พบมัลแวร์ใหม่บนมือถือ Android ปิดการปลดล็อคลายนิ้วมือเพื่อขโมยพิน

Loading

พบมัลแวร์ใหม่บนมือถือ Android ปิดการปลดล็อคด้วยลายนิ้วมือได้ แน่นอนว่าลายนิ้วมือของคุณไม่ซ้ำใคร แต่อาจไม่รักษาข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัยอีกต่อไป หลังพบมัลแวร์ใหม่ ชื่อว่า Chameleon เวอร์ชันใหม่อนุญาตให้กลุ่มมิจฉาชีพข้ามคุณสมบัติการตรวจลายนิ้วมือ เพื่อขโมย PIN ส่วนตัวของคุณได้

วิธีป้องกันไวรัส มัลแวร์ บนมือถือ Android

Loading

วิธีป้องกันไวรัส มัลแวร์ บนมือถือ Android โดยตัวระบบปฏิบัติการ Android จัดเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดมากกว่า Apple แต่นั่นก็มีโอกาสที่จะเกิดมัลแวร์มากกว่าเช่นกัน Google จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย Google Play Protect เพื่อป้องกันแอปแฝงมัลแวร์ หลายท่านอาจคิดถึงการติดตั้งแอปป้องกันไวรัสบนมือถือ Android เพื่อดูแลคล้ายกับ Windows ความจริงแล้วคุณสามารถป้องกันไวรัสได้

ระวังแอป Visit Japan ปลอม ขโมยข้อมูลนักท่องเที่ยวไปญี่ปุ่น

Loading

เพจสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้แชร์จาก สำนักงานดิจิทัลแห่งประเทศญี่ปุ่น ว่า เนื่องจากในขณะนี้ได้พบเห็น แอปพลิเคชันให้บริการ Visit Japan Web ปลอม ที่มีชื่อว่า “VISIT JAPAN WEB INFO” (日本語は以下)ขอแจ้งให้ทราบว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ให้บริการ Visit Japan ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

ระวังแอปปลอม แอบอ้างเป็นแอปแจ้งความตำรวจ ปลอมทั้งแอปและเว็บ Play Store พร้อมวิธีสังเกต

Loading

ระวังแอปปลอม แอบอ้างเป็นแอปแจ้งความตำรวจ หลังพบมีมิจฉาชีพสร้างแอปปลอมเพื่อหลอกขโมยเงิน ขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยแอบอ้างเป็นแอปเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอท. ใช้ชื่อแอปว่า “TCSD Protect”

ESET เผยแฮ็กเกอร์จีนให้แอป Signal และ Telegram ปลอมล้วงข้อมูลเหยื่อ

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญจาก ESET เผยแฮ็กเกอร์จีนใช้แอปแชตปลอมแฝงมัลแวร์สอดแนมผู้ใช้งาน Android ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020 เป็นต้นมา   ESET เชื่อว่าผู้อยู่เบื้องหลังคือกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีชือเรียกว่า Gref ซึ่งปฏิบัติการสอดคล้องกับกลุ่มอื่นอย่าง APT15, Vixen Panda และ Ke3Chang   แอปที่ Gref ใช้ในการโจมตีเป็นแอปที่ทำเลียนแบบ Signal และ Telegram ด้วยการตั้งชื่ออย่าง Signal Plus Messenger และ FlyGram แฝงไว้ใน Google Play และ Samsung Galaxy Store   แอปเหล่านี้ซ่อนสปายแวร์ที่ชื่อ BabBazaar ซึ่งเป็นตัวเดียวกันที่เคยใช้สอดแนมชาวอุยกูร์ และชนกลุ่มน้อยชาวเตอร์กิกในจีน   การวิเคราะห์ชี้ว่าเป้าหมายของ Greg คือผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่อยู่ในโปแลนด์และเยอรมนีเป็นหลัก แต่ขยายวงไปถึงบราซิลและออสเตรเลียด้วย   วิธีการที่ใช้ลวงเหยื่อให้ดาวน์โหลดแอปปลอมคือการโปรโมตแอปในกลุ่ม Telegram ของชาวอุยกูร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแอป Android   ข้อมูลที่ดูดออกไปจากเหยื่อมีทั้งข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ…

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่

Loading

  โฆษก บช.สอท. เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดูดเงินออกจากบัญชีได้อย่างง่ายดาย   วันนี้ (4 ก.พ.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดังนี้   ที่ผ่านมา บช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการประชาสัมพันธ์ ออกมาแจ้งเตือนประชาชนอยู่บ่อยครั้ง กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปยังประชาชน หลอกลวงให้เพิ่มเพื่อนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ แล้วส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของกรมสรรพากรปลอม ซึ่งแฝงมากับมัลแวร์ (Malware) หรือโปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้โทรศัพท์ของเหยื่อทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูล หรือเปิดช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อได้ รวมไปถึงหลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ตั้งรหัส PIN จำนวน 6 หลัก โดยประชาชนส่วนใหญ่มักจะใช้ชุดเลขรหัสเดียวกันกับรหัสแอปพลิเคชันของธนาคาร ทำให้มิจฉาชีพนำรหัสดังกล่าวไปใช้โอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อได้อย่างง่ายดาย   ทั้งนี้มิจฉาชีพมักจะอ้างว่าเพื่อเป็นการตรวจสอบรายได้ของท่าน หรือเป็นการแจ้งเตือนให้ชำระภาษี หรือให้ทำการยกเลิกเสียภาษีจากโครงการของรัฐบาล หรืออ้างว่าเป็นการขอใช้โครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้เสียภาษีย้อนหลังได้…