ศาลบราซิลมีคำสั่งบล็อกการเข้าถึง WhatsApp ทั่วประเทศ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง

Loading

ธันวาคม 17, 2015      จากการที่มีบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหนึ่ง ได้ร้องเรียนว่า WhatsApp มีการให้บริการโทรด้วยเสียงฟรี ซึ่งผิดกฎหมายของประเทศบราซิล ที่ระบุว่ารัฐบาลจะต้องตรวจสอบการสนทนาผ่านเสียงได้ เรื่องนี้ทำให้ศาลบราซิลมีคำสั่งบล็อกการเข้าถึง WhatsApp ทั่วประเทศ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เริ่มต้นตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 17 ธันวาคม ตามเวลาท้องถิ่น เนื่องจาก WhatsApp ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งลงวันที่ 23 กรกฏาคม 2015 และหลังจากที่ศาลทำการแจ้งเตือนอีกครั้งในวันที่ 7 สิงหาคม 2015 ว่าจะมีการลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม แต่บริษัทก็ยังคงเพิกเฉยต่อคำสั่ง ไม่รับคำตอบใดๆ ล่าสุด Mark Zuckerberg ซึ่งเป็นเจ้าของ WhatsApp กล่าวว่าเขารู้สึกเสียใจต่อคำตัดสินของศาล และจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อเปลี่ยนคำตัดสินนี้ให้ได้ และยังมีการแนะนำให้ผู้ใช้งานในบราซิลไปใช้งาน Facebook Messenger ในการติดต่อสื่อสารแทนไปก่อน      เรื่องนี้ยังไม่รู้ว่าเพราะอะไร WhatApp ถึงไม่ยอมตอบคำถามของศาลบราซิล และเหตุใดศาลจึงตัดสินให้บล็อกเพียง 48 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งเราก็ต้องคอยติดตามกันต่อไปค่ะ ที่มา…

“วงจรล่องหน” เทคโนโลยีใหม่ช่วยอำพรางเครื่องบินจากเรดาร์

Loading

การค้นพบครั้งนี้ยังมีความพิเศษคือ วัตถุที่สร้างวงจรล่องหน  มีความบางกว่าที่พัฒนาขึ้นโดยคู่แข่งในต่างประเทศ – เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์      เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ – คณะนักวิจัยของจีนค้นพบเทคโนโลยีสำคัญ ที่ช่วยให้เครื่องบินสามารถล่องหนหายตัวหนีระบบเตือนภัยล่วงหน้า ที่ว่าเจ๋งที่สุด ซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบันไปได้เหมือนเล่นกลกันเลยทีเดียว      คณะนักวิจัยซึ่งทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหวาจงในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ทางภาคกลางของจีน และมีศาสตราจารย์ เจียง เจี้ยนจวิน แห่งภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันอู่ฮั่นเป็นหัวหน้า ได้เผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบและเทคนิกของ “วงจรล่องหน” ไว้ในวารสารฟิสิกส์ประยุกต์ ( Journal of Applied Physics) ของสถาบันฟิสิกส์แห่งอเมริกาฉบับเดือนพ.ย. พ.ศ. 2558      คณะนักวิจัยได้สร้างวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีหลายชั้น วงจรนี้สามารถ “ดัก” คลื่นวิทยุไมโครเวฟที่ความถี่สูงมาก ซึ่งจะสร้างความสับสนแก่ระบบเรดาร์ กระทั่งเครื่องบินเล็ดลอดผ่านระบบตรวจจับนี้ไปได้ โดยการค้นคว้าอาศัยหลักการทำงานของเครื่องเรดาร์คือ มีการส่งคลื่นวิทยุจากเครื่องเรดาร์ เมื่อมีวัตถุ เช่น เครื่องบินมาขวางทาง คลื่นวิทยุก็จะสะท้อนจากเครื่องบินกลับคืนสู่เครื่องเรดาร์ ดังนั้น ถ้าวงจรไฟฟ้านี้ไปดูด หรือดักคลื่นวิทยุนี้เสียก่อน เครื่องเรดาร์ก็จะไม่ตรวจพบเครื่องบิน      นอกจากนั้น…

เฟซบุ๊ก กูเกิลและทวิตเตอร์ตกลงกับรัฐบาลเยอรมันจัดการเฮทสปีช

Loading

เฟซบุ๊ก กูเกิลและทวิตเตอร์ทำข้อตกลงกับรัฐบาลเยอรมันที่จะลบข้อความที่แสดงหรือสร้างความเกลียดชัง หรือที่เรียกว่าเฮทสปีชออกจากเว็บไซต์ของตัวเองภายใน 24 ชั่วโมง รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของเยอรมันนี ไฮโก มาส กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวจะเป็นการรับประกันว่ากฎหมายของเยอรมันจะมีผลบังคับใช้ในโลกออนไลน์ และโซเชียลมีเดียจะต้องไม่ “กลายเป็นมหกรรมบันเทิงสำหรับฝ่ายขวาจัด” ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากมีรายงานถึงการเหยียดผิวที่พุ่งสูงขึ้นในโลกออนไลน์ในประเทศขณะที่เยอรมันกำลังจัดการรับมือกับการหลั่งไหลเข้ามาของผู้อพยพและผู้ลี้ภัยเกือบหนึ่งล้านคนในปี 2558 และการที่เยอรมันต้อนรับผู้อพยพหลายแสนคนที่ส่วนใหญ่มาจากซีเรีย อิรักและอัฟกานิสถานได้ก่อให้เกิดปฏิกริยาความไม่พอใจจากฝ่ายชาตินิยมที่รวมถึงนีโอนาซี มาสบอกว่า การร้องเรียนเกี่ยวกับเฮทสปีชจะได้รับการพิจารณาโดย “คณะผู้เชี่ยวชาญ” ของบริษัททั้งสามที่ยังจะทำให้การร้องเรียนทำได้สะดวกมากขึ้นอีกด้วย คณะผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาข้อร้องเรียนโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของกฎหมายเยอรมัน “และไม่ใช่แค่เงื่อนไขการใช้งานของผู้ให้บริการแต่ละเจ้าอีกต่อไป” มาสบอกว่า “เมื่อมีการละเมิดขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เมื่อเป็นการแสดงความเห็นในทางอาชญากรรม การปลุกปั่นก่อความไม่สงบ การยุยงให้กระทำความผิดที่ส่งผลคุกคามต่อผู้คน เนื้อหาเช่นว่านี้จะต้องถูกลบออกไปจากอินเตอร์เน็ต” และย้ำว่าเป็นข้อตกลงที่จะต้องดำเนินการภายในเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนหน้านี้มาสและนักวิจารณ์คนอื่นๆ ได้กล่าวหาเฟซบุ๊กว่าดำเนินการฉับไวในการลบภาพโป๊เปลือยออกจากหน้าเพจของผู้ใช้ แต่กลับปล่อยให้มีข้อความเหยียดผิวและเกลียดกลัวชาวต่างชาติอยู่ต่อไปได้ ขณะที่เฟซบุ๊กระบุว่าอาศัยผู้ใช้ในการรายงานหรือร้องเรียนเกี่ยวกับข้อความที่แสดงหรือสร้างความเกลียดชัง ที่มา : Facebook บีบีซีไทย – BBC Thai

เฟซบุ๊กยอมแก้ไขนโยบายใช้ชื่อจริงหลังจากถูกประท้วงอย่างหนัก

Loading

เฟซบุ๊กประกาศจะแก้ไขนโยบายใช้ “ชื่อจริง” ที่เป็นปัญหามากหลังจากเผชิญกับการประท้วงอย่างรุนแรงจากกลุ่มต่างๆ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เฟซบุ๊กประกาศทดสอบใช้เครื่องมือใหม่ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้อธิบายเหตุผลที่ไม่สามารถใช้ชื่อจริงได้ในกรณีและสถานการณ์พิเศษ โดยระบุว่าเครื่องมือนี้มุ่งช่วยคนที่อาจประสบกับความรุนแรงในครอบครัวหรือกรณีที่การเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตนอาจจะทำให้เขาหรือเธอตกอยู่ในอันตรายได้ อย่างไรก็ตาม เฟซบุ๊กก็ยังยืนยันให้คนใช้ “ชื่อจริง” ยกเว้นในกรณีที่ไม่ปกติจริงๆ เท่านั้น “เรากำหนดให้คนใช้ชื่อที่เพื่อนฝูงและครอบครัวใช้เรียกตัวเอง” เฟซบุ๊กกล่าว “เมื่อคนใช้ชื่อที่ตนเป็นที่รู้จัก การกระทำและคำพูดของเขาก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นเพราะจะมีความรับผิดชอบกับสิ่งที่ตนพูดมากขึ้น” “แต่ว่าหลังจากได้รับเสียงสะท้อนความเห็นจากชุมชนผู้ใช้ เราก็เห็นความสำคัญที่นโยบายนี้จะต้องเหมาะกับทุกคนด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ชายขอบหรือถูกเลือกปฏิบัติ” บริษัทยังได้เพิ่มเครื่องมือใหม่ในการรายงานชื่อปลอม โดยกำหนดให้คนที่แจ้งเรื่องคนอื่นใช้ชื่อปลอมต้องให้ข้อมูลบริบทเพิ่มมากขึ้นด้วย เฟซบุ๊กระบุว่าบริษัทได้รับเรื่องร้องเรียนเรื่องชื่อปลอมสัปดาห์ละหลายแสนกรณี “แต่เดิม ผู้ใช้สามารถแจ้งรายงานชื่อปลอมได้เลย แต่ตอนนี้จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใหม่สองสามขั้นตอนเพื่อให้รายละเอียดแก่เรามากขึ้น” เฟซบุ๊กกล่าว “ข้อมูลบริบทที่เพิ่มมานี้จะช่วยให้ทีมงานตรวจสอบของเราเข้าใจได้ดีขึ้นว่าทำไมจึงมีการร้องเรียน” เฟซบุ๊กได้รับการกดดันอย่างมากจากกลุ่มรณรงค์ด้านสิทธิต่อนโยบายการใช้ชื่อจริงที่ทางบริษัทยืนยันหนักแน่นมาตลอด มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ถูกวิจารณ์อย่างหนักหลังจากเสนอว่าคนที่ใช้สองชื่อหรือใช้นามแฝงนั้นแสดงถึง “การขาดความซื่อสัตย์” เมื่อปีที่แล้วกลุ่มชายที่นิยมแต่งตัวข้ามเพศในซาน ฟรานซิสโก ถูกลบบัญชีเฟซบุ๊กไปเนื่องจากถูกพิจารณาว่าละเมิดนโยบายดังกล่าว หลังจากเผชิญกับการต่อต้านอย่างมาก ทางบริษัทก็ยอมรับว่าได้กระทำผิดพลาดไปที่ไปลบบัญชีเหล่านั้น แต่ก็บอกว่าบริษัทต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายในการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้ในเครือข่าย กลุ่มองค์กรที่ทำงานเรื่องสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองได้รวมตัวกันจัดตั้ง “เครือข่ายพันธมิตรไร้ชื่อ” ขึ้นมาเพื่อกดดันเฟซบุ๊กให้เปลี่ยนนโยบายนี้ เครื่องมือใหม่ที่เปิดตัวเมื่อวันอังคารนั้นยังห่างไกลจากข้อเสนอของกลุ่มดังกล่าวอยู่มาก แต่ผู้แทนจากเฟซบุ๊กก็ได้พบกับสมาชิกของเครือข่ายพันธมิตรไร้ชื่อแล้ว ที่มา : Facebook บีบีซีไทย – BBC Thai

จีนเรียกร้องนานาชาติเคารพอธิปไตยในโลกไซเบอร์ของแต่ละประเทศ

Loading

ที่งานประชุมอินเทอร์เน็ตโลก ซึ่งมีจีนเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่มณฑลเจ้อเจียง ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนกล่าวว่า แต่ละประเทศควรมีสิทธิ์ขาดในการพัฒนาและควบคุมระบบอินเทอร์เน็ตด้วยวิถีของ ตนเอง ไม่ควรมีประเทศใดมุ่งสร้างอิทธิพลครอบงำโลกไซเบอร์ หรือกระทำการบั่นทอนความมั่นคงของประเทศอื่น นายจอห์น ซัดเวิร์ธ ผู้สื่อข่าวบีบีซีที่ได้เข้าร่วมการประชุมนี้ บอกว่าคำกล่าวของนายสีนั้นเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า มาตรการความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์และการควบคุมอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็น ประเด็นสำคัญระดับชาติของจีน โดยนายสีกล่าวย้ำว่า จีนนั้นมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตถึง 650 ล้านคน จึงควรมีสิทธิ์มีเสียงในการร่างกฎระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงสิทธิ์ในการตัดสินใจว่าจะบล็อกหรือเซ็นเซอร์ข้อมูลประเภทใดบ้าง ด้วย นายสีระบุด้วยว่า เขาสนับสนุนระบบการจัดการทั่วโลกเพื่อรับมือกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใน ทางที่ผิด ต่อต้านการสอดแนมและการโจรกรรมข้อมูล และจะต่อสู้กับการโจมตีทางไซเบอร์ โดยการตัดสินใจในเรื่องนี้ไม่ควรเป็นอำนาจของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือเป็นการตัดสินใจของกลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่ ที่มา : Facebook บีบีซีไทย – BBC Thai

ระเบียบควบคุมการใช้อากาศยานไร้คนขับเริ่มมีผลบังคับใช้ในญี่ปุ่น

Loading

  กฎหมายการบินพลเรือนที่ควบคุมการใช้โดรนและอากาศยานไร้คนขับประเภทอื่นๆ ฉบับแก้ไขเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม ระเบียบชุดใหม่นี้กำหนดว่าผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ก่อนที่จะส่งอากาศยานขึ้นบินในพื้นที่ที่กำหนดว่าเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น ที่จัดงาน และใกล้ท่าอากาศยาน นอกจากนี้ผู้ควบคุมยังต้องได้รับอนุญาตก่อนที่จะส่งอากาศยานขึ้นบินในยามวิกาล หรือบินออกนอกทัศนวิสัยของผู้ควบคุม ทั้งยังต้องรายงานจุดประสงค์การส่งอากาศยานไร้คนขับขึ้นบิน เส้นทางการบิน และหมายเลขการผลิตของตัวเครื่อง ผู้ควบคุมยังต้องมีชั่วโมงบินการควบคุมอากาศยานอย่างน้อย 10 ชั่วโมง กฎระเบียบชุดใหม่กำหนดเพดานค่าปรับในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับโดยไม่ได้รับอนุญาตไว้ที่ 500,000 เยน หรือราว 150,000 บาท ที่มา : NHK WORLD News วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม เวลา 19:13 Link : http://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/news/201512102045_th_04/