จีนคุม ‘แอปฯ มือถือ’ ห้ามเก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้เกินจำเป็น เริ่มพ.ค. นี้

Loading

  จีนคุม ‘แอปฯ มือถือ’ ห้ามเก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้เกินจำเป็น เริ่มพ.ค. นี้ สำนักกำกับดูแลไซเบอร์สเปซแห่งประเทศจีน (CAC) รายงานว่าทางการจีนออกแนวปฏิบัติห้ามผู้ให้บริการแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็นอย่างผิดกฎหมาย แนวปฏิบัติดังกล่าวระบุว่าแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือไม่สามารถปฏิเสธการเข้าถึงบริการของผู้ใช้ได้ หากผู้ใช้ปฏิเสธจะแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็น ขอบเขตข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ 39 ประเภท เช่น แอปพลิเคชันนำทางอาจเข้าถึงตำแหน่งที่อยู่ ต้นทางและปลายทางของผู้ใช้ หรือแอปพลิเคชันส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอย่างหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ บัญชีการส่งข้อความ และบัญชีของผู้ติดต่อ ทั้งนี้ สำนักฯ เผยว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวมีเป้าหมายควบคุมการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ เพื่อรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป ข้อมูลจาก สำนักข่าวซินหัว ——————————————————————————————————————————————- ที่มา : thebangkokinsight           / วันที่เผยแพร่ 23 มี.ค.2564 Link : https://www.thebangkokinsight.com/579175/

ญี่ปุ่น บังคับใช้แล้ว! บินเข้าประเทศ ต้องติดตั้งแอพติดตามตัว-ฝ่าฝืนมีโทษ

Loading

  ญี่ปุ่น บังคับใช้แล้ว! ทั้งพลเมืองและชาวต่างชาติ ที่บินเข้าประเทศ ต้องติดตั้งแอพพลิเคชัน ยืนยันตำแหน่งติดตามตัว หากฝ่าฝืนมีโทษ     ญี่ปุ่นประกาศใช้นโยบาย ให้พลเมืองญี่ปุ่น พลเมืองถาวรญี่ปุ่น และวีซ่าทุกประเภท ทั้งวีซ่าธุรกิจและวีซ่าท่องเที่ยวชั่วคราว ที่เดินทางเข้าประเทศ ต้องติดตั้งแอพพลิเคชัน เพื่อยืนยันตำแหน่งตัวบุคคล ซึ่งมีผลบังคับใช้สำหรับ ผู้ที่เดินทางเข้าญี่ปุ่น ผ่านสนามบินฮาเนดะและสนามบินนาริตะ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบินระหว่างประเทศที่สำคัญของประเทศ นโยบายดังกล่าว ถูกประกาศใช้โดยกระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการ นโยบายดังนี้มีผลต่อ ผู้เดินทางขาเข้าทุกประเภท ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 64 เป็นต้นไป ผู้เดินทางเข้าประเทศ จะต้องติดตั้งแอพพลิเคชัน 3 แอพพลิเคชัน บนสมาร์ทโฟน ก่อนออกจากสนามบิน และต้องได้รับการยืนยันว่ามีการติดตั้งแล้วจริง       โดยแอพพลิเคชันทั้ง 3 แอพพลิเคชัน ได้แก่ แอพฯติดตาม COCOA COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการ, แอพฯ Skype และ แอพฯ OSSMA…

เมื่ออินเดียไม่ง้อบิ๊กเทค

Loading

  ในฐานะประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทุกย่างก้าวของอินเดียย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกรวมถึงวงการเทคด้วย หลังจากปะทะกับจีนจนกลายเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ส่งผลให้เกิดการแอนตี้สินค้าจีนรวมทั้งการแบนแอปยอดนิยมอย่าง TikTok ที่มีผู้ใช้บริการในอินเดียกว่า 200 ล้านคนมาแล้วเมื่อกลางปีก่อน ล่าสุดอินเดียก็หันมาลงดาบกับบิ๊กเทคระดับโลก อย่าง Twitter Facebook YouTube WhatsApp ตลอดจนโซเชียลมีเดียต่างประเทศอื่น ๆ ด้วยการออกกฎเหล็กให้เจ้าของแพลตฟอร์มต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นใหม่ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน และเจ้าหน้าที่ประสานงานกับภาครัฐ (ที่ต้องสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง) นอกจากนี้ ยังกำหนดให้บริษัทต้องเผยแพร่รายงานประจำเดือนด้านการปฏิบัติการกฎหมาย รวมทั้งแจกแจงรายละเอียดว่าแต่ละเดือนได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งหมดกี่เคส และดำเนินการแก้ไขอย่างไรบ้าง โดยให้เวลา 3 เดือนในการเตรียมตัว ชนวนที่ทำให้รัฐบาลของนายนเรนทรา โมดี ตัดสินใจรัวออกมาตรการคุมเข้มโซเชียลมีเดียจากต่างประเทศในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดจากความไม่พอใจที่ทวิตเตอร์แข็งขืนไม่ยอมแบนผู้ใช้งานบางบัญชีโดยเฉพาะบัญชีของสื่อมวลชน นักกิจกรรม และนักการเมือง ที่รัฐมองว่าอยู่เบื้องหลังการปั่นแฮชแท็กโจมตีร่างกฎหมายเกษตรฉบับใหม่ และสุมไฟให้การชุมนุมของเกษตรกรหลายแสนคนที่รวมตัวกันประท้วงร่างกฎหมายดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็น “เท็จ” และปราศจาก “หลักฐาน” แล้ว กฎต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีเป้าหมายที่จะเข้ามาควบคุม “ศีลธรรม” อันดีของสังคมด้วยการสั่งห้ามแพลตฟอร์มเผยแพร่ภาพโป๊เปลือยทุกชนิด ตลอดจนภาพที่ส่อให้ไปในเรื่องเพศและภาพล้อเลียนบุคคลต่าง…

ญี่ปุ่นสั่งตรวจสอบ Line หลังสื่อชี้ยอมให้วิศวกรจีนเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งาน

Loading

  รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า จะดำเนินการสอบสวนแอปพลิเคชันไลน์ (Line) ของซี โฮลดิ้งส์ คอร์ปซึ่งอยู่ในเครือของซอฟต์แบงก์ คอร์ปของญี่ปุ่น หลังจากสื่อญี่ปุ่นรายงานว่า Line ได้ปล่อยให้วิศวกรชาวจีนที่เซี่ยงไฮ้เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานชาวญี่ปุ่นโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ใช้ทราบ สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคและสื่อญี่ปุ่นรายอื่นๆ รายงานก่อนหน้านี้ว่า ภายใต้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของญี่ปุ่นนั้น บริษัทต่างๆ ต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเมื่อข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ถูกส่งไปยังต่างประเทศ “ตอนนี้เรายังบอกไม่ได้ว่า Line ละเมิดกฎระเบียบหรือไม่ และเราจะทำการสอบสวนเพื่อหาความจริง” เจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้รับผิดชอบกฎหมายความเป็นส่วนตัวกล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ พร้อมเสริมว่า ถ้าหากพบว่า Line กระทำผิดจริง ทางสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นสามารถสั่งให้ทางบริษัทดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ด้านโฆษกของ Line ระบุว่า “ไม่มีเหตุการณ์ใดที่เป็นการละเมิดกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ เราจะยังคงปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบในทุกประเทศ รวมถึงในญี่ปุ่นด้วย” แถลงการณ์ทางเว็บไซต์ของ Line ในเวลาต่อมามีใจความว่า ทางบริษัทขออภัยที่ทำให้เกิดความกังวล และไม่ได้อธิบายอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลของบริษัท และระบุเพิ่มเติมว่า ยังไม่มีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานอย่างไม่เหมาะสมเกิดขึ้นแต่อย่างใด   ———————————————————————————————————————————————————– ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์   / วันที่เผยแพร่  17 มี.ค.2564 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/71886

เปิดรับร้องเรียนตำรวจทางออนไลน์ “ปิดความลับ”คนแจ้ง

Loading

  มิติใหม่! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดระบบ JCoMS รับร้องเรียนจเรตำรวจทางออนไลน์ แจ้งเบาะแสโดยตรงทางแอปพลิเคชัน ช่วยลดเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน ส่งตรงผู้รับผิดชอบ แถมปิดตัวตนผู้ร้อง หลังปีก่อนสถิติสูง 3,267 เรื่อง ตรวจแล้วเสร็จ 1,364 เรื่อง วันนี้ (11 มี.ค.2564) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอตสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พร้อมด้วยพล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ และพล.ต.ท.เชษฐา โกมลวรรถนะ หัวหน้าจเรตำรวจ ร่วมกันแถลงเปิดตัวโครงการระบบบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนของจเรตำรวจทางออนไลน์ หรือโครงการ JCoMS ซึ่งเป็นโครงการที่ผบ.ตร.ได้มอบนโยบายให้จเรตำรวจแห่งชาติ คิดค้นและพัฒนาระบบบริหารการร้องเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการเข้าถึง และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม พบว่าปี 2563 จเรตำรวจรับเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 3,267 เรื่องดำเนินการเสร็จ 1,364 เรื่องยังอยู่ระหว่างดำเนินการ 1,903 เรื่อง เนื่องมาจากระบบการรับเรื่องทางเอกสารที่มีขั้นตอนมากล่าช้า ไม่ทันต่อความเดือดร้อนของประชาชน     ช่วยลดเวลาส่งตรงผู้รับผิดชอบทันที สำหรับเรื่องที่ร้องส่วนใหญ่ 5 อันดับสูงสุด…

แอป รู้ทัน แอปแจ้งเบาะแสภัยไซเบอร์ ส่งตรงถึง DSI

Loading

แอป รู้ทัน แอปแจ้งเบาะแสภัยไซเบอร์ โดย DSI ย้ำเตือนประชาชนระมัดระวัง หลีกเลี่ยงกดเข้าลิงก์เว็บไซต์ที่ส่งมาพร้อมข้อความ SMS ที่อ้างตนเป็นธนาคารโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับเงินในบัญชีออนไลน์ของท่าน หากมีข้อสงสัยให้ตรวจสอบกับธนาคารเจ้าของบัญชีโดยตรง ทั้งนี้ในบางกรณี มีกลุ่มมิจฉาชีพส่ง SMS หลอกเป็นธนาคารให้ประชาชนหลงเชื่อ ส่งข้อมูลส่วนตัว และนำไปสมัครใช้บริการแอปพลิเคชั่น mobile banking โดยมิจฉาชีพจะโอนเงินออกจากบัญชีนั้นทันที โดยในปัจจุบันนี้ ธนาคารแต่ละแห่ง ได้มีการปรับปรุงระบบความปลอดภัยของแอปธนาคารมากขึ้น กลุ่มมิจฉาชีพจึงปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกเป็นการส่งข้อความ SMS อ้างว่าเป็นธนาคาร พร้อมลิงค์เว็บไซต์ที่สร้างขึ้น เป็นเว็บไซต์ธนาคารปลอม เพื่อหลอกประชาชนกรอก username password และรหัส OTP เพื่อให้มิจฉาชีพได้ข้อมูลไปสวมรอย โอนเงินออกจากบัญชีทันที ดังนั้นหลีกเลี่ยงการกดเข้าลิงค์เว็บไซต์บนข้อความ SMS ที่อ้างว่าเป็นธนาคารโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับเงินในบัญชีของคุณ และทุกธนาคารในประเทศไทย ไม่เคยส่ง sms พร้อมลิงก์ให้เข้าเว็บไซต์ธนาคารผ่านทาง SMS หากมีข้อสงสัยให้ตรวจสอบกับธนาคารเจ้าของบัญชีโดยตรง       ทั้งนี้ หากท่านพบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งเบาะแสได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่น Rootan ของศูนย์สืบสวนไซเบอร์ กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ…