รัฐบาลทหารเมียนมาขยายเวลาภาวะฉุกเฉิน ส่งสัญญาณการเลือกตั้งล่าช้า

Loading

  รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศขยายเวลาภาวะฉุกเฉินออกไปอีก 6 เดือนเมื่อวันจันทร์ ส่งสัญญาณถึงการชะลอการเลือกตั้งที่พวกเขาให้คำมั่นว่าจะจัดภายในเดือนสิงหาคม   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 31 กรกฏาคม 2566 กล่าวว่า ที่ประชุมสภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติเมียนมา (เอ็นดีเอสซี) ที่อยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร ออกประกาศระบุว่า “สถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศจะขยายออกไปอีก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2566”   ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่ร่างขึ้นโดยกองทัพเมียนมาซึ่งรัฐบาลทหารระบุว่ายังคงมีผลบังคับใช้ กำหนดให้ทางการต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 6 เดือนหลังจากยกเลิกภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นการขยายเวลาออกไปอีก 6 เดือน ทำให้การเลือกตั้งใหม่ภายในเดือนสิงหาคมปีนี้ตามที่รัฐบาลทหารเคยสัญญาว่าจะจัดให้มี ต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน   มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหาร อธิบายต่อที่ประชุมฯว่า การสู้รบและการโจมตียังคงเกิดขึ้นในภูมิภาคสะกาย, มะเกว, พะโค และตะนาวศรี เช่นเดียวกับรัฐกะเหรี่ยง, กะยา และรัฐชิน   “เราต้องการเวลาเพื่อทำหน้าที่เตรียมการอย่างเป็นระบบต่อไป และไม่ควรรีบเร่งจัดการเลือกตั้งตามกำหนดเดิม” เขากล่าวกับที่ประชุม   รัฐบาลทหารได้ขยายภาวะฉุกเฉินออกไปแล้วในปีนี้…

19 ก.ค. 1947 นายพลออง ซาน บิดาแห่งเอกราช วีรบุรุษของพม่า ถูกลอบสังหาร

Loading

  นายพลออง ซาน หรืออู อองซาน เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915 ที่เมืองนัตเม่าก์ บิดาคืออูเผ่า เป็นทนายความ มารดาชื่อด่อซู ผู้เป็นปู่คือ โบมีงยอง เป็นนักต่อสู้ที่รักชาติและเคยต่อต้านเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษ นายพลออง ซาน จึงได้สืบทอดมรดกทางจิตใจคือความรักชาติและเป็นนักต่อสู้มาจากคุณปู่   นายพลออง ซานเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์กับคนทุกคนอย่างเสมอภาค และคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของเขา คือ การเคารพในความถูกต้อง ไม่กล่าวเท็จและยึดมั่นในคุณธรรม เป็นคนที่ไม่หลงใหลในลาภยศหรือเงินทอง นายพลเป็นคนที่พูดจาเด็ดขาด การทำงานก็ตรงไปตรงมา และได้เป็นผู้นำการต่อสู้กับอังกฤษเพื่อเอกราชของพม่า โดยได้เป็นผู้นำของ “สมาคมชาวเราพม่า” หรือ “พรรคตะขิ่น” (thakin) โดยมีจุดประสงค์คือ การต่อต้านเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษและความต้องการเอกราชทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ   เมื่อพม่าถูกอังกฤษยึดเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ ใน ค.ศ. 1855 อังกฤษได้ปกครองพม่าโดยตรง และได้ยกเลิกระบบการปกครองเดิมของพม่า สถาบันที่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจเดิมคือสถาบันกษัตริย์ที่รุ่งเรืองมาในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพม่า และยังเป็นสถาบันรักษาศิลปวัฒนธรรมและศาสนาสิ้นสุดลง การปกครองระยะเริ่มแรกคือระหว่างปี 1886-1925 อังกฤษได้ให้พม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ยกเลิกการปกครองในหมู่บ้านแบบเก่า จากเดิมที่เคยผูกขาดโดยชนชั้นสูงในหมู่บ้าน ด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านแบบหมุนเวียนกัน นำระบบเทศบาลเข้ามาใช้ตามเมืองใหญ่ๆ ทางตอนล่างของพม่า…

อีกแนวรบ! ฝ่ายต่อต้านถล่มทหารเมียนมา ระเบิดสะพานใหญ่ เป็นจุดที่ 2

Loading

  อีกแนวรบ! ฝ่ายต่อต้านถล่มทหารเมียนมา ขณะลำเลียงกำลังพล พร้อมระเบิดสะพานใหญ่ เป็นจุดที่ 2 ส่งผลทหารเมียนมา บาดเจ็บ เสียชีวิตจำนวนมาก   11 กรกฎาคม 2566 ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทหารสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู.) ร่วมกับ กองกำลังปกป้องประชาชน (พีดีเอฟ.) ปฏิบัติการทางทหาร ยิงใส่รถทหารเมียนมา บนเส้นทางสายจังหวัดกอกาเลก – เมียวดี ตรงข้าม อ.แม่สอด   ขณะที่ทหารเมียนมา กำลังลำเลียงกำลังพลบนเส้นทางดังกล่าว ทำให้มีทหารเมียนมาเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บหลายคน รวมรถยนต์ได้รับความเสียหายด้วย     ขณะเดียวกันฝ่ายต่อต้าน ได้วางกับระเบิดสะพานใหญ่ เชื่อมทางหลวงเส้นทางสายเมียวดี – ย่างกุ้ง จุดเมืองผ่าอ่าง กับ จ.ท่าตอน แรงระเบิดทำให้สะพานเสียหาย สะเก็ดระเบิดกระจายไปทั่ว และทำให้บริเวณตอม่อสะพานชำรุด   ทางการเมียนมา ประกาศห้ามรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ และขนาดเล็กวิ่งไปมา เพราะเกรงว่า จะได้รับอันตราย…

เปิดโปงอาชญากรไซเบอร์จีนตามพรมแดนไทย-เมียนมา มุ่งโจมตีเหยื่อทั่วโลก

Loading

Chinese restaurants with signage in Chinese and Burmese are seen in Shwe Kokko, a newly built town in Myanmar’s Karen state. (VOA Burmese)   องค์กรอาชญากรรมไซเบอร์จากจีนที่ปฏิบัติการอยู่ตามแนวพรมแดนไทย – เมียนมา กำลังคุกคามผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกด้วยหลอกลวงออนไลน์และการฉ้อโกงทางการเงิน โดยใช้ “ทาสทางไซเบอร์” ในการก่ออาชญากรรมต่าง ๆ อ้างอิงจากรายงานของสถาบันแห่งสันติภาพสหรัฐฯ หรือ USIP (United States Institute of Peace) ในกรุงวอชิงตัน   รายงานที่ชื่อ “A Criminal Cancer Spreads in Southeast Asia” ระบุว่า อาชญากรไซเบอร์เหล่านั้นถูกขับไล่ออกจากจีน และขณะนี้ดำเนินการอยู่ตามแนวพรมแดนของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง ไทย…

จากยูเครนถึงพม่า! Free Burma Rangers ขอบคุณอีลอน มัสก์ ปล่อยสัญญาณเน็ต “สตาร์ลิงก์” ให้กองกำลังติดอาวุธรัฐกะยา

Loading

การใช้อินเทอร์เน็ตในป่ารัฐกะยาของกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (ภาพจาก Kantarawaddy Times)   ชัดแล้วแสงบนท้องฟ้าที่มองเห็นในภาคเหนือของไทยเมื่อต้นเดือนมิถุนายน เป็นกลุ่มดาวเทียมสตาร์ลิงก์ของสเปซเอ็กซ์ที่เคลื่อนตัวเข้าไปปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้านที่กำลังรบหนักอยู่กับกองทัพพม่า ผบ. Free Burma Rangers ทวีตขอบคุณอีลอน มัสก์ ที่ช่วยให้การทำงานในรัฐกะยาสะดวกขึ้น   สำนักข่าว Kantarawaddy Times รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เดวิด ยูแบงก์ ผู้อำนวยการ Free Burma Rangers กลุ่ม NGO จากสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าไปเคลื่อนไหวอยู่ในรัฐกะยา (กะเหรี่ยงแดง) ของพม่า ได้ทวีตข้อความขอบคุณอีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ และโครงการสตาร์ลิงก์ ที่ช่วยให้ในรัฐกะยามีสัญญาณอินเทอร์เน็ตใช้ ทำให้การทำงานในพื้นที่ของพวกเขาสะดวกขึ้น   สตาร์ลิงก์เป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนมากที่โคจรอยู่รอบโลก ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ เพื่อให้ทุกพื้นที่ทั่วโลกสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ โดยปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมให้พื้นที่ห่างไกลที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตประเภทอื่นไม่สามารถเข้าถึง   รัฐกะยาอยู่ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทย เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งขณะนี้กำลังมีการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (PDF) กับกองทัพพม่า และกลยุทธ์หนึ่งที่กองทัพพม่านำมาใช้ คือการตัดการสื่อสาร โดยไม่ปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่รัฐกะยา รวมถึงอีกหลายรัฐที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพพม่า…

สิงคโปร์-อินโดนีเซียประณามเมียนมา โจมตีใส่ขณะทูตช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

Loading

    “สิงคโปร์ประณามการโจมตีครั้งนี้” กระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์กล่าว ในแถลงการณ์เมื่อค่ำวานนี้ (8 พ.ค.) “สิ่งสำคัญคือต้องปกป้องความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรมและการทูต เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาสามารถดำเนินการต่อไปได้ และให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ผู้ที่ต้องการ”   ยังคงไม่มีความแน่ชัดว่าใครอยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ โดย โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียกล่าวว่า เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเดินทางไป “มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม” ในภูมิภาคดังกล่าว โดยขบวนรถอยู่ภายใต้การคุ้มกันของทหารในขณะนั้น “น่าเสียใจที่ระหว่างทางของพวกเขา เกิดการยิงกันขึ้น” สำนักข่าว AFP รายงานอ้างอิงคำพูดของวิโดโด   Global New Light of Myanmar สื่อของรัฐเมียนมา รายงานเมื่อวันอังคาร (9 พ.ค.) ว่า การโจมตีเกิดขึ้นในขณะที่ยานพาหนะกำลังมุ่งหน้าจากเมืองสีเซ็งไปยังเมืองตองยี และ “ผู้ก่อการร้ายยิงพวกเขาโดยใช้อาวุธขนาดเล็ก และกองกำลังความมั่นคงได้ทำการโจมตีตอบโต้” ทั้งนี้ รายงานระบุว่าไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ แต่กระสุนบางนัดทำให้รถเสียหาย ทั้งนี้ กองทัพเมียนมาใช้คำว่า “ผู้ก่อการร้าย” เพื่ออธิบายผู้ที่ต่อต้านการปกครองของตัวเอง   ในสัปดาห์นี้ อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ลาบวนบาโจตะวันออก โดยมีสมาชิก 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมการประชุม ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากความล้มเหลวของอาเซียน ที่จะดำเนินการมากกว่าเดิม…