ตร.ไซเบอร์ เตือนภัย ขรก.เกษียณ ยื่นรับบำเหน็จระวัง เว็บไซต์-แอปฯ ปลอม

Loading

    ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยข้าราชการเกษียณยื่นรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเอง ระวังเว็บไซต์และแอปพลิเคชันปลอม ที่ทำให้หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล จนตกเป็นเหยื่อ จึงแนะวิธีหลีกเลี่ยง 9 ข้อ   เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 1 ก.พ. พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเตือนภัยข้าราชการเกษียณยื่นรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองให้ถูกช่องทาง ระมัดระวังเว็บไชต์ปลอม แอปพลิเคชันปลอมของมิจฉาชีพที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงิน ในกรณีที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้อำนวยความสะดวกให้กับข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่พ้นราชการ เนื่องจากเกษียณอายุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 โดยสามารถยื่นคำขอรับบำเหน็จบำนาญล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ก่อนวันครบเกษียณอายุได้ 8 เดือน เริ่มตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป โดยสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด   โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Pension’ Electronic Filing) หรือ ระบบ e-Filing ผ่านเว็บไชต์กรมบัญชีกลาง www.ced.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชัน…

รู้จักกับ Phishing การขโมยข้อมูลทางไซเบอร์

Loading

    รู้จักกับ Phishing การขโมยข้อมูลทางไซเบอร์และวิธีการรับมือรูปแบบต่าง ๆ   ปัจจุบันความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลบนโลกไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของบุคคลนั้น ๆ เช่น การทำงานและการเงิน เมื่อข้อมูลอยู่บนโลกออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจใช้ช่องทางดังกล่าวแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การหลอกให้โอนเงินและการขโมยเงินในบัญชีธนาคาร     ช่องทางการขโมยข้อมูลทางไซเบอร์   1. ปลอมอีเมล วิธีการปลอมอีเมลติดต่อให้ดูเหมือนเป็นอีเมลของธนาคารหรือบริษัทที่ถูกแอบอ้าง หากได้รับอีเมลแปลก ๆ ให้สังเกตชื่อที่อยู่ด้านหลังของอีเมลว่าเป็นชื่อของเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้น ๆ จริงหรือไม่   2. เว็บไซต์ปลอมหลอกให้กรอกข้อมูล การปลอมเว็บไซต์และข้อมูลใหม่ทั้งระบบโดยลอกเลียนแบบมาจากเว็บไซต์ของธนาคารหรือบริษัทที่ถูกแอบอ้าง อย่างไรก็ตามจุดสังเกตเว็บไซต์ปลอมมีหลายจุด เช่น เมนูที่คลิกไม่ได้ การออกแบบที่ไม่สมส่วนหรือกระจัดกระจายไม่มีระเบียบ รวมไปถึง URL ชื่อที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อแปลก ๆ   3. โทรศัพท์ (Call Center) รูปแบบการหลอกขอข้อมูลและโอนเงินที่ระบาดมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มักใช้วิธีปลอมตัวเป็นธนาคารและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โทรมาสอบถามและแจ้งเหตุด่วนให้เหยื่อรีบโอนเงินกลับไป   4. ข้อความสั้น SMS การส่งข้อความไปยังโทรศัพท์ของเหยื่อโดยตรงเพื่อหลอกให้คลิกลิงก์แปลก ๆ และกรอกข้อมูลต่าง ๆ…

ผู้เชี่ยวชาญพบแอปแฝงมัลแวร์เข้ายึดเราเตอร์ Wi-Fi ที่จะพาทุกคนที่เชื่อมต่ออยู่ไปยังเว็บปลอม

