วิธีสังเกตเพจปลอม เพจหลอกลวง
วิธีสังเกตเพจปลอม เพจหลอกลวง หลังช่วงนี้เพจเฟซบุ๊ก ปลอม COPY เพจของแท้เยอะขึ้น ทั้งโรงแรม และร้านค้าบน Facebook เพื่อหวังหลอกผู้ซื้อให้โอนเงิน ดังนั้นบทความนี้จะบอกวิธีสังเกตของแท้ของปลอม รวมถึงวิธีสังเกตคนขายด้วย
วิธีสังเกตเพจปลอม เพจหลอกลวง หลังช่วงนี้เพจเฟซบุ๊ก ปลอม COPY เพจของแท้เยอะขึ้น ทั้งโรงแรม และร้านค้าบน Facebook เพื่อหวังหลอกผู้ซื้อให้โอนเงิน ดังนั้นบทความนี้จะบอกวิธีสังเกตของแท้ของปลอม รวมถึงวิธีสังเกตคนขายด้วย
“ชัยวุฒิ” สับแหลก เฟซบุ๊ก รับเงินเพจปลอมเป็นสปอนเซอร์ยิงแอดโฆษณาหลอกลวงประชาชนถือเป็นรายได้เข้าบริษัท แต่กลับไม่มีการตรวจสอบและสกรีน แม้ที่ผ่านมา ดีอีเอส จะรวบรวมเสนอศาลขอคำสั่งปิด แต่เพจเหล่านี้ก็จะไปเปิดใหม่ เหมือนแมวไล่จับหนู ไม่จบสิ้น” นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ดีอีเอส จะดำเนินการฟ้องต่อศาล เพื่อขอคำสั่งปิดกั้นแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊ก ไม่ให้บริการในไทย หลังจากที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก ได้มีการรับเงินโฆษณาจากเพจปลอมเพื่อเป็นสปอนเซอร์ที่หลอกชักชวนลงทุน จนเกิดความเสียหายต่อคนไทยจำนวนมาก โดยมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท โดยจากสถิติการหลอกลวงลงทุนผ่านโซเซียลมีเดียกว่า 70% เป็นการหลอกลวงผ่าน เฟซบุ๊ก และจำนวน 90% เป็นการหลอกขายของออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก “ที่ผ่านมาเฟซบุ๊กมีการรับเงินจากเพจเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นรายได้เข้าบริษัท แต่กลับไม่มีการตรวจสอบ และสกรีน ว่าเป็นเพจที่หลอกลวงหรือไม่ แต่กลับปล่อยให้เพจเหล่านี้มาหลอกลวงคนไทยจำนวนมาก แม้ที่ผ่านมา ดีอีเอส จะรวบรวมเสนอศาลขอคำสั่งปิดแต่เพจเหล่านี้ก็จะไปเปิดใหม่ เหมือนแมวไล่จับหนู ไม่จบสิ้น” นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จะมีการแนะนำให้ผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีกับแพลตฟอร์มด้วย ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาด้วย…
วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม โดยเฉพาะเพจร้านค้า และเพจโรงแรม ที่เปิดจองโรงแรมต่าง ๆ หลังมีเพจปลอมแอบเนียนเปลี่ยนชื่อมาหลอกขายผ่านทาง Facebook และมีผู้ถูกหลอกจำนวนมาก ดังนั้นควรตรวจสอบให้ดีว่าเพจนั้นเป็นเพจจริงหรือไม่ด้วยวิธีการดังนี้ วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นโรงแรม ยกตัวอย่างโดยข้อมูลจากเพจ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เผยแพร่ภาพว่าเพจโรงแรมจริง กับเพจโรงแรมปลอมนั้นแตกต่างกันอย่างไร โดยทำตามขั้นตอนดังนี้ iT24Hrs เข้าไปที่เพจของโรงแรม แล้วคลิก เกี่ยวกับ >> เลือก ความโปร่งใสของเพจ >> แล้วเลือกที่ ดูทั้งหมด iT24Hrs จะปรากกฎข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชื่อเพจ และคนจัดการเพจ จะเห็นได้ว่าเพจปลอม มีการเปลี่ยนชื่อเป็นเพจอื่น ไม่ได้ใช้ชื่อโรงแรมตั้งแต่แรก และดูคนจัดการเพจนี้ไม่ใช่คนไทย แต่มาจากเมียนมา เป็นต้น iT24Hrs ซึ่งจากเพจจริงก็ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่ต้น ปี 2012 และระบุจากประเทศไทยตั้งแต่แรก และยังพบโรงแรมอื่น ๆ ที่ถูกเพจปลอมแอบอ้างเป็นโรงแรมจำนวนมาก ดังนั้นนอกจากตรวจสอบเพจแล้ว อาจลองโทรสอบถามกับทางโรงแรมโดยตรงก็ได้ มิฉะนั้นอาจเสียเงินฟรีโดยไม่ได้พักในโรงแรมเลย…
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกลวงทำบัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารราชการปลอม โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีสร้างเพจปลอมแอบอ้างว่าเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย รับทำบัตรประชาชน เมื่อมีเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินไปให้ ก็จะถูกบล็อกการติดต่อทุกช่องทาง โดยพบผู้เสียหายจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กรมการปกครอง ย้ำว่า การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับงานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ต้องดำเนินการทางกฎหมายอย่างรัดกุม ชัดเจน โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทุกกรณี โดยขอดำเนินการได้ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือสำนักทะเบียนอำเภอเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอาญา โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงขอกำชับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายป้องกันและปราบปรามและสร้างการรับรู้ให้ประชาชน โดยขอเน้นย้ำในเรื่องสำคัญ ดังนี้ ผู้ที่จ้างหรือสั่งทำเอกสารปลอมข้างต้น ถือเป็นตัวการสำคัญในการกระทำความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารสิทธิและเอกสารราชการ โดยผู้ที่จ้างต้องรับโทษทางอาญาเช่นเดียวกับผู้รับจ้างที่ทำเอกสารปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 265 หรือ 266 แล้วแต่กรณี ซึ่งมีระวางโทษสูง ต้องจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ที่จ้างหรือสั่งทำเอกสารปลอมข้างต้น หรือผู้ใดนำเอกสารปลอมไปใช้หรืออ้างให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นเอกสารจริงโดยทุจริตและปกปิดข้อเท็จจริง มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268…
ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ แจ้งความเอาผิดกับคนที่ทำเพจปลอมเลียนแบบ ทักแชตแล้วอ้างศูนย์ดำรงธรรม ให้ส่งข้อมูลไปที่ไอดีไลน์และลิงก์ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ เมื่อ 3 มิ.ย. รายงานข่าวแจ้งว่า ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ หลังจากที่มีเพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อเลียนแบบว่า “ข่าวจริงประเทศไทย” สร้างขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ติดตาม 379 คน สำหรับพฤติกรรมของเพจเลียนแบบก็คือ เมื่อเข้าไปที่กล่องข้อความแล้วพิมพ์ข้อความ จะมีข้อความอัตโนมัติ ระบุว่า “สวัสดีครับ ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีออนไลน์ สามารถแจ้งหรือร้องทุกข์ได้ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม Line : … (ขอสงวนไอดีไลน์) คลิก : … (ขอสงวนลิงก์) ส่งหลักฐานประวัติการสนทนาและสลิปที่ถูกหลอกลวงหรือฉ้อโกงให้เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมเพื่อดำเนินการสืบสวนขยายผลดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้นะครับ” ซึ่งเป็นไอดีไลน์ปลอม พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ให้ข้อมูลว่า กลุ่มคนร้ายมักจะดำเนินการในลักษณะดังกล่าว ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ หากคลิกลิงก์หรือแอดไลน์…
Phishing-as-a-Service เป็นเซอร์วิสที่ถือได้ว่าโหดเหี้ยมมากตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ วันนี้ผมอยากให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับ “Greatness” Phishing-as-a-Service (PhaaS) แพลตฟอร์มใหม่ที่สามารถสร้างไฟล์แนบลิงก์และทำเพจปลอมเพื่อเชื่อมต่อไปยังระบบ login ของ Microsoft 365 โดยมีการออกแบบเพจให้เหมาะกับธุรกิจของผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 มีการตรวจพบแคมเปญฟิชชิ่งหลายรายการที่ใช้ PhaaS ซึ่งมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือน ธ.ค. 2565 และ เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายหลัก ๆ คือ โรงงาน ธุรกิจด้านสุขภาพ และบริษัทด้านเทคโนโลยีในแถบสหรัฐ สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ และแคนาดา แต่ที่น่าสนใจคือ มากกว่า 50% ของเป้าหมายทั้งหมดอยู่ที่สหรัฐ มีการเปิดเผยจากนักวิจัยเกี่ยวกับ PhaaS ว่าต้องมีการปรับใช้และกำหนดค่า phishing kit ด้วยคีย์ API ที่ช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ขั้นสูงของเซอร์วิสได้ง่ายขึ้น โดยฟิชชิ่งคิตและ API จะทำงานเป็น proxy ไปยังระบบตรวจสอบความถูกต้องของ…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว