เตือนแรงงานไทยอพยพออกจากพื้นที่ตอนเหนือของอิสราเอลติดเลบานอน
หลังเกิดเหตุโจมตีอิสราเอลจากฝั่งเลบานอน เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ที่เมือง Majdal Shams กต.เตือนแรงงานไทยอพยพออกจากพื้นที่ตอนเหนือของอิสราเอลติดเลบานอน
หลังเกิดเหตุโจมตีอิสราเอลจากฝั่งเลบานอน เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ที่เมือง Majdal Shams กต.เตือนแรงงานไทยอพยพออกจากพื้นที่ตอนเหนือของอิสราเอลติดเลบานอน
พรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ‘พรรณนภา จันทรารมย์’ ทูตไทยในอิสราเอลตอบทุกประเด็น ภารกิจพาตัวประกันไทยกลับบ้าน ๐ อยากให้เล่าถึงสถานการณ์ในวันเกิดเหตุจับตัวประกันว่าเป็นอย่างไร กว่าที่เราจะได้ทราบว่ามีคนไทยที่ได้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และถูกจับเป็นตัวประกัน สถานทูตทราบเรื่องการจับตัวประกันคนไทยจากภาพที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ และจากการที่เพื่อน ๆ แรงงานแจ้งว่าเพื่อนของพวกเขาถูกจับตัวไป และจากการที่ครอบครัวแรงงานไทยหลายคนไม่สามารถติดต่อแรงงานไทยได้ก็ได้แจ้งชื่อมายังสถานทูค ทางสถานทูตจึงได้จัดทำรายชื่อคนที่คาดว่าถูกจับเป็นตัวประกัน และรายชื่อคนสูญหายเบื้องต้นและประสานแจ้งทางการอิสราเอลให้ช่วยสืบหา ซึ่งใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์กว่าที่สถานทูตจะได้รับรายชื่อบุคคลรายแรกที่คาดว่าถูกจับเป็นตัวประกันจากทางการอิสราเอล และได้มีการทยอยแจ้งเป็นระลอก ๆ ในส่วนคนไทยที่ได้รับบาดเจ็บ สถานทูตได้รับแจ้งจากนายจ้างเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในช่วงต้นที่สถานทูตกำลังมีภารกิจอพยพคนไทย ก็ได้มอบหมายให้ฝ่ายแรงงานของสถานทูตไปเยี่ยมและติดตามสิทธิประโยชน์จากทางการอิสราเอล ขณะที่ในส่วนของผู้เสียชีวิตคนไทยเป็นการแจ้งจากองค์กรตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) มายังสถานทูต ซึ่งระยะเวลาการได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการมีความแตกต่างกัน ทั้งจากการที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และจากการที่สภาพศพต้องรอ DNA จากญาติของบุคคลที่คาดว่าจะเสียชีวิตมาตรวจสอบก่อนที่จะยืนยันอย่างเป็นทางการ ๐ ระหว่างนั้นนอกจากตัวประกันที่ถูกจับไปแล้ว ยังมีภารกิจในการอพยพแรงงานไทยกลับบ้านด้วย การทำงานภายใต้ข้อจำกัดมากมายและภาวะสงครามเป็นอย่างไร ภารกิจอพยพในช่วงต้นมีปัญหาเรื่องการเดินทาง อุปสรรคใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการที่แรงงานยังไม่สามารถออกจากพื้นที่สีแดงได้ เนื่องจากมีจรวดโจมตีเป็นระลอก ส่งผลให้การเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทยจะต้องประสานผ่านกองทัพอิสราเอลเพื่อขออนุญาตเข้าพื้นที่ และเพื่อให้มีการคุ้มกันเพื่อความปลอดภัย อุปสรรคต่อมาคือสถานทูตจำเป็นต้องหาบริษัทเพื่อเช่ารถรับ-ส่งแรงงาน…
เมื่อ 3 พ.ย.66 สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (ISIS Thailand) ร่วมกับมูลนิธิ Friedrich Naumann ประเทศไทย และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานอภิปรายในประเด็น ‘ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์: สงครามที่ไม่มีจุดจบ?’ ณ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มติดอาวุธฮามาส ในดินแดนปาเลสไตน์ โจมตีอิสราเอล นับว่าเป็นครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี นับจาก กองกำลังชาติอาหรับ เปิดฉากบุกโจมตีอิสราเอล เมื่อปี 2516 โดยกลุ่มฮามาสเลือก วันซิมหัส โทราห์ วันอันศักดิ์สิทธิที่สุดของชาวยิว และวาระครบรอบ 50 ปี สงครามยมคิปปูร์ เปิดฉาก คมชัดลึก สรุปไทม์ไลน์ นาทีต่อนาที ปฎิบัติการโจมตีอิสราเอล คร่าชีวิตไปแล้ว 400 ชีวิต ซึ่งรวมคนไทยด้วย
เปิดข้อปฏิบัติคนไทยรับมือเหตุโจมตีอิสราเอล เข้าห้องหลบภัย ไม่ถ่ายรูป ไม่วิ่งไปที่โล่ง พร้อมเบอร์โทรศัพท์สำคัญ หากต้องการความช่วยเหลือ โดยกระทรวงแรงงาน รายงานว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศอิสราเอลรวมทั้งสิ้นประมาณ 29,900 คน เป็นแรงงานที่อยู่อาศัยบริเวณเมือง Netivot , Sderot, Ashkelo และพื้นที่ใกล้เคียง ประมาณ 5,000 คน
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว