หอการค้าสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีมาตรการควบคุม AI

Loading

  หอการค้าสหรัฐอเมริกา (USCC) เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือกลายเป็นภัยความมั่นคง   USCC ชี้ว่านักกำหนดนโยบายและผู้นำด้านธุรกิจจะต้องเร่งกำหนดแนวทางกำกับดูแลด้านความเสี่ยง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกใช้อย่างมีความรับผิดชอบ   ทาง USCC ยังประเมินว่าปัญญาประดิษฐ์จะเพิ่มมูลค่าการเติบทางเศรษฐกิจโลกสูงถึง 13 ล้านล้านเหรียญ (ราว 455 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 และเห็นด้วยว่าที่ผ่านมาเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยเสริมศักยภาพทางการแพทย์และการป้องกันไฟป่าของรัฐ   โดยมีการประเมินว่า หน่วยงานรัฐบาลและองค์กรธุรกิจเกือบทุกแห่งจะนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ภายใน 20 ปีต่อจากนี้   ในทางกลับกัน ก็จำเป็นต้องมีความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ในอนาคตด้วย ซึ่งก็ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและเหมาะสม มาตรการที่จะออกมาต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอ     ที่มา Reuters         ————————————————————————————————————————- ที่มา :                   แบไต๋           …

‘แรนซัมแวร์’ ป่วนข้อมูลธุรกิจ พร้อม ‘จ่าย’ หรือ พร้อม ‘รับมือ’

Loading

    การโจรกรรมข้อมูลโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่กระทำการอย่างซับซ้อนกำลังเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่จำนวนครั้งและขอบเขตการโจมตี   เพียร์ แซมซัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลรายได้ บริษัท Hackuity เล่าว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ช่วงปลายปี 2565 มีรายงานว่าเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียซึ่งกระทบต่อลูกค้าของ Optus บริษัทด้านโทรคมนาคมรวมแล้วกว่า 10 ล้านคน   สำหรับประเทศไทยเองก็พบปัญหาการละเมิดข้อมูลของโรงพยาบาลหลายแห่งรวมถึงกระทรวงสาธารณสุขในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยรั่วไหลและถูกเรียกค่าไถ่เพื่อนำฐานข้อมูลกลับมาเหมือนเดิม   วันนี้อาชญากรไซเบอร์ เช่น Desorden Group คัดเลือกเหยื่ออย่างพิถีพิถัน โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเอเชียที่มีช่องโหว่ชัดเจนซึ่งสามารถเจาะระบบได้ง่าย โดยจะลอบดึงข้อมูลจากบริษัทหรือองค์กรให้ตกเป็นเหยื่อ และข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นหากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่   หากไม่ได้รับการตอบกลับ อาชญากรกลุ่มนี้ก็จะทำให้เหยื่อได้รับความอับอายไปทั่ว ปล่อยข้อมูลให้รั่วไหล และยกระดับการกดดันให้เข้มข้นยิ่งขึ้น   “วายร้ายทุกวันนี้ไม่ได้อยากเก็บตัวแบบในอดีต หากแต่พร้อมที่จะป่าวประกาศและเปิดเผยรายละเอียดกับสื่อมวลชนว่าตนเองเจาะเข้าระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของเหยื่ออย่างไร”   เตรียมพร้อม สกัดภัยไซเบอร์   ปัจจุบัน มีเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่ผู้ตกเป็นเป้าหมายสามารถควบคุมได้โดยสมบูรณ์ นั่นก็คือ ความพร้อม (หรือการขาดความพร้อม) ของตนเอง   ช่วงที่โควิดระบาด บริษัทหลายแห่งได้ควบรวมและจัดแจงรายจ่ายทางเทคโนโลยีใหม่ ทั้งได้มีการลงทุนเพื่อปรับธุรกิจให้เป็นระบบดิจิทัล ด้านฝ่ายไอทีก็เน้นไปที่การเปิดใช้ระบบการทำงานจากทางไกล เพื่อให้พนักงานและระบบภายในองค์กรมีความปลอดภัย…

‘ChatGPT’ ดาบสองคม เขย่าสมรภูมิไซเบอร์

Loading

    ความพยายามของมนุษย์ในการจำลองและถอดรหัสความนึกคิดของมนุษย์ทำให้วันนี้โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่ง “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “เอไอ” สมองกลอัจฉริยะสุดล้ำที่กำลังเข้ามาพลิกโฉมการทำงานและการใช้ชีวิต…   ฌอน ดูก้า รองประธาน และหัวหน้าหน่วยระบบรักษาความปลอดภัย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่น พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ แสดงทัศนะว่า การค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ควรเป็นเรื่องที่ไม่มีพิษไม่มีภัย แต่ในความเป็นจริงทุกสิ่งอาจดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับมนุษย์ผู้นำไปใช้   ในมุมของเอไอที่เป็นที่ฮือฮาอย่างมากขณะนี้หนีไม่พ้น “ChatGPT” บอตเอไอแบบข้อความซึ่งอาศัยความสามารถของเอไอขั้นสูง ที่ทำได้ทั้งการแก้บั๊กในการเขียนโค้ด การเขียนสูตรอาหาร การสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ ไปจนถึงการแต่งเพลงใหม่ได้ทั้งเพลง     เรียกได้ว่า ChatGPT ได้แสดงศักยภาพของเอไอที่น่าตกใจในการปลดล็อกความสามารถใหม่ ๆ ที่เหลือเชื่ออีกทางหนึ่งหลายคนก็มองว่าเอไอเป็นดาบสองคม   อันตรายยิ่งกว่าฝีมือมนุษย์   ต่อคำถามที่ว่า แชตบอตยุคใหม่สร้างปัญหาจริงหรือไม่ นับตั้งแต่การเปิดตัว ChatGPT เมื่อปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิจารณ์ด้านเทคโนโลยีต่างกังวลถึงผลกระทบของเครื่องมือสร้างคอนเทนต์จากเอไอ   โดยเฉพาะในด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ว่าซอฟต์แวร์เอไอจะทำให้อาชญากรรมทางไซเบอร์กระจายไปทั่วหรือไม่   เหตุเพราะว่า แม้แต่แฮ็กเกอร์มือสมัครเล่นก็อาจใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อพัฒนาโปรแกรมมัลแวร์อัจฉริยะและลอบโจมตีเป้าหมายโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน  …

ผ่าแผนแม่บท ‘เอไอ’ แห่งชาติ ปลุกเศรษฐกิจดิจิทัล-ดันจีดีพี

Loading

      ผ่าแผนแม่บท ‘เอไอ’ แห่งชาติ กลไกใหญ่ปลุกเศรษฐกิจดิจิทัล รัฐวางโรดแมป 6 ปี ยกระดับดัชนีความพร้อมด้านเอไอของไทย ไม่ต่ำกว่าลำดับที่ 50 ของโลก เกิดการลงทุนด้านเอไอเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี สร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญไม่ต่ำกว่า 30,000 คน ไอบีเอ็ม ชี้ เอไอ เทรนด์ใหญ่ธุรกิจต้องมอง “นักวิชาการ” หวั่น ‘เอไอ’ อาจสร้างผลลบ โดยเฉพาะ “แรงงาน” หากไม่สร้างความตระหนักรู้ให้ดี   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ คือ หนึ่งในเมกะเทรนด์โลกยุคใหม่ มีความสำคัญมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ หลายสิบปีก่อนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเข้าสู่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ด้วยการมาถึงของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วันนี้โลกกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนอีกครั้ง ด้วยการมาถึงของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ทำให้จินตนาการของเรา ที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์ในอดีตเป็นจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์ไร้คนขับ ร้านค้าไร้พนักงาน ระบบการเงิน การธนาคารที่ใช้เอไอวิเคราะห์แทนพนักงาน ไปจนถึงการบริการลูกค้าผ่านแชตอัจฉริยะ รวมไปถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์   ขณะที่…

ระบบคาดการณ์สึนามิจาก AI ที่แจ้งเตือนในเวลาไม่กี่วินาที

Loading

  สึนามิ ถือเป็นภัยธรรมชาติร้ายแรงที่ฝังใจคนมากมาย โดยเฉพาะประเทศไทยกับเหตุการณ์ปี 2004 ปัจจุบันเรามีระบบแจ้งเตือนสึนามิได้รับการพัฒนาขึ้นมากมาย แต่ระบบนี้กำลังจะก้าวกระโดดครั้งใหญ่ เมื่อ AI สามารถคาดการณ์คลื่นที่จะเกิดขึ้นได้ในไม่กี่วินาที   ภัยธรรมชาติถือเป็นหนึ่งในภัยพิบัติร้ายแรงสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ในจำนวนนั้นเมื่อพูดถึงภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุด ประเทศที่มีชายฝั่งทะเลทั้งหลายย่อมคิดถึง สึนามิ หนึ่งในภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตของผู้คนจำนวนมากอย่างฉับพลัน ดังเช่นเหตุการณ์สึนามิปี 2011 ในญี่ปุ่นที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 18,500 ราย   นั่นเป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาระบบวิเคราะห์แบบใหม่ช่วยประเมินและแจ้งเตือนสึนามิได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที     ระบบตรวจสอบสึนามิที่ใช้งานในไทยปัจจุบัน   ปัจจุบันระบบตรวจสอบสึนามิมีการใช้งานทั่วไปในหลายประเทศที่มีชายฝั่งทะเล เกือบทุกประเทศที่มีชายฝั่งทะเลและเคยประสบภัยพิบัติสึนามิมาก่อน ไม่เว้นกระทั่งประเทศไทยยังมีการติดตั้งระบบเตือนภัยหลังเหตุการณ์ปี 2004 เป็นต้นมา แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีรายงานว่าทุ่นแจ้งเตือนสึนามิเริ่มเสียหายจนไม่ทำงานก็ตาม   ระบบการแจ้งเตือนสึนามิในปัจจุบันจะอาศัยอาศัยทุ่นลอยที่ติดตั้งอุปกรณ์วัดความดันใต้ทะเลในการแจ้งเตือน โดยจะทำการตรวจวัดข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของความดันน้ำส่งข้อมูลไปยังทุ่นที่ลอยบนผิวน้ำ จากนั้นจึงส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมไปยังหน่วยงานเพื่อแจ้งเตือนภัยสึนามิต่อไป   นอกจากทุ่นลอยที่ใช้งานยังมีอีกหลายภาคส่วนทำหน้าที่ตรวจสอบการเกิดสึนามิ ตั้งแต่หน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา(NOAA) คอยรับหน้าที่แจ้งเตือนภัยสึนามิทั่วโลก ไปจนสถานีวัดระดับน้ำทะเลในประเทศต่างๆ รวมถึงในไทย เพื่อตรวจสอบข้อมูลแนวโน้มการเกิดคลื่นสึนามิทั่วโลก   เมื่อได้รับข้อมูลว่าจะมีการเกิดคลื่นสึนามิที่อาจเป็นอันตราย ระบบจะแจ้งเตือนผ่านดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยภายในพื้นที่เสี่ยงชายฝั่งทะเลที่มีอยู่กว่า 226 แห่ง จากนั้นจึงส่งข้อความ SMS เพื่อแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานราชการและองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อกระจายข้อมูลในการแจ้งประชาขนในพื้นที่เตรียมการรับมือจนถึงอพยพต่อไป  …

ไมโครซอฟต์พัฒนา “VALL-E” เอไอเลียนเสียงคนได้เหมือนเป๊ะในเวลา 3 วิ!

Loading

  บริษัทไมโครซอฟต์เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ตัวใหม่ “VALL-E” เลียนเสียงคนได้ในเวลาแค่ 3 วินาที และใส่อารมณ์ลงไปในคำพูดได้ด้วย!   วงการเทคโนโลยีสั่นสะเทือนอีกครั้ง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี ออกมาประกาศเปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า “VALL-E” (ไม่ใช่การ์ตูน WALL-E นะ!)   ความพิเศษของเอไอตัวนี้คือ มันสามารถจำลองเลียงของคนได้อย่างไร้ที่ติ เพียงป้อนตัวอย่างเสียงความยาวแค่ 3 วินาทีให้มัน มันก็จะสามารถเรียนรู้เสียงนั้นและสังเคราะห์เสียงนั้นออกมา     จุดเด่นของ VALL-E นอกจากเรื่องความเร็วในการเรียนรู้แล้ว มันยังสามารถใช้เสียงที่จดจำมาพูดอะไรก็ได้ และใส่ “อารมณ์” ไหนลงไปก็ได้ พูดง่าย ๆ มันจะไม่ใช่เสียงโมโนโทนแบบเอไออื่น แต่จะเป็นเสียงที่พูดราวกับเป็นคนจริง ๆ ที่มีอารมณ์ความรู้สึก   ทีมผู้พัฒนาคาดการณ์ว่า VALL-E อาจถูกนำไปใช้สำหรับแอปพลิเคชันแปลงข้อความเป็นคำพูด (Text-to-Speech) คุณภาพสูง หรือโปรแกรมแก้ไขดัดแปลงเสียงที่บันทึกไว้ จากที่พูดประโยคหนึ่ง ก็อาจตัดต่อให้พูดเป็นอีกประโยคหนึ่งโดยที่เสียงยังเป็นของผู้พูดคนเดิม   ไมโครซอฟต์เปิดเผยว่า VALL-E สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีที่เรียกว่า…