กสทช. หนุนสร้างระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ คาดพร้อมใช้งานกลางปี’68

Loading

สำนักงาน กสทช. หนุนสร้างระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell Broadcast) เพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในสถานการณ์ฉุกเฉิน

รมว.ดีอี เยือน NT เยี่ยมชมการทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ CBC

Loading

วันที่ 18 มิ.ย. 2567 พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT นำคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในโอกาสเยี่ยมชมการทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินแก่ประชาชนภายใต้ โครงการระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ณ Co-Working Space อาคารสโมสร NT สำนักงานใหญ่

จะเอาตัวรอดอย่างไร? ถ้าเจออภิมหาแผ่นดินไหวตอนอยู่ญี่ปุ่น

Loading

แม้แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นอาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่ก็ไม่แน่ว่าวันหนึ่งอาจมีเหตุให้เราไปอยู่ญี่ปุ่นในเวลานั้นก็ได้ ไม่ว่าจะท่องเที่ยว ศึกษาดูงาน ต่อเครื่อง เรียนต่อ ทำงาน หรืออยู่อาศัย อีกทั้งอภิมหาแผ่นดินไหวแนวแอ่งนังไกที่นักธรณีวิทยาญี่ปุ่นคาดว่าจะมาในทศวรรษที่ 2030 ก็อาจจะมาถึงก่อนเวลาได้อีกเช่นกัน

จนท.ฮาวายโต้เสียงวิจารณ์เรื่องไม่เปิดเสียงไซเรนเตือนไฟป่า

Loading

  เจ้าหน้าที่รัฐฮาวายของสหรัฐฯ ชี้แจงสาเหตุที่ไม่เปิดเสียงไซเรนเตือนภัยในช่วงที่เกิดไฟป่ารุนแรง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้ว 110 ศพ   เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (16 ส.ค. 2566) หัวหน้าฝ่ายบริหารเหตุฉุกเฉินของเกาะเมาวี กล่าวปกป้องการตัดสินใจของหน่วยงานต่อประเด็นเรื่องการเปิดเสียงไซเรนในช่วงที่เกิดไฟป่ารุนแรงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางคำถามว่าการทำเช่นนั้นอาจช่วยชีวิตผู้คนได้หรือไม่   เฮอร์แมน อันดายา ผู้บริหารสำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินเขตเมาวี เคาน์ตี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เสียงไซเรนในฮาวายใช้เพื่อเตือนผู้คนให้ระวังสึนามิ การใช้มันขณะเกิดไฟไหม้อาจทำให้ผู้คนต้องอพยพไปยังจุดอันตราย   ไฟไหม้ทุ่งหญ้าเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ลุกลามลงมาจากฐานของภูเขาไฟที่ลาดลงสู่เมืองลาไฮนา เมืองท่องเที่ยวชื่อดัง คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 110 ศพ และทำลายหรือสร้างความเสียหายให้กับอาคารราว 2,200 หลัง   นายอันดายา กล่าวระหว่างการแถลงข่าว เมื่อนักข่าวตั้งคำถามถึงการตอบสนองของรัฐบาลระหว่างที่เกิดไฟป่าว่า “ประชาชนถูกฝึกให้หนีไปยังที่สูงในกรณีที่เสียงไซเรนดังขึ้น หากเราเปิดไซเรนในคืนนั้น เราเกรงว่าผู้คนจะไปรวมตัวกันบริเวณไหล่เขา และถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาคงเข้าไปในกองไฟแล้ว”   เขากล่าวว่า เมาวีใช้ระบบเตือนภัย 2 ระบบแทนการเปิดไซเรน ระบบหนึ่งจะส่งข้อความไปยังโทรศัพท์ และอีกระบบหนึ่งจะเป็นการออกอากาศข้อความฉุกเฉินทางโทรทัศน์และวิทยุ และเสริมว่า เนื่องจากเสียงไซเรนจะดังในพื้นที่ที่อยู่ริมทะเลเป็นหลัก พวกมันจึงไร้ประโยชน์สำหรับคนที่อาศัยอยู่บนที่สูง  …

อินเดียว่าจ้าง ‘นกพิราบสื่อสาร’ รับมือช่วยภัยพิบัติ

Loading

นกพิราบเบลเยียมบินระหว่างการฝึกฝนของตำรวจอินเดีย 9 มิถุนายน 2023   แม้ว่าโลกของเราในปัจจุบันจะมีวิธีการติดต่อสื่อสารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที การสนทนาผ่านกล้องวิดีโอ การใช้อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจในรัฐโอริสสาที่อยู่ทางตะวันออกของอินเดียยังคงอนุรักษ์ฝูงนกพิราบสื่อสารไว้ใช้เมื่อเกิดภัยพิบัติที่การเชื่อมต่อสื่อสารถูกตัดขาด   บรรดาสถานีตำรวจของอินเดียต่างใช้นกพิราบในการสื่อสารระหว่างกันและกันมาตั้งแต่สมัยการปกครองภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ โดยการใช้นกพิราบสื่อสารสายพันธุ์ Belgian Homer มากกว่า 100 ตัว   สาทิช คูมาร์ กาจพิเย ตำรวจในเขตคัตแทค กล่าวว่า “เราเลี้ยงนกพิราบเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นมรดกตกทอดแด่คนรุ่นหลัง”   เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่า นกพิราบเหล่านี้สามารถบินด้วยความเร็ว 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นระยะทางไกลถึง 800 กิโลเมตร โดยพวกมันได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ที่ระบบการสื่อสารเกิดขัดข้อง ในขณะที่พายุไซโคลนที่มีกำลังรุนแรงพัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งในปี 1999 เช่นเดียวกับในปี 1982 ในขณะที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในบางพื้นที่ของรัฐ   ทั้งนี้ นกพิราบสื่อสารมักจะมีข้อความที่เขียนไว้บนกระดาษที่มีน้ำหนักบางเบา สอดไว้ในแคปซูลแล้วมัดไว้ที่ขาของพวกมัน   ปาร์ชูรัม นันดา ผู้ดูแลนกพิราบสื่อสาร กล่าวว่า “เราเริ่มฝึกนกเมื่ออายุได้ 5-6 สัปดาห์ ในขณะที่พวกมันยังต้องอยู่ในกรง” เมื่อพวกมันโตขึ้น นกพิราบจะถูกปล่อยให้เป็นอิสระและให้บินกลับไปที่ศูนย์พักพิงตามสัญชาตญาณของพวกมัน…

“กสทช.”เร่ง “เอ็มโอยู”ทำ “Cell Broadcast” ส่ง SMS เตือนภัยพิบัติ

Loading

วันนี้ (10 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) นายไกลก้อง ไวทยการ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า และผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อรณรงค์ผ่านเว็บไซต์ Change.org ให้ กสทช.ทำระบบ เอสเอ็มเอส หรือ ข้อความสั้น เตือนภัยพิบัติแก่ประชาชน