รัฐบาลทหารเมียนมาชี้ทีวีดาวเทียม “เป็นภัยความมั่นคง”

Loading

  การรับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นสิ่งผิดกฎหมายในเมียนมาแล้ว ผู้ใดฝ่าฝืนอาจต้องรับโทษจำคุกนานถึง 1 ปี และปรับเงินมากกว่า 10,000 บาท สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ว่า สถานีโทรทัศน์แห่งชาติเมียนมา ( เอ็มอาร์ทีวี ) ประกาศว่า นับจากนี้เป็นต้นไป โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นบริการผิดกฎหมายในประเทศ การรับชมโทรทัศน์ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 จ๊าด ( ราว 10,025.65 บาท )   Yup, you heard it right. 1 year imprisonment and 500,000 MMK fine for having a satellite dish/receiver! 'စေတနာကောင်း' ဖြင့်အသိပေးခြင်းတဲ့ pic.twitter.com/WAcVQeBn23 — M…

‘จีน’ เต้น! เจอผู้ประท้วงเมียนมา ขู่ระเบิดท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน

Loading

  “จีน” ประชุมฉุกเฉินร่วมกับ “เมียนมา” เรียกร้องขอให้คุ้มครองความปลอดภัยท่อก๊าซและท่อน้ำมัน หลังผู้ประท้วงขู่ระเบิด ไม่พอใจท่าทีจีนในเหตุการณ์ประท้วงรัฐประหาร ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองเมียนมา ที่ร้อนระอุ ซึ่งกองกำลังรักษาความมั่นคงได้ใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามผู้ประท้วงชาวเมียนมาต้านรัฐประหาร ทางด้านรัฐบาลปักกิ่ง ได้จัดประชุมฉุกเฉินระดับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่างประเทศเมียนมา เพื่อขอให้คุ้มครองความปลอดภัยท่อก๊าซและท่อน้ำมันระหว่างจีนกับเมียนมา ที่อยู่ในฝั่งเมียนมามีความยาว 795 กม. เว็บไซต์สํานักข่าวอิระวดีอ้างเอกสารลับว่า นายไป๋ เทียน อธิบดีกรมกิจการความมั่นคงระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจีน ได้ขอให้รัฐบาลทหารเมียนมารับรองความปลอดภัยของท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หลังจากที่กลุ่มต่อต้านจีนเกิดความไม่พอใจจุดยืนรัฐบาลจีนต่อการที่กองทัพเมียนมาทำรัฐประหาร ท่อส่งก๊าซธรรมชาติระหว่างจีน – เมียนมา มีระยะทางในฝั่งเมียนมาเกือบ 800 กม. ซึ่งประกอบด้วยท่อส่งคู่ขนานเริ่มต้นที่เกาะแรมรี ในเขตท่าเรือเจียวเพียว และสร้างคู่ขนานกับท่อน้ำมันดิบจีน-เมียนมา และไปแยกกันที่เมืองอานซุ่นในมณฑลกุ้ยโจว ผ่านนครกุ้ยหยาง และสิ้นสุดที่เมืองกุ้ยก่าง ในเขตปกครองตนเองกว่างสีจ้วง มีความยาวรวมทั้งหมด 2,520 กม. รัฐบาลปักกิ่งคาดหวังว่า เมียนมาจะออกมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้นสำหรับโครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมันดังกล่าว เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญของโครงการสายแถบและเส้นทาง(บีอาร์ไอ) “ความเสียหายใดๆ ที่เกิดกับท่อส่งก๊าซและน้ำมัน จะส่งผลต่อความสัมพันธ์จีนและเมียนมา รวมถึงความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ” ไป๋กล่าวเตือน เอกสารลับฉบับนี้ยังระบุว่า ปลัดกระทรวงต่างประเทศเมียนมาไม่สามารถเข้าร่วมประชุมนี้ได้ เนื่องจากได้รับการแจ้งล่วงหน้าจากจีนเพียง 4 ชั่วโมงให้จัดประชุมฉุกเฉินดังกล่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลปักกิ่งมีความกังวลอย่างยิ่งต่อโครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมันดังกล่าว การแสวงหาผลประโยชน์ของจีนในเมียนมา…

กองทัพเมียนมาแก้ประมวลกฎหมายอาญาความมั่นคง

Loading

การปลุกระดมให้เกิดการล้มล้างรัฐบาลและรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นกบฏ” เนื่องจากเป็นลักษณะความผิดที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสังคม ขณะเดียวกัน รัฐบาลทหารเมียนมายังกำหนดลักษณะความผิดอาญาด้านความมั่นคงอีกหลายรูปแบบ     สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ว่าคณะมนตรีการปกครองแห่งรัฐเผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการแก้ไขบางมาตราของประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วย “พฤติการณ์เข้าข่ายก่อสงครามต่อสหภาพเมียนมา” ซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศ ให้ครอบคลุมถึงการปลุกระดม การสนับสนุนหรือสมคบคิดกับกลุ่มบุคคลใด โดยมีเป้าประสงค์เพื่อล้มล้างรัฐบาลและอำนาจตามรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นความผิดร้ายแรง ฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดิน” Anti-coup protesters rally outside National League for Democracy party (#NLD) offices in #Yangon#Myanmar pic.twitter.com/Eba1b11VJ4 — Ruptly (@Ruptly) February 15, 2021 Protesters in Myanmar continued to demand for the release of ousted civilian leader…