Loading

  Kaspersky บริษัทด้านไซเบอร์พบแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ Android ที่แฝงมัลแวร์เข้าแฮกเราเตอร์ Wi-Fi ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของเหยื่อ   มัลแวร์ตัวนี้มีหลายชื่อ ตั้งแต่ Wroba.o, Agent.eq, Moqhao และ XLoader ที่เมื่อถูกดาวน์โหลดเข้าไปยังอุปกรณ์ของเหยื่อแล้วจะพยายามเชื่อมต่อไปยังเราเตอร์ Wi-Fi ที่อุปกรณ์นั้น ๆ เชื่อมต่ออยู่ โดยพยายามเดาชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเราเตอร์ หากทำสำเร็จก็จะเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ DNS เป็นไปตัวที่แฮกเกอร์ควบคุมอยู่   ซึ่งจะทำให้เวลาที่ผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับเราเตอร์นั้นอยู่ (รวมถึงผู้ใช้ที่ไม่ได้มีมัลแวร์ตัวดังกล่าวอยู่ในอุปกรณ์ด้วย) พยายามเข้าชมเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม จะถูกพาไปยังหน้าเว็บไซต์ปลอมที่ดูคล้ายของจริงแทน   ตัวอย่างเช่น หากจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi ในคาเฟ่แห่งหนึ่งถูกเข้าแฮกด้วยมัลแวร์ตัวนี้ ลูกค้าคาเฟ่ที่เชื่อมต่อกับ Wi-FI ตัวนี้อยู่และพยายามจะเชื่อมต่อไปยัง Facebook ก็จะถูกพาไปยังหน้าเพจ Facebook ปลอมที่จะหลอกเอาข้อมูลล็อกอินแทน   Kaspersky เชื่อมว่าผู้อยู่เบื้องหลังแอปนี้คือกลุ่มแฮกเกอร์ที่ชื่อว่า Roaming Mantis   อย่างไรก็ดี Kaspersky ไม่ได้ให้ชื่อแอปที่แฝงมัลแวร์ชนิดนี้ไว้ แต่เผยว่ามียอดดาวน์โหลดอย่างน้อย 46,000 ครั้งในญี่ปุ่น…

AnyDesk เว็บไซต์ปลอมระบาดกว่า 1,300 เว็บ ตีเนียนให้ติดตั้งโปรแกรมดูดข้อมูล

Loading

    AnyDesk โปรแกรมยอดฮิตใช้เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์จากระยะไกล หากใครหาดาวน์โหลดมาใช้ต้องระวังให้ดี ๆ เพราะตอนนี้มีเว็บไซต์ปลอมระบาดอยู่เต็มไปหมด ซึ่งจะพาให้คนหลงดาวน์โหลดโปรแกรมมัลแวร์ Vidar ที่สามารถขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเรา นอกจากนี้ยังมีเว็บปลอมอื่นอ้างชื่อโปรแกรมดังอย่าง MSI Afterburner, 7-ZIP, VLC, OBS, และอื่น ๆ อีกมากมาย ควรระวังไว้ครับ   เว็บปลอม ANYDESK   กระแสโปรแกรมปลอม แอปปลอม ระลอกใหม่ ถูกค้นพบโดยนักวิเคราะห์ภัยไซเบอร์ crep1x ที่รวบรวมเว็บไซต์กว่า 1,300 รายการ ที่มี IP Address เดียวกัน โดยเว็บไซต์เหล่านี้ใช้ชื่อที่มีความใกล้เคียงกับโปรแกรมชื่อดัง AnyDesk แต่อาจเปลี่ยนคำสลับตัวอักษรเพื่อให้คนเข้าใจผิดหลงเข้ามาในเว็บ ที่สุดท้ายแล้วจะพามาโผล่หน้าเว็บ AnyDesk ปลอมตามภาพ     ดูจากชื่อเว็บแล้วยังเห็นชื่อโปรแกรมอื่นอย่าง MSI Afterburner, 7-ZIP, Blender, Dashlane, Slack, VLC, OBS,…

Trend Micro พบอาชญากรใช้กลวิธีทำให้เว็บไซต์แฝงมัลแวร์ขึ้นผลค้นหาบน ๆ ของ Google เพื่อโจมตีเป้าหมายในออสเตรเลีย

