เมื่อตกเป็นเหยื่อสแกมเมอร์ เสียเงินอาจไม่เลวร้ายเท่าเสียความรู้สึก

Loading

    Summary ปัญหาสแกมเมอร์กลายเป็นวาระระดับโลกเพราะมีต้นเหตุจากเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ อีกทั้งยังส่งผลกระทบมากกว่าด้านการสูญเสียเงิน แต่ยังส่งผลสะเทือนถึงจิตใจอีกด้วย การศึกษาพบว่าเหยื่อที่เสียเงินจำนวนมากมักเผชิญความเครียดและความอับอาย หลายครั้งไม่กล้าที่จะพูดคุยกับคนรอบข้าง ผลกระทบทางใจ เช่น ความเครียด ความสิ้นหวัง การโทษตนเอง ส่งผลรุนแรงกว่ามูลค่าการสูญเสียที่เป็นตัวเงิน โดยเฉพาะในสแกมหลอกให้รัก (romance scam) ที่ผู้ถูกหลอกจะรู้สึกถูกหักหลังโดยคนที่ตัวเองรักหมดใจและสูญเสียความสามารถที่จะเชื่อใจคนใกล้ตัว ในฐานะคนใกล้ชิด การให้กำลังใจและรับฟังโดยไม่ตัดสินคือสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อรู้ว่าคนใกล้ตัวตกเป็นเหยื่อ รวมถึงการช่วยรวบรวมหลักฐานเพื่อแจ้งความดำเนินคดี และหากเห็นสัญญาณความเครียดในระดับที่รุนแรงก็ควรพาเหยื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต     ในยุคสมัยที่เราต้องเอาตัวรอดจากสารพัดกลโกงที่ส่งต่อมาทั้งทางโทรศัพท์มือถือ เว็บไซต์ และอีเมล์ สำหรับใครที่ยังอยู่รอดปลอดภัยก็ถือว่าโชคดี แต่จากสถิติที่ผู้เขียนไปพบปะกับเพื่อนครั้งล่าสุด ตัวพวกเขาเองหรือคนใกล้ตัวต่างผ่านประสบการณ์พลาดพลั้งถูกหลอกเอาเงินมาแล้วทั้งนั้น   คนในครอบครัวของผมเองก็ยังไม่พ้นตกเป็นเหยื่อ ทั้งกรอกบัตรเครดิตใส่เข้าไปในเว็บไซต์ปลอมที่ส่งมาทางอีเมล หรือสั่งซื้อของออนไลน์จากเว็บไซต์ที่ไม่มีอยู่จริง คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่าถ้าใครไม่เคยถูกหลอกหรือมีคนใกล้ตัวตกเป็นเหยื่อคงนับเป็นคนส่วนน้อยที่ตกขบวน!   หลายคนเข้าใจผิดว่าปัญหาสแกมเมอร์คือปัญหาระดับชาติ ผมอยากจะให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่านี่คือ ‘ปัญหาระดับโลก’ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ The Economist ถึงขั้นพาดหัวข่าวไว้ว่าอุตสาหกรรมสแกมเมอร์ออนไลน์อาจเป็นเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติที่ใหญ่สูสีกับอุตสาหกรรมยาเสพติด   เครือข่ายดังกล่าวทำงานกระจายกันหลายประเทศทั่วโลก แต่มีศูนย์ใหญ่อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากประเทศไทย โดยองค์การสหประชาชาติประมาณการไว้ในปี 2023 ว่าสแกมเมอร์กว่า 200,000 ชีวิตจาก 70 ประเทศทั่วโลกเองก็เป็น ‘เหยื่อ’ ที่ถูกหลอกให้มาทำงานในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่พม่าและกัมพูชา…

ใช้อย่างระวัง ค้นหาข้อมูลผ่าน ChatGPT เสี่ยงเจอ ลิงก์ปลอม ซ่อนมัลแวร์

Loading

  เมื่ออาทิตย์ก่อน OpenAI เพิ่งเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า “ChatGPT Search” ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้โดยตรงในอินเทอร์เฟซได้ง่าย ๆ แต่แคสเปอร์สกี้ได้ออกมาเตือนว่า ควรระมัดระวังการคลิกลิงก์ที่ ChatGPT แนะนำ เพราะอาจเป็นลิงก์ฟิชชิงหรือเว็บไซต์ปลอม   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้พบว่า ChatGPT Search อาจแสดงลิงก์ฟิชชิง หรือ ลิงก์ปลอม โดยเฉพาะเมื่อค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเงินดิจิทัล เช่น เกมคริปโต หรือเว็บไซต์แลกเปลี่ยนเงินคริปโต ลิงก์เหล่านี้อาจปรากฏในชื่อเว็บไซต์ เนื้อหา หรือผลลัพธ์การค้นหา โดยมักจะหลอกล่อให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกระเป๋าเงินดิจิทัล   อย่างไรก็ตาม เมื่อค้นหาแบรนด์ดัง 5 อันดับแรกที่ตกเป็นเป้าหมายของการฟิชชิงมากที่สุด ChatGPT Search กลับแสดงลิงก์ที่ถูกต้อง แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงนี้คล้ายกับที่พบในเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ อย่าง Google โดยลิงก์ฟิชชิงอาจปรากฏขึ้นในผลการค้นหาชั่วคราว   ChatGPT Search มักจะแสดงลิงก์ที่ถูกต้อง แต่บางครั้งก็อาจเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย ซึ่งยังไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าจะไม่มีลิงก์ฟิชชิงหลุดรอดออกมา ดังนั้น ผู้ใช้ควรระมัดระวัง ตรวจสอบลิงก์ก่อนคลิกทุกครั้ง และอัปเดตซอฟต์แวร์ความปลอดภัยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ผู้ใช้พิจารณาคำตอบและผลการค้นหาของบอตด้วยความระมัดระวัง เพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตและเข้าเว็บอย่างปลอดภัยคือ…

HPE เตือนช่องโหว่ RCE บน Access Point ของ HPE Aruba Networking

Loading

โดย 2 ช่องโหว่ระดับร้ายแรงบน Access Point ของ HPE Aruba Networking นั้นคือ CVE-2024-42509 และ CVE-2024-47460 ซึ่งถูกประเมินความรุนแรงสูงถึง 9.8 และ 9.0 ซึ่งทั้งสองนั้นอยู่ในบริการ Command Line Interface (CLI) ที่จะถูกเข้าถึงได้ผ่านโปรโตคอล PAPI

ดีอี เร่งแก้กฎหมายป้องไซเบอร์ ชงครม.อนุมัติเพิ่มโทษ บังคับแบงก์ร่วมรับผิด

Loading

รมว.ดีอี เผย พ.ร.ก.ป้องปรามอาชญากรรมไซเบอร์ฉบับแก้ไขกำลังเข้า ครม. เพิ่มโทษการซื้อขายข้อมูล บัญชี-ซิมม้า บีบแบงก์ให้ร่วมรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายหากเอื้อมิจฉาชีพ เปิดทางคืนเงินกว่าหมื่นล้านให้ผู้เสียหาย