เปิดเส้นทางมรณะ ‘Dunki Route’ ชาวอินเดียนับหมื่น แห่ลอบเข้าอเมริกา-ยุโรป เสี่ยงตายเพื่อฝัน

Loading

      ตามข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ณ เดือนพฤษภาคม 2024 จำนวนชาวอินเดียโพ้นทะเลทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 35.42 ล้านคน คิดเป็น 2.53% ของจำนวนพลเมืองอินเดียทั้งประเทศราว 1,400ล้านคน โดย 10 ประเทศที่มีชาวอินเดียอาศัยอยู่มากที่สุดไล่เรียงจากมากไปหาน้อยได้แก่ สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับฯ มาเลเซีย แคนาดา ซาอุดิอาระเบีย เมียนมา สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ ศรีลังกา และคูเวต ซึ่งเป็นการนับรวมทั้งผู้ที่ยังคงถือสัญชาติอินเดียและผู้ที่มีเชื้อชาติอินเดียแต่ไม่ได้ถือสัญชาติอินเดียแล้ว     ตัวเลขดังกล่าว น่าจะไม่ได้นับรวมชาวอินเดียที่ลักลอบเข้าประเทศเหล่านี้อย่างผิดกฎหมายอีกจำนวนมาก ซึ่งชาวอินเดียเหล่านั้นได้ลักลอบเข้าประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกด้วยเส้นทางที่เรียกว่า ‘Dunki route’ แปลได้ว่า ‘ทางลาเดิน’ คำนี้มีที่มาจากสำนวนภาษาปัญจาบ ‘Dunki’ นอกจากแปลว่า ‘ลา’ แล้วยังแปลว่า “กระโดดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง” เป็นชื่อเรียกเส้นทางที่ที่เด็ก ๆ หนุ่มสาว จากแคว้น Punjab, Haryana และ Gujarat เป็นเส้นทางผิดกฎหมายที่ผู้คนจำนวนมากใช้เพื่อข้ามพรมแดนออกจากอินเดียไปยังประเทศต่าง ๆ…

เปิดหลักการ ‘6 ข้อ’ เสริมความปลอดภัย ‘OT Cybersecurity’

Loading

    คู่มือเกี่ยวกับหลักการของเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 6 ข้อเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและจัดการดูแลสภาพแวดล้อม OT ของโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย   สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) ร่วมกับหน่วยงานรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จากออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร เผยแพร่คู่มือเกี่ยวกับหลักการของเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 6 ข้อเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและจัดการดูแลสภาพแวดล้อม OT ของโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย   1.ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ: นอกจากการเปลี่ยนแปลงของระบบไอทีมีผลกับความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจขององค์กรแล้ว สภาพแวดล้อม OT ก็มีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอาจนำไปสู่ภัยคุกคามและสามารถสร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับอุปกรณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องได้ หากโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบประปาและพลังงานถูกโจมตี อาจทำให้เกิดหายนะกับชุมชนและบุคคลทั่วไปได้ และเพื่อความปลอดภัย ผู้ดูแลด้าน OT ควรพิจารณาวิธีการที่จะทำให้ระบบสามารถรีสตาร์ท สำรองข้อมูลเพื่อลดโอกาสที่ระบบจะหยุดทำงานและคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในทุกระบบงานไม่เว้นแม้แต่งานด้าน cyber-hygiene   2.ความรู้ทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ: ทีมเจ้าหน้าที่ควรรู้ว่าสิ่งใดที่ต้องปกป้องดูแล รวมถึงความเสี่ยงและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพราะจะทำให้ระบบภายในดีขึ้น ในทางปฏิบัติอาจมีการสร้าง Playbooks เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีข้อมูลที่เพียงพอ เช่น การกำหนดรหัสสีของสายเคเบิลประเภทต่างๆ และการระบุฟังก์ชันเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน   3.ข้อมูล OT มีความสำคัญที่ต้องปกป้อง: เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐาน OT ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง…

แคนาดาสั่งยุบธุรกิจ TikTok ในประเทศเหตุกังวลความมั่นคง แต่ปชช.ยังใช้แอปได้

Loading

รัฐบาลแคนาดาสั่งให้ ติ๊กต๊อก (TikTok) ยุติการดำเนินธุรกิจในประเทศแคนาดา โดยอ้างเรื่องความมั่นคงของชาติ แต่ผู้ใช้งานในประเทศยังสามารถเข้าถึงแอปวิดีโอยอดนิยมแอปนี้ได้

UNRWN คืออะไร องค์กรช่วยเหลือหรือผู้ก่อการร้าย ทำไมอิสราเอลสั่งแบน?

Loading

  รัฐสภาอิสราเอลลงมติผ่านร่างกฎหมาย ห้ามองค์กร UNRWA ปฏิบัติการหรือดำเนินงานในดินแดนอิสราเอล และเยรูซาเลมตะวันออกแล้ว เมื่อวันจันทร์ที่ 28 ต.ค. 2567 ท่ามกลางเสียงประณามว่านี่อาจเป็นการ บั่นทอนการกระจายความช่วยเหลือในฉนวนกาซา ซึ่งประชาชนนับล้านกำลังรับเคราะห์จากสงครามที่ดำเนินมานาน 1 ปีแล้ว   UNRWA หรือ สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ เป็นองค์กรของสหประชาชาติเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในกาซา, เขตเวสต์แบงก์, เยรูซาเลมตะวันออก รวมทั้งในประเทศข้างเคียง   แต่พวกเขากลับมีปัญหากับรัฐบาลอิสราเอล ซึ่งกล่าวหาว่า ลูกจ้างของ UNRWA หลายคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีครั้งใหญ่ของกลุ่มฮามาส เมื่อ 7 ต.ค. 2566 อันเป็นจุดเริ่มต้นสงครามในกาซา และสหประชาชาติเองก็ยอมรับว่า มีพนักงานบางคนถูกไล่ออก เพราะอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้   ความขัดแย้งระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย สามารถย้อนกลับไปได้นานหลายสิบปี UNRWA เป็นองค์กรอะไรกันแน่ ทำไมพวกเขาจึงมีปัญหากับรัฐบาลอิสราเอลมาตลอด?     UNRWA คือองค์กรอะไร?   UNRWA ก่อตั้งขึ้นในปี 2492 เพื่อช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์กว่า 700,000…

แคนาดา-อินเดีย ขับนักการทูต ปมขัดแย้งเหตุสังหารผู้นำซิกข์

Loading

แคนาดาและอินเดียขับนักการทูตของอีกฝ่าย หลังความสัมพันธ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น สืบเนื่องจากเหตุลอบสังหารผู้นำแบ่งแยกดินแดนชาวซิกข์ในแผ่นดินแคนาดาเมื่อปีที่แล้ว ที่แคนาดากล่าวหาว่า รัฐบาลอินเดียมีส่วนเกี่ยวข้อง