ที่มาของการเรียกชื่อประเทศ “Burma” และ “Myanmar” บนเวทีโลก

Loading

  เป็นที่ทราบกันว่าเมียนมาคือประเทศพม่าที่คนไทยเรียกขานกัน สองชื่อนี้ที่เป็นภาษาอังกฤษ คือ Burma และ Myanmar ถูกเลือกใช้เเตกต่างกันในประเทศต่างๆ และในเมียนมาเอง สหประชาชาติและ หลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย ใช้คำเรียกประเทศเพื่อนบ้านของไทยนี้ว่า Myanmar แต่สหรัฐฯ มีนโยบายให้ใช้คำเรียกเมียนมาว่า Burma แต่หากต้องเป็นงานที่ต้องเเสดงมารยาททางการทูตในกรณีพิเศษสหรัฐฯจะใช้คำว่า Myanmar แทน ตามคำอธิบายของโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้คำเรียกทั้งสองชื่อมีที่มาทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ เมื่อปี ค.ศ.1989 หลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยและสังหารคนหลายพันคน กองทัพผู้ปกครองประเทศเปลี่ยนชื่อพม่าจาก Burma เป็น Myanmar ผู้นำทหารยังเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจาก Rangoon เป็น Yangon กองทัพให้เหตุผลว่า ชื่อเดิม Burma เป็นการสะท้อนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ชาว Burman ของประเทศแต่มองข้ามความสำคัญของชนกลุ่มน้อยอื่นในประเทศที่มีอยู่ 134 กลุ่ม นอกจากนี้ชื่อ Burma ยังเป็นคำเรียกเมื่อครั้งที่ประเทศอยู่ใต้อำนาจจักรวรรดินิยมอังกฤษ     ในส่วนของคนในประเทศเอง นางออง ซาน…

กองทัพเมียนมาบล็อก’เฟซบุ๊ก’ ด้วยเหตุผล’ความมั่นคง’

Loading

  “เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านความมั่นคงภายใน” รัฐบาลทหารเมียนมาสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเฟซบุ๊ก และบริการในเครือทั้งหมด จนถึงวันอาทิตย์นี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ว่ากระทรวงการสื่อสารของเมียนมาออกแถลงการณ์ เมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา ว่าบริการเฟซบุ๊กในประเทศจะไม่สามารถใช้งานได้ จนถึงวันที่ 7 ก.พ.นี้ “ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง” เนื่องจากตรวจสอบพบว่า “บุคคลบางกลุ่ม” กำลังบ่อนทำลายเสถียรภาพด้านความมั่นคงภายในเมียนมา ด้วยการเผยแพร่ข่าวเท็จ และข้อมูลอันบิดเบือน ขณะที่ เน็ตบล็อกส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรอิสระสังเกตการณ์ด้านการใช้อินเทอร์เน็ต ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เอ็มพีที ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของเมียนมา ไม่ได้เพียงปิดกั้้นการเข้าถึงเฟซบุ๊ก แต่ยังรวมถึงอินสตาแกรม เมสเซนเจอร์ เซอร์วิส และวอตต์สแอปป์ ซึ่งเป็นบริการในเครือของเฟซบุ๊กด้วย The move comes amid growing expressions of outrage over the coup by Myanmar citizens, who have turned to social media to express…

‘เมียนมา’ กว่าล้าน โหลดแอพ ‘Bridgefy’ เลี่ยงกองทัพตัดสัญญาณเน็ต

Loading

  “เมียนมา” กว่าล้านคน โหลดแอพพลิเคชั่น “Bridgefy” ใช้สื่อสารหลังกองทัพเมียนมาทำรัฐประหาร เลี่ยงตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตอีกในอนาคต ชาวเมียนมากว่าล้านคนโหลดแอพพลิเคชั่น “Bridgefy” (บริดจ์ไฟ) เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีฐานอยู่ในเม็กซิโก ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่า แอพฉุกเฉินยอดนิยม ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้ระบบ “Bluetooth Mesh System” ในการค้นหาคนที่เล่นบริดจ์ไฟ เหมือนกันในรัศมี 100 เมตร และเชื่อมต่อกันในห้องแชตสาธารณะ โดยไม่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เช่น กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และในเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่ฮ่องกง เมื่อปีที่แล้ว ในเหตุการณ์กองทัพเมียนมาทำรัฐประหารเมื่อช่วงเช้าของวันจันทร์ (1 ก.พ.) ที่มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตในกรุงเนปิดอว์, ย่างกุ้ง และพื้นที่บางส่วนของประเทศ ฮอร์เก ริออส ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริดจ์ไฟ เปิดเผยว่า ในระหว่างเย็นวันจันทร์ถึงวันอังคารที่ผ่านมา มีผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 1.1 ล้านคนในเมียนมา จากจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ราว 22 ล้านคน บริดจ์ไฟทวีตข้อความว่า หวังว่าประชาชนในเมียนมาจะพบว่า แอพของเรามีประโยชน์ในช่วงเวลาอันยากลำบาก แม้ว่า ขณะนี้การสื่อสารจะกลับมาใช้ได้ตามปกติตั้งแต่เย็นวันจันทร์…