รัฐบาลสกัดข่าวเท็จ ปตท.ปลอมแปลงผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง

Loading

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาย้ำเตือน ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลที่ผิดพลาด ประเด็นเรื่อง “ปตท. ปลอมแปลงผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง” โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงจาก บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น “เป็นข้อมูลเท็จ”

จีนสั่งปิดบัญชีออนไลน์ 34,000 บัญชี ฐานเผยแพร่ ‘ข่าวลือ’

Loading

ตำรวจจีนได้ปิดบัญชีออนไลน์ 34,000 บัญชี และลงโทษผู้คนมากกว่า 6,300 คน ฐานเผยแพร่ข่าวลือ ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฏหมายปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา

คิวบาโต้สื่อสหรัฐ ให้จีนเข้ามาตั้ง “ฐานปฏิบัติการสายลับ”

Loading

    รัฐบาลฮาวานากล่าวว่า การที่สื่อหลักของสหรัฐรายงานว่า จีนเตรียมเข้ามาตั้ง “ฐานปฏิบัติการสายลับ” ในประเทศนั้น “เป็นเฟคนิวส์”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงฮาวานา ประเทศคิวบา เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ว่าจากกรณีเดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล และซีเอ็นเอ็น รายงานว่า คิวบาบรรลุข้อตกลงกับจีน ในการให้รัฐบาลปักกิ่งจัดตั้ง “ฐานปฏิบัติการสายลับ” ในประเทศ โดยจะมีการติดตั้งอุปกรณ์สอดแนมอิเล็กทรอนิกส์ “เพื่อสังเกตการณ์” การติดต่อสื่อสาร ทั่วภูมิภาคทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ โดยรัฐบาลปักกิ่งมอบเงิน “หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ” เพื่อให้รัฐบาลฮาวานาเป็นผู้ก่อสร้างสถานที่แห่งนั้น   กระทรวงการต่างประเทศคิวบาออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า “ไม่เป็นความจริงอย่างสิ้นเชิง” และสหรัฐ “มักสร้างเรื่องแบบนี้เป็นประจำ” ขณะเดียวกัน คิวบาคัดค้าน “ฐานทัพต่างประเทศ” ในภูมิภาคลาตินอเมริกา รวมถึง “ฐานทัพสหรัฐ”   China will pay Cuba to host a secret spy base, where…

“ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม?” แนะ 10 จุดสังเกต ไม่ตกเป็นเหยื่อ “ข่าวปลอม”

Loading

    ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา “เฟคนิวส์” หรือ “ข่าวปลอม” ได้โผล่ว่อนโซเซียล โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาด ข่าวปลอมเกี่ยวกับสุขภาพ และเรื่องโควิด   ทำให้ภาครัฐต้องถึงกับมีนโยบายให้แต่ละหน่วยงานภาครัฐตั้งทีมขึ้นมารับผิดชอบเพื่อตรวจสอบข่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กรม หรือกระทรวง และให้รีบแจ้งประชาสัมพันธ์ถึงข้อเท็จจริงต่อสังคม เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและเข้าใจผิด!?!   อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาล จะมีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา แต่มิจฉาชีพได้ปรับเปลี่ยน รูปแบบกลโกง ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ยังมีประชาชนตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งจากรายงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบว่า 70% ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ ข่าวปลอม!!   ทั้งนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ตนเองได้รู้ทันข่าวปลอมผ่านสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะบนเฟซบุ๊ก ทางกระทรวงดีอีเอส จึงแนะนำให้สังเกตจุดสำคัญ 10 ข้อ ที่มีลักษณะเป็น “ข่าวปลอม”  ดังนี้   1. สงสัยข้อความพาดหัว : ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวหนังสือเด่น ๆ และเครื่องหมายอัศเจรีย์…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต

Loading

  ตามที่มีการส่งต่อข้อความในประเด็นเรื่องข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   จากกรณีที่มีการส่งต่อเรื่องราวโดยระบุว่าข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช รั่วและถูกนำไปเสนอขาย โดยรายละเอียดข้อมูลที่รั่วคือ ชื่อ สกุล ที่อยู่ รหัสบัตรประชาชน เบอร์โทร เพศ วันเกิด และอื่นๆ   ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลในสังกัด   ทั้งนี้ โรงพยาบาลศิริราชยังเปิดให้บริการตามปกติ และไม่มีผลกระทบต่อการรักษาและการให้บริการทางการแพทย์แต่อย่างใด โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเรียนให้ผู้รับบริการทุกท่านมั่นใจว่า คณะฯ ให้ความสำคัญในการปกป้องและรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยอย่างสูงสุดตามมาตรฐานสากล โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลไม่มีนโยบายการติดต่อกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ   ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.si.mahidol.ac.th/th หรือติดตามข้อมูลข่าวสารจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)   บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลในสังกัด ทั้งนี้…

‘ดุสิตโพล’ เปิดผลสำรวจเผยคนไทยกับโลกดิจิทัล เจอปัญหา เฟคนิวส์-มิจฉาชีพออนไลน์ พุ่ง

Loading

  29 พ.ค. 2565 – ดุสิตโพล (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 13-18 พฤษภาคม 2565 เรื่อง “คนไทยกับโลกดิจิทัล” พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันในการติดต่อสื่อสาร พูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ โซเชียลมีเดียมากที่สุด ร้อยละ 79.96 รองลงมาคือชำระเงินแบบดิจิทัล ฝาก ถอน โอน จ่าย ร้อยละ 78.44 เปรียบเทียบก่อนและเมื่อมีโควิด-19 ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้น ร้อยละ 76.97 โดยมองว่า “โลกดิจิทัล” ไม่ได้สร้างความลำบากและวุ่นวาย ร้อยละ 53.28 ในโลกออนไลน์เคยพบปัญหาการส่งต่อเฟคนิวส์ คลิป หรือข้อมูลความเชื่อผิดๆ มากที่สุด ร้อยละ 82.40 รองลงมาคือมิจฉาชีพออนไลน์ หลอกให้โอนเงิน ร้อยละ 63.84 วิธีการปรับตัวให้เข้ากับโลกดิจิทัล คือ ต้องมีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ร้อยละ 71.81 สิ่งที่คาดหวังโลกดิจิทัลสำหรับคนไทย คือ ใช้งานได้ง่าย สะดวก…