ดุดันไม่เกรงใจใคร! “ดีอีเอส” ขีดเส้น 1 เดือนจ่อปิด Facebook

Loading

  “ชัยวุฒิ” สับแหลก เฟซบุ๊ก รับเงินเพจปลอมเป็นสปอนเซอร์ยิงแอดโฆษณาหลอกลวงประชาชนถือเป็นรายได้เข้าบริษัท แต่กลับไม่มีการตรวจสอบและสกรีน แม้ที่ผ่านมา ดีอีเอส จะรวบรวมเสนอศาลขอคำสั่งปิด แต่เพจเหล่านี้ก็จะไปเปิดใหม่ เหมือนแมวไล่จับหนู ไม่จบสิ้น”   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ดีอีเอส จะดำเนินการฟ้องต่อศาล เพื่อขอคำสั่งปิดกั้นแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊ก ไม่ให้บริการในไทย หลังจากที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก ได้มีการรับเงินโฆษณาจากเพจปลอมเพื่อเป็นสปอนเซอร์ที่หลอกชักชวนลงทุน จนเกิดความเสียหายต่อคนไทยจำนวนมาก โดยมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท โดยจากสถิติการหลอกลวงลงทุนผ่านโซเซียลมีเดียกว่า 70% เป็นการหลอกลวงผ่าน เฟซบุ๊ก และจำนวน 90% เป็นการหลอกขายของออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก   “ที่ผ่านมาเฟซบุ๊กมีการรับเงินจากเพจเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นรายได้เข้าบริษัท แต่กลับไม่มีการตรวจสอบ และสกรีน ว่าเป็นเพจที่หลอกลวงหรือไม่ แต่กลับปล่อยให้เพจเหล่านี้มาหลอกลวงคนไทยจำนวนมาก แม้ที่ผ่านมา ดีอีเอส จะรวบรวมเสนอศาลขอคำสั่งปิดแต่เพจเหล่านี้ก็จะไปเปิดใหม่ เหมือนแมวไล่จับหนู ไม่จบสิ้น”     นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จะมีการแนะนำให้ผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีกับแพลตฟอร์มด้วย ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาด้วย…

รัฐบาลมาเลเซียขู่ดำเนินคดีกับเมตา (Meta)

Loading

โลโก้ของเมตา (Meta) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook), อินสตาแกรม (Instagram) และวอทแอปส์ (WhatsApp) (Photo by Chris DELMAS / AFP)   มาเลเซียขู่ว่าจะดำเนินการทางกฎหมายกับเมตา (Meta) โดยกล่าวหาว่ายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีไม่สามารถลบเนื้อหาที่ “ไม่พึงปรารถนา” ออกจากเฟซบุ๊กได้   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า หน่วยงานกำกับดูแลด้านการสื่อสารของมาเลเซียเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับเมตา (Meta) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook)   หน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐบาลกล่าวว่า แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กถูกรบกวนด้วยปริมาณที่มากมายของโพสต์ที่เป็นอันตรายในประเด็นต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ, ราชวงศ์, ศาสนา และการพนันออนไลน์ และเมตาล้มเหลวในการคัดกรองเนื้อหาดังกล่าวแม้ว่าจะมีการร้องขอซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัทสหรัฐฯ   “เนื่องจากเมตาไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างเพียงพอ คณะกรรมาธิการจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดทางกฎหมาย” คณะกรรมาธิการการสื่อสารและมัลติมีเดียของมาเลเซียกล่าวในแถลงการณ์   อย่างไรก็ดี มูลฟ้องยังไม่ได้รับการเปิดเผยว่าเมตาจะถูกดำเนินคดีข้อหาอะไร   ฟาห์มี ฟาดซิล รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารของมาเลเซีย แสดงความคิดเห็นต่อคำแถลงของหน่วยงานกำกับดูแล…

ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน ปมข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กยุโรป-หวั่นสหรัฐสอดแนม