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญจาก Trend Micro พบว่าอาชญากรไซเบอร์ใช้โปรแกรมเล่นสื่อ VLC ในการปล่อยมัลแวร์ Cobalt Strike เพื่อโจมตีเป้าหมายในออสเตรเลีย   อาชญากรเหล่านี้สร้างเว็บไซต์ปลอมที่ได้รับการออกแบบให้ดูเหมือนกระดานสนทนาที่เผยแพร่เอกสารข้อตกลงเกี่ยวกับบริการสุขภาพในลักษณะไฟล์ ZIP   นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้วิธีการที่เรียกว่า SEO (search engine optimization) poisoning หรือการทำให้เว็บไซต์ปลอมที่สร้างขึ้นไปอยู่ในผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน โดยเฉพาะ Google ในลำดับบน ๆ ด้วยการใส่ลิงก์เว็บไซต์ปลอมที่ว่านี้ในหน้าเว็บไซต์อื่น ๆ และโพสต์ในโซเชียลมีเดียให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   อาชญากรกลุ่มนี้ยังได้พยายามทำให้เว็บไซต์ของตัวเองเชื่อมโยงกับคีย์เวิร์ดอย่าง ‘โรงพยาบาล’ ‘สุขภาพ’ และ ‘ข้อตกลง’ จับคู่กับชื่อเมืองต่าง ๆ ในออสเตรเลีย   หากมีเหยื่อหลงไปดาวน์โหลดไฟล์ ZIP บนเว็บไซต์ปลอมดังกล่าวก็จะทำให้ตัว Gootkit Loader เข้าไปทำงานในเครื่องโดยจะปล่อยสคริปต์ PowerShell ที่จะดาวน์โหลดมัลแวร์เพิ่มเติมลงในอุปกรณ์ของเหยื่อ หนึ่งในไฟล์ที่ Gootkit ดาวน์โหลดเข้าไปในเครื่องเป็นไฟล์ VLC media player ซึ่งเมื่อเหยื่อเปิดไฟล์ตัวนี้ขึ้นมา มันจะมองหาไฟล์…

โฆษณา ‘Search Engine Ad’ เครื่องมือใหม่ อาชญากรไซเบอร์

Loading

  หลายปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นมากมายและหลากหลายรูปแบบ ล่าสุดเอฟบีไอออกประกาศแจ้งเตือนว่า ขณะนี้อาชญากรไซเบอร์ได้ใช้บริการโฆษณา “Search Engine Ad” โดยปลอมตัวเป็นแบรนด์เพื่อฉ้อโกงและหลอกล่อผู้ใช้งานให้เข้าระบบไปยังเว็บไซต์ปลอมที่อันตราย   เว็บไซต์เหล่านี้ดูภายนอกก็เหมือนกับหน้าเว็บอย่างเป็นทางการของธุรกิจต่างๆ ที่ถูกแอบอ้าง โดยเหล่าบรรดาแฮกเกอร์จะหลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลดมัลแวร์หรือให้ป้อนข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบรวมถึงข้อมูลทางการเงิน   ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้ใช้งานค้นหาโปรแกรมเพื่อดาวน์โหลด ที่หน้าเว็บไซต์ปลอมจะมีลิงก์สำหรับดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่เป็นมัลแวร์ซ่อนอยู่ ซึ่งเหล่าแฮกเกอร์เลือกซื้อโฆษณา Search Engine Ad เพื่อให้แน่ใจว่าโฆษณาของพวกเขาจะปรากฏที่ด้านบนสุดของผลการค้นหาและเพื่อโปรโมทเว็บไซต์และทำการขโมยข้อมูลหรือแรนซัมแวร์   โดย Search Engine Ad จะมีความแตกต่างอยู่ระหว่างโฆษณาและผลการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตจริง อย่างไรก็ตาม การแจ้งเตือนดังกล่าวยังระบุอีกว่าอาชญากรไซเบอร์กำลังซื้อบริการเหล่านี้โดยใช้โดเมน (domain) ที่มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจหรือบริการจริงเพื่อจุดประสงค์ไม่ดีที่แอบแฝงอยู่   เอฟบีไอ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า โฆษณาเหล่านี้ยังถูกใช้เพื่อแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพลตฟอร์มการซื้อขายคริปโต (cryptocurrency) โดยเว็บไซต์ปลอมจะมีการขอให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลและจากนั้นจะทำการขโมยทั้งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลบัญชีธนาคารของผู้ใช้งานออกไปทั้งหมด   หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฏหมายเน้นย้ำว่า แม้ว่าโฆษณา search engine บนเครื่องมือจะมีรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย แต่ผู้ใช้งานก็ควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวังเมื่อเข้าถึงหน้าเว็บผ่านลิงก์ที่โฆษณา และได้เสนอข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งานเมื่อค้นหาธุรกิจหรือบริการออนไลน์ เหล่านี้คือ   ตรวจสอบ URL เพื่อหาข้อผิดพลาดก่อนที่จะคลิกโฆษณาเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์นั้นถูกต้องตามกฎหมาย   ควรพิมพ์ URL…