เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของแท้ ดูยังไง ?

Loading

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของแท้ ดูยังไง ? ซึ่งการปรับเปลี่ยนแปลงใบอนุญาต หรือเอกสารหลักฐานอื่นใด ที่เคยเป็นกระดาษให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากจะช่วยลดการใช้กระดาษ ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั้งในด้านการเก็บรักษาและนำไปใช้อีกด้วย แต่จะรู้ไดอย่างไรว่า ใบอนุญาตและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นเป็นของแท้ หรือของปลอม ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ แนะนำใบอนุญาต/เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของแท้ ดูอย่างไร ตรวจสอบได้ดังนี้

งานเข้า แฮ็กเกอร์ลอบโจมตี Dropbox เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวลูกค้า

Loading

บริษัท DropBox แจ้งเตือนว่า แฮ็กเกอร์ได้โจมตีระบบเบื้องหลังของบริการ DropBox Sign ซึ่งเป็นบริการสำหรับการเซ็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยแฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลบางส่วนของลูกค้าได้

อว.คิกออฟปี 67 ใช้ “เอกสารอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างหน่วยงาน

Loading

  อว. คิกออฟปี 67 ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน ผ่านระบบใบรับรองดิจิทัล Thai University Consortium ที่พัฒนาขึ้นเอง ลดใช้กระดาษ ลดค่าใช้จ่าย จัดส่งเอกสารได้รวดเร็ว ถูกต้องและป้องกันการสูญหายของเอกสาร   น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อว. ได้ออกประกาศ เรื่อง การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่อดิจิทัลภายใต้ใบรับรองดิจิทัล Thai University Consortium (TUC) ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)   เพื่อให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในสังกัด อว. สามารถปรับใช้ในงานทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภายใน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งภายใต้ระบบ TUC นี้ อว. จะให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด ติดต่อ (รับ-ส่ง) เอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์   เช่น ระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาด้วยกัน ระหว่างสำนักงานปลัด อว.และสถาบันอุดมศึกษา ระหว่างองค์การมหาชน องค์กรอิสระ และรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น…

มทร.สุวรรณภูมิ ใช้บล็อกเชนพัฒนา “ระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

Loading

  การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผ่านออนไลน์ ซึ่งลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหลายรูปแบบ   ปฏิเสธไม่ได้ว่า … สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นตัวเร่งให้องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เปลี่ยนผ่านการทำงานสู่ “ดิจิทัล” กันมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันหลาย ๆ หน่วยงานมี “ระบบบริหารจัดการเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์” สำหรับใช้งานเรียบร้อยแล้ว   แต่..ทำไมบางหน่วยงานยังคงใช้วิธี “ลงลายมือชื่อหรือเซ็นเอกสาร” ในข้อมูลที่เป็นกระดาษอยู่ดี สาเหตุสำคัญมาจากความไม่เชื่อถือข้อมูลที่อยู่บนระบบบริหารจัดการเอกสาร โดยเฉพาะการลงนามที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ซึ่งแม้จะมีการลงนามไปแล้ว ผู้ดูแลระบบก็ยังสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลย้อนหลังได้ตลอดเวลา   พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดหมวดหมู่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็น 2 กลุ่มหลักคือ   1.ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เช่น การส่งข้อมูลตอบกลับทางอีเมล หรือการวางรูปลายเซ็นไว้บนเอกสาร เป็นต้น และ   2.ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะใช้กระบวนการเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์ (Digital Signature) เพื่อใช้ตรวจสอบและผูกมัดผลทางกฎหมายให้แน่นยิ่งขึ้น   ปัจจุบัน ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ จะมีโซลูชั่นในการให้บริการจากผู้ให้บริการออกใบรับรอง…

ทำความเข้าใจ ‘ระบบราชการดิจิทัล’ คู่ ‘เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

Loading

  หลังจากที่ พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้การให้บริการของหน่วยงานราชการเริ่มเปลี่ยนไป หลายหน่วยงานให้บริการผ่านระบบออนไลน์ ยกเลิกการใช้เอกสารแบบกระดาษ ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วขึ้น   การสร้างจุดเปลี่ยนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเคยจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขับเคลื่อนโดย 4 หน่วยงานสำคัญ คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติ   ขณะเดียวกัน เพื่อผลักดันให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐทุกๆ ระดับเปลี่ยนวิถีการทำงานเป็นดิจิทัลนั้น ทั้ง 4 หน่วยงาน ย่อมต้องปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ ETDA ที่มีบทบาทสำคัญเป็นทั้งผู้ร่วมขับเคลื่อน และหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว   “พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” ลดข้อจำกัด เร่งสปีด ราชการดิจิทัล   จุดประสงค์หลักของการทำ ‘พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565’ นี้คือ การปรับเปลี่ยนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงานราชการในรูปแบบออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น เพื่อส่งต่อการให้บริการแก่ประชาชนได้ดีกว่าที่เคย   เมื่อระบบการทำงานของหน่วยงานราชการเปลี่ยนสู่ e-Government…

ยืนยัน ! 10 ม.ค. นี้ หน่วยงานรัฐรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกแห่ง

Loading

    โฆษกประจำสำนักนายกฯ ยืนยัน ตั้งแต่ 10 ม.ค. 66 หน่วยงานรัฐต้องรับหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ ถ้าไม่รับอาจต้องรับผิดว่าจงใจฝ่าฝืนกฎหมายได้   นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ยกเว้นบางมาตราที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปนั้น     กองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีข้ออธิบายถึงการใช้เอกสารหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเบิกจ่ายเงินว่า เนื่องจากมาตรา 15 ของกฎหมายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ รับรองการใช้เอกสารหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานเบิกจ่ายของส่วนราชการและท้องถิ่น ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป หน่วยงานของรัฐทั้งส่วนราชการและท้องถิ่น ต้องรับเอกสารหรือหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นไฟล์ PDF หรือภาพทางดิจิทัลในการรับจ่ายเงิน ถ้าไม่รับอาจต้องรับผิดว่าจงใจฝ่าฝืนกฎหมายได้   นายอนุชา กล่าวว่า สำหรับมาตรา 15 วรรคหนึ่ง…