Loading

    ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน – วันที่ 22 พ.ค. รอยเตอร์รายงานว่า คณะกรรมาธิการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ไอร์แลนด์ มีคำสั่งลงโทษปรับ “เมต้า” ผู้ให้บริการเฟซบุ๊กเป็นเงิน 1.2 พันล้านยูโร หรือกว่า 4.4 หมื่นล้านบาท ถือเป็นโทษปรับมูลค่าสูงสุดเท่าที่เอกชนไอทีเคยเผชิญมา   โทษปรับดังกล่าวของคกก.ไอร์แลนด์ หรือดีพีซี เกิดขึ้นหลังเมต้าล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปเมื่อปี 2563 ที่ให้ยุติความร่วมมือการส่งข้อมูลระหว่างยุโรปกับสหรัฐอเมริกา โดยดีพีซียังขีดเส้นตายให้เมต้าต้องยุติการโอนถ่ายข้อมูลภายใน 5 เดือน   ค่าปรับของดีพีซีนั้นนับว่าสูงที่สุดเท่าที่ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีเผชิญมา สูงยิ่งกว่าค่าปรับที่แอมะซอนเคยถูกสั่งลงโทษมูลค่า 746 ล้านยูโร หรือกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2564   คดีความการต่อสู้เรื่องความปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กในทวีปยุโรปเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน มีจุดเริ่มต้นจากนายแม็กซ์ เชร็มส์ นักรณรงค์ชาวออสเตรีย ฟ้องร้องต่อทางการโดยระบุถึงความเสี่ยงที่ชาวยุโรปอาจถูกสำนักงานความมั่นคงสหรัฐฯ หรือเอ็นเอสเอล้วงข้อมูล ตามที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนวเด็น อดีตลูกจ้างเอ็นเอสเอ ออกมาเปิดเผยต่อประชาคมโลก   ด้านเมต้า ระบุว่า…

ตร.เวียดนามจับ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ฐานพยายามล้มล้างการปกครอง หลังโพสต์-แชร์ เนื้อหาหมิ่นพรรคคอมมิวนิสต์

Loading

แฟ้มภาพเอเอฟพี   ตร.เวียดนามจับ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ฐานพยายามล้มล้างการปกครอง หลังโพสต์-แชร์ เนื้อหาหมิ่นพรรคคอมมิวนิสต์   เมื่อวันที่ 17 มีนาคม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ตำรวจเวียดนามได้ทำการจับกุมผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ถูกทางการกล่าวหาว่าพยายามล้มล้างระบอบปกครองด้วยการแชร์เนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาทบรรดาผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม   กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของเวียดนามแถลงว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุม ฟาน ถิ ธานห์ ญา อายุ 39 ปี ซึ่งถูกกล่าวหาว่าโพสต์และแชร์บทความและวิดีโอรวม 25 รายการตั้งแต่ปี 2018 โดยมุ่งบิดเบือนและทำให้คณะผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและประเทศเสื่อมเสียชื่อเสียง   นอกจากนี้ ฟาน ถิ ธานห์ ญา ยังถูกตำรวจกล่าวหาว่าเข้าร่วมและเกณฑ์สมาชิกใหม่เพื่อเข้าร่วมใน “รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งชาติเวียดนาม” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฐานการดำเนินงานในสหรัฐอเมริกา ที่ทางการเวียดนามได้ขึ้นบัญชีดำว่าเป็น”องค์กรก่อการร้าย” ด้วย   ทั้งนี้แม้จะมีการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางและเปิดกว้างมากขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามยังคงเซ็นเซอร์สื่ออย่างเข้มงวดและแทบจะไม่อดทนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมคุมขังประชาชนจำนวนมากที่ออกมาแสดงความเห็นต่อต้านรัฐบาลเวียดนาม     ————————————————————————————————————————- ที่มา :               …

ดีมากกว่าเสีย? ‘เฟซบุ๊ก’ เก็บเงินยืนยันตัวตน ช่วยแยกเพจปลอมคนดังที่ถูกแอบอ้างได้

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ ชี้ เฟซบุ๊กเก็บเงินค่ายืนยันตัวตน ช่วยให้รู้ว่าเพจไหนปลอมเพจไหนจริง แต่หวั่นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ต้องใช้บัตรประชาชนสมัคร ระบุต้องอยู่ภายใต้ ก.ม.พีดีพีเอ   ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การที่เฟซบุ๊กจะเก็บค่าบริการ ใช้สัญลักษณ์รับรองบัญชีอย่างเป็นทางการ (Meta Verified) ประมาณ 400-500 บาทต่อเดือน นั้น จะช่วยให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก รู้ว่าเพจไหนเป็นเพจจริงหรือปลอม หลังจากปัจจุบันจะพบปัญหาเพจปลอมจำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่มีชื่อเสียงถูกปลอมหรือแอบอ้างทำเพจปลอมจำนวนมาก ผู้มีชื่อเสียงบางคนถูกนำรูปและข้อมูลไปปลอมเพจมีเป็นสิบเป็นร้อยเพจ ถ้ามีการยืนยันมีเครื่องหมายถูก ก็จะช่วยให้คนที่ใช้งาน รู้ว่าเพจไหนปลอมหรือจริง ช่วยให้ไม่ถูกหลอก   “สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การสมัครบริการ จะต้องใช้บัตรประชาชน หรือเอกสารราชการนั้น ทางเฟซบุ๊ก ก็ต้องดำเนินการ ตามกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของประเทศไทย ต้องดูแลข้อมูล ไม่ให้เกิดการรั่วไหล และหากเกิดรั่วไหลก็ต้องมีความรับผิดชอบตามกฎหมายประเเทศไทย แต่ที่ผ่านมาผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม จากต่างประเทศเหล่านี้มักอ้างว่า ไม่มีออฟฟิศ หรือสำนักงานในไทย ซึ่งจะทำให้การเอาผิดตามกฎหมายทำได้อยาก ส่งผลให้ไทยไม่มีอธิปไตยไซเบอร์ ที่ไม่สามารถเอาผิดแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ตามกฎหมาย”   ดร.ปริญญา กล่าวต่อว่า การให้บริการนี้ทางเฟซบุ๊ก บอกว่าจะให้บริการในการติดต่อเจ้าหน้าที่ที่รวดเร็วขึ้นหากเกิดปัญหา ถือเป็นพรีเมียมเซอร์วิส แต่ที่จริงควรจะดำเนินการให้กับทุกคนไม่เฉพาะที่ต้องจ่ายเงิน และต้องดูว่า เมื่อมีการจ่ายเงินไปแล้ว จะได้รับบริการเร็วตามที่อ้างหรือไม่ หากมีคนยอมจ่ายเป็นล้านคนจะได้บริการที่รวดเร็วหรือไม่ ต้องดูว่าประสบการณ์ หลังการจ่ายเงินแล้วจะเป็นตามที่โฆษณาหรือไม่ โดยมองว่าบริการนี้จะมีคนจ่ายเฉพาะคนดัง…

วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook

Loading

  วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook การที่เรามีบัญชี Facebook ใส่ข้อมูลประวัติบางอย่าง นั่นหมายความว่าจะมีคนอื่นๆเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือข้อมูลประวัติทั่วไป ทุกคนบน Facebook สามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ ดังนั้นการรักษาความเป็นส่วนตัวใน Facebook จึงเป็นเรื่องสำคัญและขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการตั้งค่าเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook   วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook   1. อย่าเพิ่มคนไม่รู้จักเลยเป็นเพื่อน เพราะเราไม่มีทางรู้เจตนาหรือตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาว่าคิดดีกับเราหรือไม่ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือเพิ่มเฉพาะคนที่เรารู้จักเป็นการส่วนตัว และเคยเจอคุยกันในชีวิตจริงเท่านั้น   2. อย่าอัปโหลดข้อมูลทั้งหมดของคุณ Facebook มีส่วนเฉพาะที่ผู้ใช้สามารถเพิ่มข้อมูลส่วนบุคคล การศึกษา และรายละเอียดการทำงาน แต่การเพิ่มข้อมูลนั้นมันจำเป็นจริงๆ หรือ? Facebook และผู้ใช้รายอื่นจำเป็นต้องรู้ว่าคุณเรียนจบในวัยมัธยมที่ไหน? แม้การให้ข้อมูลทุกอย่างอาจดูน่าสนใจ แต่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอัปโหลดข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมด คุณควรเพิ่มเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อ เมือง และรูปโปรไฟล์ล่าสุดของคุณและหลีกเลี่ยงการอัปโหลดข้อมูลลับให้เห็นในรูปแบบสาธารณะ   3. ปรับแต่งความเป็นส่วนตัวของโพสต์ของคุณ ทุกโพสต์ที่คุณแชร์มีตัวเลือกในการแก้ไขความเป็นส่วนตัวและทำให้ผู้ชมบางคนเห็นได้ ผู้ใช้สามารถอัปโหลดรูปโปรไฟล์และเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นเพื่อนหรือเฉพาะฉัน ขั้นตอนมีดังนี้   iT24Hrs   ใน Facebook Stories ยังมีตัวเลือกในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายคุณควรเปลี่ยนการตั้งค่าผู้ชมเป็นเพื่อนเท่านั้นหรือเพื่อน…