Delta Electronics โดนแรนซัมแวร์เข้าโจมตี เรียกค่าไถ่ 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Loading

  Delta Electronics บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของไต้หวันที่มีคู่ค้ารายใหญ่อย่าง Apple , Tesla , HP และ Dell ได้ออกมาเปิดเผยว่าตกเป็นเหยื่อของการโจมตี แม้ในประกาศของบริษัทจะระบุว่า การโจมตีไม่กระทบกับระบบสำคัญ โดยยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมาทีมงานของ AdvIntel ได้ตรวจพบการโจมตีผ่านแพลตฟอร์ม ‘Andarial’ ชี้ว่าคนร้ายอาศัยเครื่องมือ Colbalt Strike with Atera ในการฝังตัว ปัจจุบันทีมงานของบริษัท Delta กำลังเร่งกู้คืนระบบที่ถูกหยุดไว้ระหว่างการโจมตี รวมถึงจ้างผู้เชี่ยวชาญมาช่วยสืบสวน พร้อมแจ้งหน่วยงานทางกฏหมายแล้ว อย่างไรก็ดีแม้บริษัทจะไม่เอ่ยถึงผู้อยู่เบื้องหลังแต่ก็มีแหล่งข่าวว่า Delta ประสบกับ Conti Ransomware โดยคนร้ายต้องการค่าไถ่ราว 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแลกกับการไม่เปิดผยข้อมูลพร้อมกุญแจถอดรหัส ซึ่งคนร้ายอ้างว่าได้เข้ารหัสเครื่องไปกว่า 1,500 เซิร์ฟเวอร์ และคอมพิวเตอร์กว่า 12,000 เครื่องจากทั้งหมด 65,000 เครื่องในเครือข่าย แม้แต่ในขณะนี้เว็บหลักก็ยังเข้าไม่ได้ https://www.deltaww.com/ ที่มา : https://www.bleepingcomputer.com/news/security/taiwanese-apple-and-tesla-contractor-hit-by-conti-ransomware/  …

“ภัยไซเบอร์” ระบาดหนัก!! เมื่อโลกถูกโจมตีทุก 11 วินาที

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน “แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง” คือ ตัวการใหญ่ “เดลล์” ชี้ภัยไซเบอร์จากนี้ อาจลุกลามใหญ่โตมากกว่าเดิม นพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจาก ภัยไซเบอร์ อาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่โตมากกว่าเดิม สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระบบการเข้าถึงแบบทางไกลนั้น กลายเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้นกว่าเดิม บทความจากเว็บไซต์ของ McKinsey ชี้ว่ามีการทำ ฟิชชิ่งเพิ่มมากขึ้นเกือบ 7 เท่านับตั้งแต่การเกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยที่อาชญากรไซเบอร์เลือกใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในการอัปเดตตัวช่วยกรองระบบอีเมลและเว็บไซต์ที่ล่าช้า ในการกำหนดเป้าหมายสำหรับการโจมตีที่เป็นผู้ใช้งานระบบจากระยะไกล ความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีและความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้หน่วยงานของภาครัฐทั้งหลายควรจะต้องเร่งในการวางแผนในเรื่องของ “แนวทางในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์อย่างยึดหยุ่น” หรือ Cyber Resilience โดยที่ต้องสามารถป้องกัน ตอบสนองและกู้คืนได้อย่างรวดเร็วหลังเกิดการโจมตี เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแรงพร้อมสำหรับการฟื้นตัวตามสภาพเศรษฐกิจของโลก สูญเสียไปมาก กับเรื่องของการโจมตีทางไซเบอร์ การโจมตีด้วย แรนซัมแวร์ และรูปแบบอื่นๆ ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น กลายเป็นรูปแบบของการโจมตีที่แพร่หลายและสร้างความเสียหายมากกว่าที่เคยเป็นมา โดยมีเป้าไปที่องค์กรหลักและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมากขึ้น อย่างเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื่อเพลิงหลายวัน หลังจากที่…

ผู้เชี่ยวชาญเตือนกลุ่มคนร้ายแรนซัมแวร์เพิ่มระดับการหลอกล่อผู้ใช้ด้วย ‘SEO poisoning’

Loading

  Menlo Security ได้ออกมาเตือนถึงแคมเปญการล่อลวงเหยื่อจากคนร้ายแรนซัมแวร์ ด้วยการทำ SEO poisoning   SEO poisoning (หรือ Search Poisoning) คือการทำ Black hat SEO เพื่อทำให้เว็บไซต์ที่ต้องการนั้นติดอันดับการค้นหา เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและยังปรากฏโดดเด่นดึงดูดผู้ชม โดยผู้เชี่ยวชาญจาก Menlo Security พบว่าคนร้ายมีการเพิ่มศักยภาพในการทำ SEO Poisoning ที่ครอบคลุมคีย์เวิร์ดกว่า 2,000 ตัว เช่น ‘sports mental toughness,’ ‘industrial hygiene walk-through’ และอื่นๆ ซึ่งไซต์ปฏิบัติการของคนร้ายจะมีการแสดงผลที่มีเอกสาร PDF ให้ดาวน์โหลดได้   เหยื่อที่หลงเชื่อเข้าไปดาวน์โหลดเอกสาร กลไกภายในจะมีการ Redirect เหยื่อไปยังหลายๆเว็บไซต์ที่ไปดึงเอา Payload อันตรายเข้ามาทำงาน ทั้งนี้กลไก Redirect หลายครั้งจะช่วยป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ถูกลบออกจากผลลัพธ์ของการค้นหาจากการมีเนื้อหาอันตราย   นอกจากนี้เว็บไซต์เหล่านั้นคนร้ายก็ไม่ได้สร้างขึ้น แต่ไปเจาะช่องโหว่ปลั๊กอินจากเว็บไซต์ WordPress ที่อยู่ในอันดับสูง โดยจากการศึกษาผู้เชี่ยวชาญพบว่าเว็บไซต์ที่คนร้ายนิยมคือกลุ่มของเว็บไซต์ธุรกิจ…

PwC เตือน “แรนซัมแวร์” โจมตีพุ่ง!! แนะธุรกิจไทยคุมเสี่ยงจาก “บุคคลภายนอก”

Loading

  PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วย ซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก อีกทั้งให้ความสำคัญกับสุขลักษณะที่ดีต่อความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการรับมือภัยคุกคามและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา และหัวหน้าสายงานกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า การโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้เรียกค่าไถ่ข้อมูล โดยขโมยข้อมูลด้วยการเข้ารหัส หรือล็อกไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงหรือเปิดไฟล์ได้และเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าไถ่ (Ransomware) จะเป็นภัยไซเบอร์ที่พบมากที่สุดในปี 2565   “การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จะกลายมาเป็นภัยไซเบอร์ที่มีแนวโน้มการเกิดมากที่สุดในระยะข้างหน้า โดยเราจะเห็นว่า แรนซัมแวร์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มสถาบันการเงินและโรงพยาบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ภัยไซเบอร์ที่พบมากจะเป็นมัลแวร์ประเภทไวรัส โทรจัน และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการโจมตีและเข้าถึงข่อมูลที่มีความอ่อนไหว” วิไลพร กล่าว   ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลที่สาม (Third-party…

VirusTotal รายงานผลวิเคราะห์แรนซัมแวร์กว่า 80 ล้านตัวอย่าง

Loading

  VirusTotal ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของ Google นั้นได้ออกรายงานเกี่ยวกับผลวิเคราะห์ตัวอย่างของแรนซัมแวร์จะทุกมุมโลกกว่า 80 ล้านตัวอย่าง   ประเด็นสำคัญมีดังนี้   –  รายงานถูกเก็บในช่วงปี 2020 ถึงครึ่งปีแรกของ 2021   –  ข้อมูลกว่า 80 ล้านตัวอย่างถูกเก็บมาจาก 140 ประเทศ โดยภาพรวมพบว่าอิสราเอลมีจำนวนมากที่สุด ตามมาด้วยเกาหลีใต้ และเวียดนาม   –  เป้าหมายของแรนซัมแวร์กว่า 95% คือ Windows ซึ่งตัวอย่างที่เข้ามาก็คือ Executable หรือ DLL ในขณะที่แอนดรอยด์มีปริมาณตัวอย่างคิดเป็น 2% ของทั้งหมด อย่างไรก็ดีพบแรนซัมแวร์ EvilQuest ราว 1 ล้านตัวอย่างที่โจมตี macOS   –  แคมเปญการโจมตีขนาดใหญ่จะอยู่ได้ไม่นาน แต่ทีมงานพบว่ามีกิจกรรมของแรนซัมแวร์นับ 100 สายพันธุ์ที่เคลื่อนไหวอยู่เรื่อยๆ   –  ตัวอย่างใหม่ๆที่เข้ามาก็คือแคมเปญใหม่ โดย Botnet…

รู้จัก “LockBit” แรนซัมแวร์ ABCD ตัวร้ายที่โจมตีสายการบินในไทย

Loading

  ตามติดแรนซัมแวร์ LockBit ที่ถูกค้นพบในเดือนกันยายน 2019 พบหลายองค์กรตกเป็นเหยื่อ ตั้งแต่องค์กรในสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครน นอกจากนี้ ยังพบการโจมตีในหลายประเทศทั่วยุโรป ทั้งฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และเยอรมนี นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ไม่นานนี้เราเพิ่งได้เห็นภัยคุกคามไซเบอร์ที่โจมตีบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ในประเทศไทย รูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์มีเป้าหมายและมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้มีขอบเขตการโจมตีที่รุนแรงมากขึ้นอีก โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สายการบินชั้นนำของประเทศไทยรายหนึ่งได้ประกาศเหตุการณ์การละเมิดข้อมูลต่อสาธารณะ “ทั้งหมดนี้เกิดพร้อมกับที่กลุ่มแรนซัมแวร์ LockBit ได้ประกาศผลงานร้ายและอ้างว่าจะเปิดเผยไฟล์ข้อมูลบีบอัดขนาด 103 GB” แรนซัมแวร์ LockBit ถูกค้นพบในเดือนกันยายน 2019 ซึ่งเดิมมีชื่อว่าแรนซัมแวร์ “ABCD” ออกแบบมาเพื่อบล็อกการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแลกกับค่าไถ่ อาชญากรไซเบอร์ปรับใช้แรนซัมแวร์นี้บนตัวควบคุมโดเมนของเหยื่อ จากนั้นจะแพร่กระจายการติดเชื้อโดยอัตโนมัติ และเข้ารหัสระบบคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงได้ทั้งหมดบนเครือข่าย แรนซัมแวร์นี้ใช้ในการโจมตีที่กำหนดเป้าหมายประเภทเอ็นเทอร์ไพรซ์และองค์กรอื่นๆ เป้าหมายในอดีตที่โดดเด่น ได้แก่ องค์กรในสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครน นอกจากนี้ ยังพบการโจมตีในหลายประเทศทั่วยุโรป (ฝรั่งเศส…