ดีอียกระดับ ‘แอปดูดเงิน’ เป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง-ตร.เตือน 3 หลอกลวงโอนเงิน

Loading

กรณีที่มีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชน โดยการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อขโมยเงิน หรือที่เรียกว่า แอปดูดเงิน (Mobile Banking Trojan) โดยใช้กระบวนการทางไซเบอร์ ทำให้สูญเสียเงินกว่า 2,600 ล้านบาท (สถิติระหว่างวันที่ 1 มี.ค.65 – 31 พ.ค.67) นับเป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง แต่ปัจจุบันการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความล่าช้า นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) จึงได้ประกาศยกระดับจัดให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดจากแอปดูดเงิน เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง

ตร.ไซเบอร์ บุกจับ 5 หัวโจก แก๊งส่ง ‘ลิงก์ปลอม’ ลวงติด ‘แอปฯ ดูดเงิน’

Loading

“ตำรวจไซเบอร์” เปิดปฏิบัติการ Shutdown Stingray ค้น 5 จุด 4 จังหวัด ล่าเครือข่ายระดับสั่งการ Stingray ส่งข้อความ SMS หลอกกดลิงก์ติดตั้ง “แอปฯ ดูดเงิน” จับ 5 ผู้ต้องหา เจอข้อหาหนักถึงอั้งยี่ หลังมีการสืบสวนขยายผลเครือข่ายเครื่องกระจายสัญญาณที่ใช้อุปกรณ์ส่งข้อความ SMS ให้ประชาชนที่หลงเชื่อกดลิงก์ปลอม

ระวังแอปดูดเงินปลอม อาละวาด อ้าง Google Play ใช้นามสกุลเว็บ .CC

Loading

สตช. แจ้งเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงของคนร้าย ส่ง sms พร้อมแนบลิ้งก์คุมมือถือ ป้องกันง่ายๆ คือ ไม่เปิดอ่าน หรือ อย่ากดลิ้งก์แปลกปลอม หากต้องการติดตั้งแอป ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Playstore หรือ App Store เท่านั้น พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าวว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ คดีหลอกลวงให้กู้เงิน คดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) นอกจากนี้ เมื่อช่วงเดือน มีนาคม 2566 – มิถุนายน 2566 สถิติคดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ อยู่ในลำดับที่ 7 แต่ช่วง 2 สัปดาห์นี้ สถิติการรับแจ้งความเพิ่มมากขึ้นจนขยับมาอยู่ลำดับที่ 4   สถิติการรับแจ้งความออนไลน์ในรอบ 2 สัปดาห์…

แบงก์ชาติระบุแอปดูดเงินแรงขึ้นช่วงสองเดือนที่ผ่านมาหลังคนร้ายใช้เทคนิคใหม่ ระบบล็อกบัญชีเร่งด่วนเสร็จสิ้นปีนี้

Loading

  ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานถึงการพัฒนามาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตทางการเงิน หรือที่มักเรียกกันว่าแอปดูดเงิน โดยพบว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือ 116 ล้านบาทในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่พอมาถึงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนก็กลับมียอดความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนร้ายอาศัยเทคนิคใหม่ ๆ   แนวทางใหม่ของคนร้าย เช่น การหลอกลวงด้วยบทใหม่ ๆ ที่แนบเนียนขึ้น มีการปลอมตัวเป็นหน่วยงานราชการ, บริษัทขนาดใหญ่, หรือญาติพี่น้อง กระบวนการส่ง SMS นั้นอาศัยแนวทางสร้างเสาสัญญาณโทรศัพท์ปลอมเพื่อส่ง SMS ได้โดยไม่ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ตลอดจนแอปดูดเงินเวอร์ชันใหม่ ๆ มีความสามาถหลบการตรวจจับโดยธนาคาร   ความเสียหายรวม ย้อนหลัง 7 เดือน •  ธันวาคม 2022: 182 ล้านบาท •  มกราคม 2023: 185 ล้านบาท •  กุมภาพันธ์ 2023: 161 ล้านบาท •  มีนาคม 2023: 135…

“ทรู มันนี่” ทุ่ม 100 ล้าน พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยบนแอป 3 ชั้น

Loading

    ยกระดับการปกป้องบัญชีลูกค้า เปิดตัวระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น ตรวจ-จับ-หยุด ธุรกรรมแปลกปลอม   น.ส.มนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการทรูมันนี่ เปิดเผยว่า  บริษัทได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของระบบอย่างต่อเนื่อง โดยในแต่ละปีมีการลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อให้ลูกค้าทั้งระบบที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 26 ล้านราย มีการทำธุรกรรมอย่างปลอดภัย โดยปัจจุบันมีธุรกรรมผ่านระบบ 40,000 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นปีละ 500,000 ล้านบาท นอกจากนี้บริการของทรู มันนี่ ยังมีทั้งรูปแบบการออม และการลงทุน ซึ่งเงินของลูกค้าอยู่ในระบบหลักแสนบาท ที่สำคัญคือ บริษัทมีความมุ่งมั่นในการเป็นเวอร์ชวล แบงก์ ด้วย ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ   จากข้อมูล เดือน เม.ย. ที่ผ่านมาของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (ดีอีเอส) พบว่าใน 1 ปี  ที่ผ่านมา มีการแจ้งความออนไลน์…

เช็กด่วน! ดีอีเอสเตือน แอปอันตราย 200 แอป ห้ามโหลด อาจสูญเงิน-ข้อมูลส่วนตัว

Loading

  ชัยวุฒิ ร่วม สกมช. แจงกรณีแอปดูดเงินอันตราย หลังพบประชาชนได้รับผลกระทบจากการติดตั้งแอปพลิเคชันอันตรายลงในโทรศัพท์มือถือ แล้วทำให้กลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาดูดเงินออกไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของมัลแวร์อันตราย ที่มาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ซึ่งดีอีเอส และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้มีการตรวจสอบมาโดยตลอด   โดยพบปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ถูกระบุว่าสามารถขโมยข้อมูล หรือควบคุมเครื่องโทรศัพท์ได้ โดยในปี 2022 มีการเผยแพร่รายชื่อแอปพลิเคชันอันตรายเหล่านี้   ซึ่งมีมากกว่า 200 รายการ ทั้งในระบบ iOS และ Android ตามที่ปรากฎใน Facebook ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Facebook ของ สกมช. (NCSA THAILAND) จึงขอให้ผู้ใช้งานทำการตรวจสอบ หากพบแอปพลิเคชันดังกล่าวให้ถอนการติดตั้งโดยทันที และควรอัพเดทระบบของเครื่องโทรศัพท์ของตนเองให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ     ทั้งนี้ ดีอีเอส ขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ลงบนโทรศัพท์มือถือ เพราะอาจจะไปเจอมัลแวร์อันตรายได้…