กลุ่ม Hacktivist จากประเทศกัมพูชาประกาศปฏิบัติการ “OpThailand” โจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศไทยสางแค้นปมสร้างวัดเลียนแบบ

Loading

    ศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม (TTC-CERT) ตรวจพบข้อมูลจาก channel บน Telegram จำนวนหลายกลุ่มซึ่งคาดว่าเป็นกลุ่มแฮ็กเกอร์ประเภท Hacktivist จากประเทศกัมพูชา ได้แก่ “Anonymous Cambodia” “K0LzSec” “CYBER SKELETON” และ “NDT SEC” ได้ประกาศปฏิบัติการ “OpThailand” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการโจมตีทางไซเบอร์ต่อองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวไม่พอใจกรณีที่ประเทศไทยได้สร้างวัดแห่งหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับนครวัดของประเทศกัมพูชา โดยกลุ่มดังกล่าวได้ประกาศว่าจะทำการโจมตีเว็บไซต์ขององค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย ด้วยวิธีการ Distributed Denial of Service (DDoS) รวมถึงการขโมยข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรเป้าหมายเพื่อนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยการโจมตีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ประมาณวันที่ 29 มิ.ย.66 ซึ่งยังคงมีการปฏิบัติการอยู่จนถึง ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ (3 ก.ค.66 เวลา 17.00 น.)     จากข้อมูลที่ศูนย์ TTC-CERT ตรวจพบเบื้องต้น พบว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ทำการโจมตีแบบ…

เปิดมุมมองความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

    ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการจัดงาน Trend Micro Risk to Resilience World Tour โดยมีผู้เชี่ยวชาญได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมไปถึงการวางกลยุทธ์รับมือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน จึงอยากมาแชร์มุมมองต่างๆ เพราะปัจจุบันเรื่องภัยไซเบอร์นับว่าเป็นปัญหาใกล้ตัวทุกคนเป็นอย่างมาก   เริ่มกันที่ ชัชวัฒน์ อัศวรักวงศ์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (CISO) กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เล่าถึงสถานการณ์ที่ธุรกิจต้องรับมือกับการโจมตีว่า ในวันที่ธุรกิจธนาคารต้องยกระดับ ดิสรัปต์ตัวเองเข้าสู่ดิจิทัล เพื่อลดต้นทุนและเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ทุกธนาคารต้องรับมือการโจมตีในรูปแบบคล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น มัลแวร์ แรนซัมแวร์ หากใครมีจุดอ่อนหรือช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เห็นก็จะถูกโจมตีทันที ขณะที่การโจมตี DDoS ยังมีอยู่ตลอดและไม่ได้ลดลง   ขณะที่บางองค์กรถูกโจมตีผ่าน Third Party เพราะเปิดให้พนักงานนำเครื่องมือส่วนตัวมาเชื่อมกับเน็ตเวิร์กในองค์กร หรือการนำเครื่องจากองค์กรกลับไปทำงานต่อที่บ้าน ซึ่งองค์กรจะต้องตระหนักว่าการทำงานลักษณะนี้มันปลอดภัยหรือไม่ และองค์กรพร้อมรับมือจากการถูกโจมตีรูปแบบนี้ไหม หรือในปัจจุบันที่ ChatGPT เข้ามาช่วยให้คนทำงานง่ายขึ้น ที่ผ่านมามีหลายองค์กรนำโค้ดหรือช่องโหว่องค์กรไปถาม ChatGPT ว่าสิ่งที่ทำอยู่มันดีหรือไม่ เพียงเพราะอยากให้ ChatGPT ช่วยแนะนำ กลับกลายเป็นว่าข้อมูลบริษัทของตัวเองรั่วไหลออกไปสู่โลกออนไลน์…

RDP Honeypot อ่วม ถูกบุกโจมตี 3.5 ล้านครั้ง (1)

