่าวว่าเทคโนโลยีของ Clearview AI จะช่วยระบุตัวผู้เสียชีวิตได้แม้ใบหน้าจะได้รับความเสียหายและยังง่ายกว่าการใช้ลายนิ้วมือ   ทนทัตยังระบุด้วยว่าเทคโนโลยี Clearview AI จะช่วยค้นหาครอบครัวผู้อพยพที่พลัดพรากกัน รวมถึงระบุตัวเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของฝ่ายรัสเซียและช่วยให้รัฐบาลเปิดโปงข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสงครามบนโซเชียลมีเดียได้ด้วย   ลี โวโลสกี (Lee Wolosky) ที่ปรึกษาของ Clearview AI และอดีตนักการทูต ระบุว่าเซิร์ชเอนจินของบริษัทจะช่วยให้หน่วยงานของยูเครนสามารถตรวจค้นหาบุคคลต้องสงสัยตามจุดตรวจต่าง ๆ ได้อย่างดี   อย่างไรก็ดี กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกาเคยค้นพบว่าการเน่าเปื่อยของศพจะลดประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีข้างต้น แต่งานวิจัยในการประชุมแห่งหนึ่งในปีที่แล้วระบุถึงผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีของ Clearview AI…

New China Insights : จีนกับการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน

Loading

Digital Cash ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาเป็นหัวใจในการพัฒนา (ภาพจาก Huoxing Caijing)   ร่มฉัตร จันทรานุกูล มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจระหว่างประเทศ(UIBE) วิทยาลัยนานาชาติ(SIE) กรุงปักกิ่ง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้หลายคนอาจจะคุ้นหูหรือคุ้นเคยกับบล็อกเชน (Blockchain) บล็อกเชนคือเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโลกปัจจุบันและอนาคตที่ทำให้ชีวิตของทุกคนในสังคมเปลี่ยนไป ผู้เขียนขออธิบายเทคโนโลยีบล็อกเชนคร่าวๆให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆก่อนว่าคืออะไร? บล็อกเชนเป็นคำที่ใช้เรียกเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (Data sharing) ซึ่งข้อมูลหรือข้อมูลที่ถูกเก็บเอาไว้นั้นจะปลอมแปลงไม่ได้ ติดตามข้อมูลที่เป็นจริงได้และสามารถเรียกดูข้อมูลได้ทั้งหมดทุกกระบวนการ เพราะเหตุนี้ข้อมูลที่อยู่บนฐานข้อมูลจะมีความโปร่งใส เชื่อถือได้ อีกทั้งข้อมูลจะถูกดึงมาใช้และรักษาร่วมกันได้เช่นกัน เพราะคุณสมบัติเหล่านี้เองทำให้เทคโนโลยีบล็อกเชนมีความโปร่งใสและสร้างกลไกความร่วมมือที่เชื่อถือได้ตลอดจนมีมุมมองที่กว้างของการประยุกต์ใช้ ในปี 2019 สำนักงานข้อมูลอินเทอร์เน็ตแห่งชาติจีนได้ออก “กฏการบริการข้อมูลบล็อกเชนและการบริหารจัดการ” ในปีเดียวกันประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้กล่าวถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนว่า “ให้ใช้บล็อกเชนเป็นใจกลางนวัตกรรมอิสระที่เป็นเทคโนโลยีหลัก เพื่อเร่งการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมภายในประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น” แน่นอนว่าหลังจากที่ท่านประธานาธิบดีได้กล่าวถึงบล็อกเชน ก็ทำให้เทคโนโลยีบล็อกเชนเริ่มเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไป อย่างที่ผู้เขียนกล่าวไปข้างต้นถึงความโดดเด่นของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ปลอมแปลงไม่ได้ ข้อมูลมีความเป็นจริง ทำให้บล็อกเชนถูกนำมาใช้ในเรื่องการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างกว้างขวาง บล็อกเชนนั้นหลักๆมีสามประเภทคือ บล็อกเชนสาธารณะคือทุกคนเข้าถึงได้ บล็อกเชนพันธมิตรคือพันธมิตรด้วยกันเท่านั้นจะเข้าถึงข้อมูลได้ และบล็อกเชนส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนที่เป็นส่วนตัวหรือมีเจ้าของ ณ ปัจจุบันเทคโนโลยีบล็อกเชนในจีนก็ถูกใช้ในหลายอุตสาหกรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้วยกันได้แก่ การเงินและการธนาคาร ระบบเครือข่าย ระบบประกัน การยืนยันตัวตนและความปลอดภัย ระบบที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขต่างๆ เป็นต้น ท่านผู้อ่านที่พอมีพื้นความรู้อยู่บ้างจะทราบว่าจริงๆแล้วเทคโนโลยีบล็อกเชนเกิดขึ้นจากบิทคอยน์ ที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2008…

โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ

Loading

  โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ เทคโนโลยีดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์แทบจะทุกขณะของจังหวะชีวิต บางคนบอกว่าเป็นสังคมก้มหน้าที่ทุกคนจดจ้องกับสมาร์ตโฟนในมือตัวเอง หลายคนโอดครวญว่าโซเชียลมีเดียได้พรากเอาเวลาชีวิตอันแสนมีค่าไปจากตน ปัจจุบันเรามีวิธีจัดการเวลาในการใช้โซซียลมีเดียแบบดิจิตอลมินิมัลลิสม์ (digital minimalism) นักปรัชญาจำนวนมากก็ตื่นตัวกับประเด็นเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งผลกระทบที่ส่งผลต่อชีวิตและสังคม     โรแบร์โต ซิมานอฟสกี (Roberto Simanowski) เป็นนักปรัชญาและนักทฤษฎีสื่อชาวเยอรมัน ที่ตั้งคำถามต่อเทคโนโลยีดิจิตอลได้แหลมคมที่สุดคนหนึ่ง หนังสือ The Death Algorithm and Other Digital Dilemmas (2018) เป็นรวมความเรียงที่แสดงให้เห็นอันตรายของเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งทางออกที่เป็นไปได้ที่จะอยู่กับเทคโนโลยีดังกล่าว เขาเห็นว่าปัญหาอยู่ที่การมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลาง และสามารถใช้ไปในทางที่เป็นคุณหรือโทษก็ได้ โดยไม่ตระหนักว่าเทคโนโลยีมีสารัตถะของตัวเอง   จริงอยู่เราอาจใช้ปืนพกตอกตะปูได้ แต่ก็ไม่มีใครทำเช่นนั้น การเรียกร้องให้ใช้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook โดยแสดงความคิดเห็นอย่างจริงจังด้วยการคอมเมนต์ในรูปของความเรียง ก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้ปืนพกไปตอกตะปู   ซิมานอฟสกีเห็นว่าเราจะเข้าใจเทคโนโลยีได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจสารัตถะ (essence) ของมัน เขากลับไปหาแนวคิดของนักปรัชญาเยอรมันอย่างมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ผู้เห็นว่า สารัตถะของเทคโนโลยีไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยีเลย หากแต่เป็นการเปิดเผย (revealing) นั่นคือเทคโนโลยีต้องการเปิดเผยตัวมันเองออกมา เราเห็นได้จากการที่ความเปลี่ยนแปลงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา  …