เลือกตั้งสหรัฐฯ: ผู้พิพากษาสหรัฐฯ เตือนระวัง ตปท.แฮ็กระบบศาล-แพร่ข่าวเท็จช่วงเลือกตั้ง

Loading

ผู้พิพากษาของสหรัฐฯ ได้รับคำเตือนให้ระมัดระวังความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์จากต่างประเทศ ซึ่งอาจพยายามแทรกแซงการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง รวมไปถึงการเผยแพร่ข้อมูลผิดหรือข้อมูลเท็จ

ถกยึดทรัพย์คน “ด้อยค่า” กองทัพ สภารัสเซียจ่อออก กม.รับมือ “ข่าวปลอม”

Loading

  เวียเชสลาฟ โวโลดิน ประธานสภาผู้แทนราษฎรรัสเซีย ระบุเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (20 ม.ค.) ว่า รัฐสภารัสเซียจะพิจารณากฎหมายที่อนุญาตให้มีการริบเงิน ของมีค่า และทรัพย์สินอื่น ๆ จากผู้ที่ถือว่าเผยแพร่ “ข้อมูลเท็จโดยจงใจ” เกี่ยวกับปฏิบัติการทางทหารของรัสเซีย   โวโลดินระบุว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อพยายามลงโทษ “เหล่าผู้คดโกง” ที่ “สาดโคลน” ใส่รัสเซีย และทหารที่เข้าร่วมในสงครามในยูเครน ซึ่งกำลังจะครบรอบ 2 ปีในช่วงเดือน ก.พ.นี้ โดยร่างกฎหมายดังกล่าว จะถูกส่งเข้าสภาผู้แทนราษฎรรัสเซียในช่วงวันจันทร์ที่จะถึงนี้ (22 ม.ค.)   ประธานสภาผู้แทนราษฎรรัสเซียระบุว่า มาตรการในร่างกฎหมายจะบังคับใช้ต่อผู้ที่ยุยง “กิจกรรมสุดโต่ง” ในที่สาธารณะ หรือเรียกร้องให้มีการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย นอกจากนี้ กฎหมายจะบังคับยังใช้กับผู้ที่ “ทำให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง” ต่อกองทัพรัสเซีย ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาส่วนหนึ่ง ภายใต้กฎหมายที่บังคับใช้เพื่อการปราบปรามผู้เห็นต่างต่อรัฐรัสเซีย หลังจากที่รัสเซียส่งทหารเข้ารุกรานยูเครนในเดือน ก.พ. 2565 ที่ผ่านมา   ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงตามกฎหมายดังกล่าว ยังอาจถูกถอดถอนตำแหน่งกิตติมศักดิ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยได้รับอีกด้วย   “ทุกคนที่พยายามทำลายรัสเซีย…

การทดลองเผย แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ล้มเหลวในการกรองข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  Global Witness องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิทธิมนุษยชน และทีมงาน Cybersecurity for Democracy (C4D) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเผยว่า Facebook และ TikTok ล้มเหลวในการขัดขวางโฆษณาที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน   โดย Global Witness ได้ทำการทดสอบมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนโซเชียลมีเดีย ด้วยการสร้างบัญชีปลอมบน Facebook, TikTok และ YouTube จากนั้นใช้บัญชีเหล่านี้สร้างโฆษณาทั้งในภาษาอังกฤษและสเปน   ทางองค์กรระบุว่าโฆษณาแต่ละตัวมีเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน อย่างการอ้างว่าคนที่จะไปเลือกตั้งได้ต้องฉีดวัคซีนก่อน หรืออ้างว่าต้องโหวต 2 ครั้งถึงจะมีความหมาย โฆษณาบางตัวก็ใส่วันที่ของการเลือกตั้งแบบผิด ๆ   พื้นที่เป้าหมายของโฆษณาเหล่านี้คือรัฐที่มีการแข่งขันกันอย่างสูสีระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ แอริโซนา โคโลราโด จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา และเพนซิลเวเนีย   ผลก็คือมีเพียง YouTube เท่านั้นที่สามารถปิดกั้นโฆษณาทั้งหมด รวมถึงยังสามารถบล็อกบัญชีที่สร้างโฆษณาเท็จได้ด้วย   ในทางกลับกัน ในการทดลองครั้งแรก Facebook อนุมัติถึงร้อยละ 20 ของโฆษณาปลอมที่เป็นภาษาอังกฤษ และอนุมัติครึ่งหนึ่งของโฆษณาภาษาสเปน ในขณะที่การทดลองใหม่อีกครั้ง…