Loading

    หากทุกท่านสังเกตดี ๆ จะพบว่า การโจรกรรมและการบุกโจมตีระบบเครือข่ายมีข่าวให้เห็นได้เกือบทุกวันจากทั่วทุกมุมโลก   แน่นอนว่าแฮ็กเกอร์ได้มีการพัฒนาและสร้างเครือข่ายขยายเป็นวงกว้างออกไปมากยิ่งขึ้นซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมีมูลค่ามากมายมหาศาลด้วยเช่นกัน   ไม่ว่าบุคคลหรือแม้กระทั้งองค์กรทั้งเล็กหรือใหญ่ก็ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีได้ด้วยกันทั้งสิ้น โดยวันนี้ผมขอหยิบยกเอากรณี Honeypot ที่กำลังตกเป็นข่าวอยู่ในช่วงนี้ซึ่งถือได้ว่ามีความน่าสนใจมากครับ   โปรแกรมการควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Remote Desktop Connection หรือ RDP) ถือได้ว่าเป็นแม่เหล็กและอาวุธอันทรงพลังของเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เลยก็ว่าได้   เนื่องจากมีการเชื่อมต่อจาก IP address ต่าง ๆ ของแฮ็กเกอร์โดยเฉลี่ยมากกว่า 37,000 ครั้งในแต่ละวันและเป็นการโจมตีอย่างอัตโนมัติ ในทันทีที่แฮ็กเกอร์ได้รับสิทธ์ให้เข้าถึงข้อมูลในระบบได้แล้ว กระบวนการค้นหาไฟล์ต่าง ๆ ที่สำคัญและมีความละเอียดอ่อนก็จะเริ่มต้นตามซึ่งหมายความว่าแฮ็กเกอร์จะสามารถเปิดเกมส์โดยบุกโจมตี RDP ได้ทันที   มีการทดลองใช้ Honeypot แบบ high-interaction กับ RDP ที่เชื่อมต่อการเข้าถึงจากเว็บสาธารณะได้โชว์ว่า แฮกเกอร์ไม่หยุดโจมตีระบบและมีการเปิดการโจมตีในช่วงเวลาทำงานของทุก ๆ วัน   โดยมากกว่า 3 เดือนที่นักวิจัยด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ของบริษัทจัดการกับภัยคุกคามซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สหรัฐและแคนนาดาได้พบว่า มีความพยายามในการเจาะระบบ RDP Honeypot…

สื่อนอกรายงาน “กล้องวงจรปิดสัญชาติจีน” บางยี่ห้อ ง่ายต่อการถูกแฮ็ก

Loading

    บีบีซีรายงาน “กล้องวงจรปิดที่ผลิตในจีนบางยี่ห้อ” มีข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยที่ทำให้มันสามารถถูกแฮ็กได้ง่าย   รายการพาโนรามา (Panorama) ของบีบีซี รายงานว่า “กล้องวงจรปิดที่ผลิตในจีนบางยี่ห้อ” มีข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยที่ทำให้มันสามารถถูกแฮ็กได้ง่าย และอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของประชาชน ไปจนถึงความมั่นคงระดับชาติ เพราะอย่างในสหราชอาณาจักรเอง ก็มีการใช้กล้องวงจรปิดจีนทั้งในอาคารสำนักงาน ตามท้องถนน และแม้แต่อาคารของรัฐ   บีบีซีได้ร่วมมือกับแฮ็กเกอร์จาก IPVM องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านกล้องวงจรปิดในสหรัฐฯ เพื่อทดลองว่า กล้องวงจรปิดยี่ห้อใดบ้าง ที่สามารถแฮ็กได้ง่าย โดยพบว่ามี 2 แบรนด์ชั้นนำที่มีข้อบกพร่อง     ในการทดลอง ได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ในสตูดิโอมืด ๆ ของบีบีซี พนักงานชายคนหนึ่งนั่งอยู่หน้าแล็ปท็อปและป้อนรหัสผ่าน ปรากฏว่า ในอีกประเทศซึ่งห่างออกไปหลายพันกิโลเมตร แฮ็กเกอร์กำลังเฝ้าดูทุกสิ่งที่เขาพิมพ์ได้   แฮ็กเกอร์ที่ร่วมในการทดลองบอกว่า พบข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยในกล้องวงจรปิดติดเพดานซึ่งผลิตโดยบริษัท Hikvision และ Dahua ของจีน   “ตอนนี้ฉันเป็นเจ้าของอุปกรณ์นั้นแล้ว ฉันจะทำอะไรก็ได้ตามต้องการ ฉันปิดมันได้… หรือฉันสามารถใช้มันเพื่อดูสิ่งที่เกิดขึ้นที่ BBC ก็ได้” แฮ็กเกอร์กล่าว   ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า…

การโจมตี ‘แรนซัมแวร์’ ยังคงมีช่องทางให้เติบโต

Loading

  แรนซัมแวร์ยังไม่มีทีท่าจะถึงจุดต่ำสุดและอาจพุ่งทะลุเพดานทางทฤษฎีในเร็ววันนี้ หากมีกรณีการบุกโจมตีระบบขององค์กร ตัวการที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ แรนซัมแวร์   ในช่วงนี้ถือได้ว่า “แรนซัมแวร์” ได้ออกปฏิบัติการ เปิดการโจมตีในทั่วทุกมุมโลก เห็นได้จากรายงานเรื่องการละเมิดข้อมูลประจำปีล่าสุดของ Verizon ที่แสดงให้เห็นว่ามีการใช้ช่องโหว่ Log4j ในการโจรกรรมทางดิจิทัล โดยบุคลากรขององค์กรเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์   ในรายงานของ Verizon เปิดเผยตัวเลขเหตุการณ์การโจรกรรรมซึ่งมีสูงถึง 16,000 ครั้งในปีที่ผ่านมา รวมไปถึงการละเมิดข้อมูลมากกว่า 5,000 ครั้ง ตั้งแต่ พ.ย.2021 ถึง ต.ค. 2022   มีมากกว่า 15,000 เหตุการณ์ หรือประมาณ 42% เป็นการโจมตีแบบ DDoS ที่เข้ามาขัดขวางบริการหรือรบกวนการเข้าถึงเว็บไซต์และระบบอื่นๆ ที่ดำเนินการอยู่โดยการโจมตี DDoS นั้นรุนแรงขึ้นและได้ทำลายสถิติ สังเกตได้จากการที่แฮกเกอร์สามารถเจาะระบบหรือใช้บ็อตเน็ตโจมตี   บริษัทข่าวกรองด้านภัยคุกคามและความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เปิดเผยข้อมูลภายในที่มีการรวบรวมจากลูกค้าและการตอบสนองต่อเหตุการณ์การโจมตีที่เกิดว่า การโจมตีแรนซัมแวร์ลดลงในปี 2565 ก่อนที่จะกลับมาพุ่งสูงขึ้นใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566   สอดคล้องกับข้อมูลของ Verizon ที่รายงานว่า แรนซัมแวร์เกิดขึ้นอยู่ที่ 24%…

เลขาธิการ กมช. ย้ำ หน่วยงานรัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ไซเบอร์

Loading

    พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้กล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับเพจของหน่วยงานภาครัฐ ว่า ในขณะนี้ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการโจมตีผู้ดูแลเพจ เป็นผลทำให้ข้อมูลผู้ใช้และรหัสผ่านถูกขโมย หรืออาจเกิดจากการติดตั้งมัลแวร์ในอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน ทั้งนี้ ผู้โจมตีอาจเข้าระบบเพจและสร้างปัญหาให้กับเพจเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นข้อมูลไม่เหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้ควรถูกป้องกันล่วงหน้าและต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต   หน่วยงานภาครัฐควรทำการลงทะเบียนรับรองความถูกต้อง (verified badge) เพื่อให้สามารถกู้คืนระบบได้ การเป็นแอดมินหน้าเพจจะต้องใช้วิธีการ multi-factor authentication ซึ่งไม่เพียงแค่การใช้รหัสผ่านเดียว แต่ยังต้องมีการพิสูจน์ตัวตนผ่านมือถือหรืออุปกรณ์อื่นเพิ่มเติม เพื่อเสริมความปลอดภัยและป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การมีการป้องกันและการกู้คืนระบบที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์นี้ซ้ำ   ในทางกฎหมายของประเทศไทย พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อาทิเช่น มาตรา 45 กำหนดให้ทุกหน่วยงานต้องมีมาตรการในการป้องกันและการบริหารจัดการความเสี่ยง และมาตรา 58 กำหนดให้หน่วยงานต้องเตรียมพร้อมในการแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์ ทั้งนี้ หน่วยงานทุกหน่วยงานและผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อป้องกันทั้งในเรื่องของเทคโนโลยี การอบรมผู้ใช้งาน และรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสม หากปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างเข้มงวด ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะได้รับการบรรเทาและไม่เกิดซ้ำในอนาคต   ในกรณีที่เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน สามารถแจ้งได้ที่เพจของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ…