เตรียมรับมือ อีก 4 ปี “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” จะกลับมาอีกครั้งพร้อม “AI” อัจฉริยะ

Loading

  บริษัทวิจัยได้คาดการณ์ไว้ว่า ในอีก 4 ปีข้างหน้า เทคโนโลยี AI จะเข้ามาแทนพนักงานคอลเซ็นเตอร์ และไม่ต้องใช้มนุษย์อีกต่อไป แต่เรื่องที่น่าคิดต่อไปคือ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้มิจฉาชีพหรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทำงานได้ง่ายขึ้นหรือเปล่า เพราะ AI อาจมีความน่าเชื่อถือกว่ามนุษย์ Gartner ซึ่งอยู่ในวงการเทคโนโลยีได้คาดการณ์ว่า ระบบคอลเซ็นเตอร์จะกลายเป็นแบบอัตโนมัติและไม่มีพนักงานรับสายอีกต่อไป ภายในปี 2026 นี้ และถูก AI มาทดแทน จริงๆ แล้วเราเคยได้สัมผัสหรือได้ใช้งาน ‘Conversation AI’ หรือ การสนทนาแบบอัตโนมัติกันบ้างแล้ว เช่น การให้บริการธนาคาร , เครือข่ายโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นการสนทนาแบบเสียง , แชทบอท ที่เราคุ้นเคยกันมาบ้างแล้ว เช่น กด 1 , ​กด 2 เพื่อเข้าเมนูต่างๆ หรือการแชทสนทนาอัตโนมัติในการแจ้งปัญหาต่างๆในแอปพลิเคชัน ซึ่งเห็นได้ว่าบางบริษัทสามารถใช้คอลเซ็นเตอร์แบบอัตโนมัติได้และสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้เกือบทั้งหมดแล้ว ปัจจุบันในประเทศไทยก็เกิดความวุ่นวายกับการก่อกวนจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการหลอกว่า เครือข่ายมือถือจะถูกตัดการใช้งาน , มีพัสดุค้างชำระ หรืออื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเราอาจไม่เชื่อคอลเซ็นเตอร์พวกนี้เพราะ น้ำเสียง ,…

มุกใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถามอาการหลังฉีดวัคซีน ล้วงข้อมูลส่วนตัว

Loading

  โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เตือนอย่าหลงเชื่อ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ โทรถามอาการหลังฉีดวัคซีน ล้วงข้อมูลส่วนตัว   วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้รับแจ้งว่า มีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานด้านสาธารณสุข เช่น ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ โรงพยาบาลพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ไปยังประชาชน เพื่อสอบถามอาการ หลังฉีดวัคซีนโควิด   เบื้องต้น จากการตรวจสอบโทรศัพท์ พบว่า ไม่ใช่เบอร์โทรศัพท์จริงของหน่วยงานนั้นๆ และหน่วยงานดังกล่าวไม่มีการโทรศัพท์ติดตามอาการภายหลังการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด   นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวด้วยว่า การติดตามอาการหลังฉีดวัควีนนั้น จะมีการติดตามผ่านแพลตฟอร์ม “หมอพร้อม” ไม่มีการโทรศัพท์ติดตามอาการ จึงขอเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อ บอกข้อมูลส่วนตัวใด ๆ กับผู้ที่โทรมาทั้งสิ้น   เนื่องจากอาจตกเป็นเหยื่อในการโอนเงิน หรืออาจถูกนำข้อมูลไปสวมรอยกระทำความผิดหรือก่ออาชญากรรมอื่น ๆ ได้ และหากสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่ ขอให้สอบถามกับหน่วยงานที่ถูกอ้างถึงโดยตรงก่อน    …

Interpol จับมือกับ 76 ประเทศ ทลายแก๊งคอลเซนเตอร์ทั่วโลก

Loading

  องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ Interpol ได้เข้าจับกุมผู้ต้องหา 2,000 คน ในปฏิบัติการทลายฐานปฏิบัติการของกลุ่มอาชญากรวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) และสามารถยึดเงินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกว่า 50 ล้านเหรียญ (1,760 ล้านบาทโดยประมาณ)   วิศวกรรมสังคมในทางไซเบอร์คือการโจมตีโดยใช้จุดอ่อนเชิงจิตวิทยาของเหยื่อ โดยเฉพาะความกลัวและความโลภ อาจมาในรูปแบบของผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินหรือการข่มขู่ว่าจะถูกลงโทษทางกฎหมายหากไม่ทำตาม   Interpol ระบุว่าในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้เข้าทลายแหล่งกบดานถึง 1,700 แห่ง พร้อมชี้แจงว่าผู้ต้องหาเหล่านี้มีความผิดในฐานฉ้อโกงและฟอกเงิน ด้วยการใช้วิธีวิศวกรรมสังคมและการจู่โจมระบบอีเมลของธุรกิจ (BEC)   สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา (FBI) เคยรายงานในปี 2021 มูลค่าความเสียหายจาก BEC ในสหรัฐฯ สูงถึง 2,400 ล้านเหรียญ (84,561 ล้านบาทโดยประมาณ)   Interpol ได้เข้าดำเนินการจับกุมระหว่างวันที่ 8 มีนาคม – 8 พฤษภาคมในปฏิบัติการที่ชื่อว่า First Light 2022 มี…

6 ช่องโหว่เทคโนโลยี กลลวงแก๊งคอลเซ็นเตอร์

Loading

ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แก็งคอลเซ็นเตอร์ระบาดหนัก อ้างเป็นหน่วยงานรัฐ และสารพัดกลลวงต่างๆ นาๆ ให้คนหลงเชื่อทุกรูปแบบ เป็นมาแล้วทั้งเจ้าหน้าที่ DSI , ปปง., สรรพากร บางรายโดนหลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร แจ้งบัญชีถูกอาญัติ , ซิมการ์ดถูกระงับสัญญาณ , ส่งพัสดุผิดกฎหมาย สุดท้ายอาจมีเอื่ยวกับคดีฟอกเงิน หัวจะปวด Techhub ได้ทำข้อมูลและวิเคราะห์เสียงของคนบนโซเชียล ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE เพื่อดูว่าคนไทยพูดถึงปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในแง่มุมไหนบ้าง ในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ย 65 มีคนบนโซเชียลที่โพสต์ข้อความแบบสาธารณะเกี่ยวข้องกับ แก๊งคอลเซ็นเตอร์มากกว่า 180,317 ข้อความ โดยพบการมีส่วนร่วม ถึง 23,815,763 ข้อความที่เกี่ยวโยงกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์โดยปัญหาหลักๆ ของคนใช้อินเตอร์เน็ตมาจากการหลอกให้โอนเงิน จากมิจฉาชีพออนไลน์ และ SMS ปลอม     พบ 6 ช่องโหว่เทคโนโลยี กลลวงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลากหลายรูปแบบที่ทุกคนต้องรู้ไว้ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ 1. VOIP แปลงสัญญาณ สร้างเบอร์ลวง ใช้ระบบโทรศัพท์ข้ามประเทศ…

วิธีตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ ว่าเป็นเบอร์มิจฉาชีพหรือไม่

Loading

ภาพ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ   วิธีตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ ว่าเป็นเบอร์มิจฉาชีพหรือไม่   ทั้งนี้เบอร์โทรศัพท์มือถือถูกใช้เป็นเครื่องมือของข้อมูลเท็จและภัยไซเบอร์จำนวนมาก ทั้งสร้างข้อมูลมาหลอก พร้อมแนบเบอร์ให้ติดต่อกลับ หรือมีการโทรเข้ามาแจ้งว่าต้องดำเนินการเรื่องต่างๆ อย่างที่กลุ่มแก็งคอลเซ็นเตอร์ กำลังโทรก่อกวนผู้ใช้โทรศัพท์หลายราย ณ เวลานี้ นอกจากการระวังเบอร์แปลก และป้องกันข้อมูลส่วนตัวของเราแล้ว การตรวจสอบและเตือนภัยเบอร์แปลกก็เป็นสิ่งที่เราทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เบอร์แปลกนั้นหลอกลวงคนอื่น มาดูวิธีตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์แปลกๆกัน เมื่อเราได้รับข้อมูลที่มีเบอร์โทรศัพท์ หรือรับสายโทรศัพท์แล้วแปลก หรือมีเบอร์ที่ไม่รู้จักโทรเข้ามา หรือเบอร์นั้นอาจเป็นเบอร์ที่บอกให้คุณขอข้อมูลส่วนตัว ข่มขู่ นั้น ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้   วิธีตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ ว่าเป็นเบอร์มิจฉาชีพหรือไม่   วิธีที่ 1 ตรวจสอบจากการค้นหาเบอร์โทรศัพท์บนโลกออนไลน์ ลองค้นหาเบอร์โทรศัพท์บนโลกโซเชียลเช่น Google , twitter , facebook น่าจะมีเบอร์อันตรายที่ประกาศบนโซเชียลอยู่หากใช่ แสดงว่าเป็นเบอร์อันตราย เบอร์มิจฉาชีพ   วิธีที่ 2 ตรวจสอบผ่าน LINE เพราะเบอร์มือถือส่วนใหญ่จะลงทะเบียนกับ LINE ด้วย โดยการเพิ่มเพื่อน เลือก ค้นหา เลือก…

กสทช. เตรียมทำระบบ SCAM Alert สกัดแก็งคอลเซ็นเตอร์

Loading

ภาพ : สำนักงาน กสทช.   กสทช. เตรียมทำระบบ SCAM Alert เพื่อสกัดแก็งคอลเซ็นเตอร์ โดยนายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช. พิจารณาเห็นว่าปัจจุบันปัญหาแก๊ง Call Center หลอกลวง สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ก่อให้เกิดความรำคาญและความเสียหายอื่นๆ รวมทั้งเสียทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมิจฉาชีพเองก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหลอกลวงอย่างรวดเร็ว การไล่ตามรูปแบบการหลอกลวงต่างๆ ให้ทันเป็นเรื่องยาก   กสทช. จึงเร่งออกมาตรการใหม่คือ SCAM Alert ที่เป็นการรวบรวมตัวอย่างการฉัอโกงผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิธีการแก้ไขเฉพาะหน้า และหน่วยงานที่ต้องติดต่อเพื่อตรวจสอบ หรือขอความช่วยเหลือ หรือร้องเรียน เพื่อสื่อสารกับประชาชนอย่างเร่งด่วน   กสทช. เห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ประกอบกับกฎหมายให้อำนาจ กสทช. ในการกำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิดังกล่าว ตามมาตรา 32 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา…