รัฐบาลอินเดียแจ้งเตือนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยระดับ “สูง” ของ Android

Loading

ทีมตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์ของอินเดีย (CERT-In หรือ ICERT) ภายใต้กระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาลอินเดีย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการภัยคุกคามและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้ออกคำเตือนบนเว็บไซต์ของ CERT-In เกี่ยวกับช่องโหว่หลายประการและความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในระดับ “สูง” ของระบบปฏิบัติการ Android

วิธีปิดการเข้าถึง Location แอปบนแอนดรอยด์ เพื่อไม่ให้ถูกติดตามโดยไม่รู้ตัว

Loading

  วิธีปิดการเข้าถึง Location แอปบนแอนดรอยด์ เพื่อไม่ให้ถูกติดตามโดยไม่รู้ตัวกรณีอนุญาตให้แอปต่าง ๆ เข้าถึง Location ตามเราได้ทุกที่   ตอนนี้ Android เวอร์ชั่นใหม่ๆ จะต้องอนุญาตการเข้าถึง Location เข้าถึง Microphone , เข้าถึง กล้อง ดังนั้นเราต้องมาตรวจสอบผ่านการตั้งค่าบนมือถือว่ามีแอปไหนบ้างที่แอบเข้าถึง Location โดยไม่ได้อนุญาตจากเจ้าของเครื่อง   วิธีปิดการเข้าถึง Location แอปบนแอนดรอยด์   วิธีดูว่าแอปใดมีสิทธิ์เข้าถึงตำแหน่ง Location บ้าง   iT24Hrs   ไปที่ การตั้งค่า แล้วเลือกที่ ตำแหน่ง   iT24Hrs   จะเห็นรายชื่อแอปที่เข้าถึง Location ล่าสุด คุณสามารถดูรายชื่อแอปทั้งหมดได้โดยแตะที่ ดูทั้งหมด     iT24Hrs   เช็กตรงอนุญาตตลอด ว่ามีแอปอะไรเข้าถึง Location อยู่เบื้องหลังบ้าง หากพบก็แตะแอปนั้น…

ตำรวจไซเบอร์ เตือนนักท่องเน็ต ระวังมัลแวร์ตัวใหม่ ภัยร้ายบนแอนดรอยด์

Loading

    ตำรวจไซเบอร์ เตือนระวังมัลแวร์ตัวใหม่ “DogeRAT” ภัยร้ายบนระบบแอนดรอยด์ เผย 7 แอปฯ ที่มัลแวร์ชอบฝังตัว เช็กที่นี่   กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก เตือนภัยมัลแวร์มาใหม่ DogeRAT แฝงตัวบนแอปพลิเคชันระบบแอนดรอยด์ โดยระบุว่า   DogeRAT มัลแวร์ตัวใหม่ ภัยร้ายบนระบบ Android   หลักการทำงานของมัลแวร์ DogeRAT จะมีการโฆษณาบนเว็บไซต์ปลอม หรือแอปฯ ปลอมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด เมื่อเผลอทำการติดตั้ง ก็จะทำให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน และเข้าควบคุมโทรศัพท์มือถือที่มัลแวร์ฝังตัวอยู่     7 แอปพลิเคชันที่มัลแวร์ DogeRAT มักนิยมฝังตัว   1. Opera Mini-fast web browser   2. Android VulnScan   3. Youtube…

พบมัลแวร์ใหม่บน Android หลบเลี่ยงการตรวจจับจาก Antivirus ได้

Loading

    ใครที่ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ตอนนี้ต้องระวังตัวให้ดี เพราะมีมัลแวร์ใหม่บน Android หลบเลี่ยงการตรวจจับจาก Antivirus ได้ โดยมันพุ่งเป้าที่ข้อมูลสำคัญๆ อย่างข้อมูลธนาคาร รวมถึงล็อกไฟล์เพื่อเรียกค่าไถ่ได้   ผู้เชี่ยวชาญจาก CloudSEK ได้ออกมาเตือนภัยคุกคามใหม่บนแอนดรอนด์ที่มีชื่อว่า Daam มันเป็นมัลแวร์ที่ออกแบบมาให้จู่โจมได้ทั้งสมาร์ทโฟนและพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows (แต่ส่วนใหญ่พบบนมือถือมากกว่า)   ความสามารถของมันคือ สามารถแอบบันทึกเสียงจากมือถือโดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว แอบอ่านบันทึกการโทร ขโมยรายชื่อติดต่อ แม้แต่การใช้งานการโทรผ่านแอปอย่าง WhatsApp ก็ยังบันทึกได้ นั่นหมายความว่าถ้าเราเผยข้อมูลระหว่างคุยสาย เช่น ข้อมูลธนาคาร ก็อาจจะโดนขโมยข้อมูลได้อย่างง่ายดาย   มัลแวร์ตัวนี้แพร่กระจายมาจากการโหลดแอปจากเว็บภายนอกที่ไม่ใช่ Play Store ดังนั้น การป้องกันตัวเบื้องต้นก็คือ อย่าโหลดแอปจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ Play Store ต่อมาคือการอ่านรีวิวของคนที่โหลดไปก่อนหน้านี้ รวมถึงอัปเดตระบบความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ         ที่มา The Sun         —————————————————————————————————————————————— ที่มา…

โทรศัพท์หาย!! แล้วแอปฯ ธนาคารในเครื่องจะต้องทำอย่างไร

Loading

    เชื่อว่าคงเป็นหนึ่งในข้อสงสัยของหลายๆ คนที่นิยมใช้งานแอปพลิเคชันธนาคารหรือวอลเลต เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพราะทุกวันนี้เรามี true money, rabbit line pay หรือแอปของธนาคารต่างๆ สแกนจ่ายกันอย่างสะดวกสบาย   ยังไม่รวมแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อกับบัตรเครดิตหรือหักเงินจากบัตรธนาคารต่างๆ เพื่อใช้จ่ายให้สะดวกขึ้น   แล้วถ้าเกิดวันหนึ่งสมาร์ทโฟนของคุณเกิดหายไป สิ่งแรกที่กังวลอาจจะไม่ใช่แค่ข้อความในแชทหาย แต่เป็นจะจัดการกับแอปธนาคารต่างๆ อย่างไรดี   สิ่งแรกที่ควรต้องทำคือ ตั้งสติให้ดีก่อน จากนั้นก็ยกหูโทรหาผู้ให้บริการเครือข่ายเพื่อแจ้งระงับซิมที่อยู่ในมือถือก่อน เมื่อไม่มีการเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์กับแอปธนาคาร ก็ลดความเสี่ยงในการใช้แอปบนมือถือถอนเงินออกไปได้   เบอร์ติดต่อ Call Center แต่ละเครือข่าย   – AIS โทร. 1175 – DTAC โทร. 1678 – True โทร. 1242     ระงับบริการออนไลน์กับธนาคาร   เมื่อโทรแจ้งเครือข่ายแล้ว สิ่งที่ต้องรีบทำเร่งด่วนคือ แจ้งธนาคารของทุกบัญชีที่ผูกไว้กับแอปฯ ในโทรศัพท์ โดยให้แจ้งการระงับบริการออนไลน์หรือ Mobile…

เงินหาย ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ ที่แท้ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน

Loading

    เงินหาย ที่แท้ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ แต่ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน ยืนยันว่าสายชาร์จดูดข้อมูลมีจริง แต่ไม่สามารถดูดเงินในบัญชีได้   18 ม.ค. 2566 – จากกรณี นายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด นำผู้เสียหายร้องเรียนต่อสื่อมวลชน หลังถูกกลุ่มมิจฉาชีพแฮ็กข้อมูลโทรศัพท์มือถือ โอนเงินออกไปจากบัญชี ผู้เสียหายรายหนึ่ง เล่าว่า ได้ชาร์จมือถือทิ้งไว้ จู่ ๆ มีข้อความจากธนาคารแจ้งมาว่า มีการโอนเงินจากแอปพลิเคชันธนาคารตนเอง ออกไป 100,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกรรมอะไรเลย โดยโทรศัพท์ทั้งหมดที่ถูกแฮ็กนั้น เป็นโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีผู้เสียหายมากกว่า 10 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีหลายฝ่ายคาดว่าอาจถูกสายชาร์จมือถือ ดูดเงินออกจากแอปพลิเคชันบัญชีนั้น   ความคืบหน้าล่าสุด พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า ได้รับรายงานจาก พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ว่า จากการตรวจสอบเครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย…